รูปแบบการพัฒนาการอบสมุนไพรสาธารณะเพื่อสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของ ชุมชนบ้านหนองปลาปาก ตำบลขามใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ปรางทอง นนทะการ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ชัยวุฒิ บัวเนี่ยว คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • อรุณ บุญสร้าง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การวิจัยเชิงปฏิบัติการ, การอบสมุนไพร, การมีส่วนร่วมของชุมชน

บทคัดย่อ

ภูมิปัญญาการส่งเสริมสุขภาพด้วยการอบสมุนไพร เป็นวิธีการบำบัดรักษาและส่งเสริมสุขภาพตามหลักของการแพทย์แผนไทยอย่างหนึ่งที่ช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วย และเป็นการดูแลสุขภาพของผู้คนในชุมชนให้มีสุขภาพที่แข็งแรงขึ้น จึงนำไปสู่การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาการอบสมุนไพรสาธารณะเพื่อสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านหนองปลาปาก ตำบลขามใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นการศึกษาโดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกต และการสะท้อนผลการปฏิบัติ เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนผู้รับบริการ ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ และการประชุมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 40 คน ผลการศึกษา พบว่าการมีส่วนร่วมของผู้รับบริการอบสมุนไพรอยู่ในระดับมาก และได้รูปแบบการพัฒนาการอบสมุนไพรสาธารณะเพื่อสุขภาพ คือ “SPAC” model ประกอบด้วย 1) Service of sauna: S คือ การให้บริการอบสมุนไพร 2)  Participation (Apply by PAR) : P คือ การมีส่วนร่วมของชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนความคิด เรียนรู้จากกันและกัน 3) Action plan : A คือ การปฏิบัติตามแผนงานที่กำหนดไว้ ส่งผลให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย 4) Continuous operation : C คือ การดำเนินการต่อเนื่อง  ยึดหลักการเรียนรู้จากชาวบ้านโดยตรง  และนำไปสู่การพัฒนาการอบสมุนไพรสาธารณะเพื่อสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนที่ยั่งยืน

References

สำนักงานข้อมูลและประเมินผล. รายงานการสาธารณสุขด้านแพทย์แผนไทยในสถานบริการสาธารณสุขของประเทศ. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกกระทรวงสาธารณสุข; 2556.

สารานุกรมสมุนไพรไทยสำหรับเยาวชนไทย. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 14 เรื่องที่ 10 สมุนไพร; 2560.

กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนทางเลือกกระทรวงสาธารณสุข (2556). รายงานการสาธารณสุขไทยด้านการแพทย์แผนไทยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก 2554-2556. นนทบุรี: กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกกระทรวงสาธารณสุข; 2556.

กองบรรณาธิการ. สมุนไพรที่ใช้ในการอบไอน้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพและความงาม. [ออนไลน์]. 2560. แหล่งข้อมูล http://www.yesspathailand.com [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2560].

พระสาธิต เกตุภูเขียว. แนวทางการ พัฒนาการอบ สมุนไพรสาธารณะภายในวัด โดยใชการมีส่วนร่วมของชุมชนในจังหวัดสมุทรสงคราม. (วิทยานิพนธ์) มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2555.

Kemmis, S & McTaggart, R. The Action Research Planer. 3rd ed. Victoria: Deakin University; 1988.

วีระยุทธ์ ชาตะกาญจน์. การวิจัยเชิงปฏิบัติการ Action Research. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 2558; 2(1): 67-96.

ศิรินทิพย์ คำฟู. การศึกษาเปรียบเทียบผลทันทีระหว่างการอบไอน้ำสมุนไพรไทยและการอบไอน้ำธรรมดาต่อความยืดหยุ่นของร่างกายในเพศหญิง อายุ 30-45 ปี. ศรีนครินทร์เวชสาร 2560: 32(2). [ออนไลน์] ได้จาก: https://www.tci-thaijo.org [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2560].

เจนจิรา คิดกล้า. (2556). การอบสมุนไพร: ทางเลือกในการดูแลสุขภาพของประชาชน. [ออนไลน์] ได้จาก: https://www.tci-thaijo.org [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2560].

ศศิวิมล จุลศิลป์. การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่น มาใช้จัดการศึกษาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน: การประยุกต์ใช้กระบวนการเอไอซี. (วิทยานิพนธ์) กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-15