การประเมินภาวะโภชนาการผู้สูงอายุในพื้นที่บริการของ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

ผู้แต่ง

  • วสุนธรา รตโนภาส

คำสำคัญ:

ภาวะโภชนาการ, ผู้สูงอายุ, การประเมินภาวะโภชนาการ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวางมีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อประเมินภาวะโภชนาการผู้สูงอายุในพื้นที่บริการทางวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร 2)เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าดัชนีมวลกายกับปัจจัยบางประการ และตัวชี้สัดส่วนร่างกาย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุจํานวน 300 คน สุ่มตัวอย่างอย่างง่าย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินภาวะภาวะโภชนาการ แบบบันทึกผลการวัดสัดส่วนของร่างกาย และอุปกรณ์สำหรับวัดสัดส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสถิติไคสแควร์ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่าเมื่อประเมินภาวะโภชนาการด้วยค่าดัชนีมวลกาย พบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่อ้วน ร้อยละ 45.7 เมื่อประเมินด้วยเส้นรอบเอว พบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่ลงพุง ร้อยละ 66.0 เส้นรอบวงแขน > 22 เซนติเมตร ร้อยละ 86.8 มีเส้นรอบวงน่อง ≥ 31 เซนติเมตร ร้อยละ 67.1 เมื่อประเมินด้วยค่าดัชนีมวลกายที่คำนวณจากความยาวของส่วนแขน พบว่ามีผู้สูงอายุมีภาวะขาดโปรตีนและพลังงาน ร้อยละ 1.0   เมื่อใช้คะแนนการประเมินภาวะโภชนาการผู้สูงอายุด้วยแบบประเมินภาวะภาวะโภชนาการ ส่วนที่ 1 พบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีภาวะโภชนาการปกติ ร้อยละ 74.7 และเมื่อใช้แบบประเมินภาวะภาวะโภชนาการส่วนที่ 2 พบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีภาวะเสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร ร้อยละ 55.3 และขาดสารอาหาร ร้อยละ 3.9 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่าค่าดัชนีมวลกายมีความสัมพันธ์กับการรับประทานอาหารเต็มมื้อต่อวัน การรับประทานอาหารจำพวกโปรตีน อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ p-value < 0.05 และพบว่าค่าดัชนีมวลกายมีความสัมพันธ์กับตัวชี้สัดส่วนร่างกายทุกตัว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value < 0.01 ผลการวิจัยชี้ให้เห็นถึงปัญหาทุพโภชนาการที่ยังปรากฎกับผู้สูงอายุในพื้นที่บริการทางวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร การค้นหาผู้สูงอายุที่มีภาวะทุพโภชนาการในชุมชนเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อทําให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลได้ทันท่วงทีก่อนที่จะเกิดภาวะทุพโภชนาการ หรือภาวะทุพโภชนาการที่รุนแรงขึ้น และเพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้สูงอายุได้

References

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. การสํารวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: มปพ; 2561.

กรมกิจการผู้สูงอายุ. ชุดความรู้การดูแลตนเองและพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ “สุขภาพดี”.

[อินเตอร์เน็ต]. 2560. [เข้าถึงเมื่อ 26 กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จากhttps://www.dop.go.th/download/knowledge/th1614824959-540_3.pdf

สุนทรี ภานุทัต, จําลอง ชูโต และเฉลิมศรี นันทวรรณ. การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะทุพโภชนาการ.วารสารราชธานีนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ;2560:1(1),1-15.

ฐิตินันท์ ดวงจินา และศิริรัตน์ ปานอุทัย. การพยาบาลเพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุ.วารสารพยาบาล; 2563: 47(3), 469-80.

นิธิรัตน์ บุญตานนท์. ภาวะโภชนาการผู้สูงอายุในจังหวัดนครราชสีมา. [อินเตอร์เน็ต]. มปป.

[เข้าถึงเมื่อ 26 กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จาก http://203.157.71.139/group_sr/allfile/1521 531355.pdf

พุทธิพร พิธานธนานุกูล และภิรมย์ รชตะนันท์. ภาวะโภชนาการและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชน. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร; 2562: 22(1), 1-13.

กิตติกร นิลมานัต, ขนิษฐา นาคะ, วิภาวี คงอินทร์, เอมอร แซ่จิว, พัชรียา ไชยลังกา และปิยะภรณ์ บุญพัฒน์. ภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารสภาการพยาบาล; 2556: 28(1), 75-84.

Assantachai P, Yamwong P and Lekhakula S. Alternative anthropometric measurements for the Thai elderly: mindex and demiquet. Asia Pac J Clin Nutr 2006;15(4): 521-7.

Weinbrenner T, Vioque J, Barber X, Asensio L. Estimation of height and body mass index from demi-span in elderly individuals. Gerontology. 2006;52:275-81. doi: 10.1159/000094608.

Malazonia M, Dvali G, Tabagari S and Tabagari N. Direct measured and alternative anthropometric indices in Georgian healthy elderly population: reliability/validity of assessment tools. 2019; GEORGIAN MEDICAL NEWS;5(290): 89-96.

สำนักงานสถิติจังหวัดกำแพงเพชร. ผู้สูงอายุจังหวัดกำแพงเพชร. [อินเตอร์เน็ต]. 2560. [เข้าถึงเมื่อ26 กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จาก http://kpphet.nso.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=308:inforgraphic----2560&catid=84:2011-10-11-07-23-12 &Itemid=558.

สำนักแพทย์ กรุงเทพมหานคร. แนวทางการให้บริการผู้สูงอายุแบบครบวงจร ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร. [อินเตอร์เน็ต]. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 26 กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จากhttp://www.m sdbangkok.go.th/dowload/bookoldman.pdf

ประเสริฐ อัสสันตชัย. ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและการป้องกัน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ยูเนียน ครีเอชั่น; 2558.

สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการตรวจสุขภาพที่จําเป็นและเหมาะสมสําหรับประชาชน 2559. นนทบุรี: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระราชูปถัมภ์; 2559.

รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563. 2564. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิกแอนด์ดีไซด์; 2564.

สุพรรณี พฤกษา และวรัชญา สุขประเสริฐ. พฤติกรรมการบริโภคอาหารและภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุตำบลนาอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดเลย. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น; 2561: 25(3), 67-76.

ชัชฎาภรณ์ จิตตา, วิเชียร ตันสุวรรณนนท์ และชัชวาลย์ เพ็ชรกอง. ความรอบรู้ด้านโภชนาการของผู้สูงอายุ เขตสุขภาพที่ 5. วารสารโภชนาการ; 2563: 55(1), 62-77.

Tsai A, Chang, T. The effectiveness of BMI, calf circumference and mid-arm circumference in predicting subsequent mortality risk in elderly Taiwanese. BJN. 2011; 105(2):2: 275-81. doi: 10.1017/S0007114510003429.

Tsai A, Chang T, Wan J. Short-form mini-nutritional assessment with either BMI or calf circumference is effective in rating the nutritional status of elderly Taiwanese results of a national cohort study. Brit J Nutr. 2013;110: 1126-32. doi: 10.1017/S00071145 13000366.

ธนัญธรรศ เพชรเมือง, ดวงหทัย กลัดนวม, เพ็ญนภา เป้งเซ่ง และอภิญญา กุลทะเล. ภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุในเขตเมือง. วารสารราชธานีนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ; 2561: 2(3), 32-43.

Sukkriang N., Somrak K. Correlation between mini nutritional assessment and anthropometric measurements among community-dwelling elderly individuals in rural southern Thailand. JMDH. 2021;14:1509-20. doi:10.2147/JMDH.S315652.

Hirani V, Mindell J. A comparison of measured height and demi-span equivalent height in the assessment of body mass index among people aged 65 years and over in England. Age Ageing. 2008;37:311-17. doi: 10.1093/ageing/afm197.

ชวิศา แก้วอนันต์. โภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี; 2561: 12(2), 112-9.

Selvaraj K, Jayalakshmy R, Yousuf A, Singh A, Ramaswamy G and Palanivel C. Can mid-upper arm circumference and calf circumference be the proxy measures tdetect undernutrition among elderly? Findings of a community-based survey in rural Puducherry, India. J Family Med Prim Care. 2017; 6(2): 356-59. doi: 10.4103/jfmpc.jfmpc_357_16.

Astuti Y, Jenie L. Correlation of body mass index on waist circumference and blood pressure. IJPHS. 2020;9(4):373-8. doi: 10.11591/ijphs.v9i4.20443.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-12