การบริการที่ไม่ตีตราและเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ของผู้ให้บริการสุขภาพ ในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดพิจิตร
คำสำคัญ:
ไม่ตีตราและเลือกปฏิบัติ, ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytic study)
เพื่อศึกษาการบริการที่ไม่ตีตราและเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ และหาปัจจัยพยากรณ์การบริการ
ที่ไม่ตีตราและเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ของผู้ให้บริการสุขภาพ ในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดพิจิตร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ให้บริการสุขภาพที่ปฏิบัติงานบริการสุขภาพในคลินิกเฉพาะด้านเอชไอวีและแผนกอื่น ๆ
ในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดพิจิตร จำนวน 283 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า จิตบริการ แรงจูงใจในการทำงาน ระบบบริการสุขภาพ และการบริการที่ไม่ตีตราและเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ของผู้ให้บริการสุขภาพ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง ปัจจัยที่สามารถพยากรณ์การบริการที่ไม่ตีตราและเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ จิตบริการ ระบบบริการสุขภาพ บุคลากรสายสนับสนุนการบริการสุขภาพ และการศึกษาระดับปริญญาตรี โดยสามารถร่วมกันพยากรณ์การบริการที่ไม่ตีตราและเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ได้ร้อยละ 58.7 กำหนดสมการถดถอย คือ การบริการที่ไม่ตีตราและเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ = (จิตบริการ) 0.175 + (ระบบบริการสุขภาพ) 0.116 - (บุคลากรสายสนับสนุนการบริการสุขภาพ) 1.215 + (การศึกษาระดับปริญญาตรี) 1.056 จากผลการศึกษานี้ ควรส่งเสริมหรือรักษาให้บุคลากรมีจิตบริการและแรงจูงใจในการทำงานในระดับสูงต่อไป รวมทั้งควรส่งเสริมนโยบายและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อและสนับสนุนให้เกิดการบริการที่ไม่ตีตราและเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์อย่างต่อเนื่อง
References
คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์. ยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการยุติปัญหาเอดส์ พ.ศ. 2560 – 2573. กรุงเทพฯ: เอ็นซี คอนเซ็ปต์; 2560.
HIV INFO HUB ศูนย์รวมข้อมูลสารสนเทศด้านเอชไอวีของประเทศไทย. การดำเนินงานระดับพื้นที่[อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 30 กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จาก:
https://hivhub.ddc.moph.go.th/dashboard/national.php
HIV INFO HUB ศูนย์รวมข้อมูลสารสนเทศด้านเอชไอวีของประเทศไทย. คาดประมาณ [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 30 กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://hivhub.ddc.moph.go.th/epidemic.php
กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค ศูนย์อำนวยการบริหารจัดการปัญหาเอดส์แห่งชาติ. คู่มือการตีตราและเลือกปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับเอชไอวีในสถานบริการสุขภาพของประเทศไทย การสำรวจในกลุ่มผู้ให้บริการสุขภาพ (Health care provider survey). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:ณัฐภร เพลท; 2560.
Nyblade L, Stangl A, Weiss E, Ashburn K. Combating HIV stigma in health care settings: what work ?. Journal of the International AIDS Society 2009; 12(15): 1-7.
HIV INFO HUB ศูนย์รวมข้อมูลสารสนเทศด้านเอชไอวีของประเทศไทย. เอกสารเผยแพร่ [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 30 กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://hivhub.ddc.moph.go.th/report.php
กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. สิ่งพิมพ์ : คู่มือ/หนังสือ รายงานประจำปี พ.ศ.2562 [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 30 กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จาก:
https://ddc.moph.go.th/das/journal_detail.php?publish=11502
คณะทำงานวิชาการพัฒนาเครื่องมือการสำรวจสถานการณ์การตีตราและเลือกปฏิบัติ. การตีตราและเลือกปฏิบัติในประเทศไทย [เอกสารประกอบการประชุม]. 2558.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร. สรุปข้อมูลบุคลากรทุกหน่วยงาน [อินเตอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 15 มิถุนายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ppho.go.th/mis- new/index.php
ธีรวุฒิ เอกะกุล. ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี; 2543.
มนต์จรัส วัชรสิงห์. จิตบริการและแรงจูงใจในการทำงานที่พยากรณ์ประสิทธิภาพการให้บริการของพยาบาล [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระเจ้าเกล้าพระนครเหนือ; 2556.
Best JW. Research in education. 3 rd ed. Engle Clift. NJ: Prentice-Hall; 1977.
Daniel WW. Biostatistics: A foundation for analysis in the health sciences. 6 th ed. New York: John Wiley & Sons; 1995.
แพทยสภา. คำประกาศ "สิทธิ" และ "ข้อพึงปฏิบัติ" ของผู้ป่วย ฉบับใหม่ ออกโดย 6 สภาวิชาชีพ
ประกาศ ณ วันที่ 12 สิงหาคม 2558 [อินเตอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 17 ตุลาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://tmc.or.th/index.php/News/News-and-Activities/157
สำนักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. แนวทางการดำเนินงานองค์กร “ดูแล ห่วงใย ใส่ใจป้องกันเอดส์ในที่ทำงาน”. กรุงเทพฯ:เจ. เอส. การพิมพ์; 2560.
นพดล ไพบูลสิน, นิ่มอนงค์ ไทยเจริญ, ณัฐพร ฉั่วอรุญ. การศึกษาการตีตราและเลือกปฏิบัติในกลุ่มผู้ให้บริการและกลุ่มผู้อยู่ร่วมกับเชื้อในเขตภาคใต้ตอนล่าง. วารสารโรคเอดส์ 2560; 29(2): 85-95.
ศิธญา พลแพงขวา, กิตติพร เนาว์สุวรรณ, อัจฉรา คามะทิตย์, นภศพร เทวะเศกสรรค์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมจิตบริการของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2564; 4(1): 16-26.
เพ็ญพิชชา ล้วนดี, เยาวลักษณ์ อ่ำรำไพ. แรงจูงใจและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน). วารสารเกื้อการุณย์ 2558; 22(1): 48-59.
มนต์จรัส วัชรสิงห์, เบญจวรรณ บุณยะประพันธ์, สุนทรี ศักดิ์ศรี. จิตบริการและแรงจูงใจในการทำงานที่พยากรณ์ประสิทธิภาพการให้บริการของพยาบาล. วารสารวิชาการศิลป ศาสตร์ประยุกต์ 2558; 8(2): 115-31.
สำนักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. คู่มือการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมสถานบริการสุขภาพที่ปราศจากการตีตราและการเลือกปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับเอชไอวี/เอดส์. กรุงเทพฯ:เจ. เอส. การพิมพ์; 2559.
วรรณี จิ๋วปัญญา. ปัจจัยที่มีผลต่อความกังวลและทัศนคติในการตีตราและเลือกปฏิบัติของผู้ให้บริการผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ในสถานบริการสุขภาพจังหวัดนครสวรรค์. วารสารโรคและภัยสุขภาพ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัด นครสวรรค์ 2564; 15(1): 30-40.
ชมพู เนินหาด, เพ็ญนภา พิสัยพันธุ์, ดาราวรรณ รองเมือง. จิตบริการสู่งานเป็นเลิศ: บทบาทบุคลากรสายสนับสนุน Service Mind to Work Excellence: Role of Supportive Staffs. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี 2563; 3(2): 33-45.
Harapan H, Feramuhawan S, Kurniawan H, Anwar S, Andalas M, Hossain MB. HIV-related stigma and discrimination: a study of health care workers in Banda Aceh, Indonesia. Medical Journal of Indonesia 2013; 22: 22-9.
พัทธวรรณ ชูเลิศ, บุญตา สุขวดี, มนัสชนกฑ์ กุลพานิชย์. การพัฒนาจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์กับนักศึกษาพยาบาล Generation Z. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา 2560; 18(2): 28-35.
ศักดิ์มงคล เชื้อทอง, ทัศนีย์ เกริกกุลธร. การพัฒนาจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ สำหรับนักศึกษาพยาบาล. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2560; 11(4): 1-13.
อติญาณ์ ศรเกษตริน, อัจฉราวดี ศรียศักดิ์, รุ่งนภา จันทรา, สุทธานันท์ กัลกะ, ปริญญา จิตอร่าม, สุภาเพ็ญ ปาณะวัฒนพิสุทธิ์. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการเรียนกับทัศนคติการท างานร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2562; 5 (3): 37-48.