การตรวจสอบยาปฏิชีวนะตกค้างในเนื้อหมูสด และเนื้อไก่สดที่จำหน่ายในตลาดสดในเขตกรุงเทพมหานคร จังหวัดนครปฐม และจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • สุวพิชชา ผลพอตน
  • อาชวัถร ชินวสุสิน ภัยลี้
  • วริทธิ์ วิริยประสิทธิ์ชัย
  • พิสิษฐ์ เตชะพรอนันต์

คำสำคัญ:

ยาปฏิชีวนะตกค้าง, เนื้อหมูสด, เนื้อไก่สด

บทคัดย่อ

ปัญหาของเชื้อดื้อยาในประเทศไทยเกิดจากการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุสมผลเกิดขึ้นทั้งในสถานพยาบาลและชุมชน ซึ่งเชื้อดื้อยาจะมีการปรับตัวต่อยาโดยวิธีการต่างๆ เพื่อที่จะขจัดหรือลดประสิทธิภาพของยาปฏิชีวนะ และการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจที่นำมาประกอบอาหาร โดยทั่วไปจะมีการใช้ยาต้านจุลชีพเพื่อป้องกันและรักษาโรค ร่วมทั้งช่วยเร่งการเจริญเติบโต ซึ่งผู้ที่บริโภคอาหารที่ถูกปนเปื้อนเข้าสู่ร่างกายก็จะส่งผลเสียต่างๆตามมากลุ่มของเชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรคในคนเกิดจากการติดต่อผ่านทางอาหารเป็นหลัก งานวิจัยนี้ตรวจหายาปฏิชีวนะตกค้างในตัวอย่างเนื้อหมูสด จำนวน 81 ตัวอย่าง และเนื้อไก่สด จำนวน 87 ตัวอย่าง ที่จำหน่ายในตลาดสด ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนครปฐม และนครราชสีมา รวมทั้งหมด 168 ตัวอย่าง ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบการสุ่มตามความสะดวก (Convenience Sampling) ใช้ชุดตรวจ หายาปฏิชีวนะตกค้างของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งมีความถูกต้องร้อยละ 93 ความไวร้อยละ 78.9 ความจำเพาะร้อย 96.7 และสามารรถตรวจ สอบยาตกค้างได้อย่างน้อย 12 ชนิด ผลการศึกษาตรวจพบ ยาปฏิชีวนะตกค้างในตัวอย่างเนื้อหมูสด ตรวจพบยาปฏิชีวนะตกค้างในเนื้อหมูสด จำนวน 3 ตัวอย่าง จากตัวอย่างเนื้อหมู 81 ตัวอย่าง คิดเป็น ร้อยละ 3.7 ของตัวอย่างเนื้อหมู กลุ่มยาที่ตรวจพบในตัวอย่าง เนื้อหมูคือ เตตร้าซัยคลิน (Tetracycline) แมคโครไลด์ (Macrolide อะมิโนไกลโคไซด์ (Macrolide)  ซัลโฟนาไมด์ (Sulfonamide) เพนิซิลลิน (Penicillin) ส่วนในตัวอย่างเนื้อไก่สด จำนวน 187 ตัวอย่างตรวจไม่พบยาปฏิชีวนะ ตกค้าง

References

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.). (2561). ฉลาดซื้อ พบเนื้อไก่สดและตับไก่สด กว่าร้อยละ 40 มีการตกค้างของยาปฏิชีวนะ [อินเตอร์เน็ต]. เข้าถึงได้จาก: http:ficifrpdkuacthfic/index.php/2016-04-26-06-50-20/food-news-mainmenu3/fic-foodnewsmenut=ของยาปฏิชีวนะ-,ฉลาดซื้อ%20พบเนื้อไก่สดและตับไก่สด,เกิดการดื้อยาในคน

สุรพล ชลดำรงกุล. (2557). การศึกษาความชุกและวิเคราะห์รูปแบบของการใช้ยาต้านจุลชีพของเกษตรกรที่เป็นสาเหตุของการตกค้างในเนื้อสุกร และเนื้อไก่ในจังหวัดสงขลาและแนวทางป้องกันอย่างยั่งยืน; ปีที่ 17 ฉบับที่ 2; ก.ค.-ธ.ค.57. เข้าถึงได้จาก: https://ph02.tci-thaijo.org/ index.php/tsujournal/article/download/43476/35925/0

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่) (303) พ.ศ. 2550. เรื่องอาหารที่มียาสัตว์ตกค้าง [อินเตอร์เน็ต]. เข้าถึงได้ที่ https://www4.fis heries.go.th/local/file_document/20200821154318_new.pdf

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2562). รายงานสรุปผลการดำเนินงาน โครงการบูรณาการอาหารปลอดภัย (Food Safety) [อินเตอร์เน็ต]. เข้าถึงได้จาก: http://bqsf.dms c.moph.go.th/bqsfWeb/wp-content/uploa s/2017/Publish/e-book/รายงานบูรณาการอาหารปลอดภัย%202562/Food62Eb/food Safty62.html#p=72

asian medic. คู่มือการใช้งานชุดทดสอบการตกค้างในเนื้อสัตว์ [อินเตอร์เน็ต]. เข้าถึงได้จาก: https://asianmedic.com/wp-content/uploads/2017/07/ยาปฏิชีวนะและสารต้านจุลชีพตกค้างในเนื้อสัตว์.pdf

สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพิษณุโลก. ขั้นตอนการผลิดเนื้อสัตว์ [อินเตอร์เน็ต]. เข้าถึงได้จาก: https://pvlo-phs.dld.go.th/manu/knowledg e_1401967208.pdf

มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารสัตวแพทยศาสตร์ มข. KKU Veterinary Journal ISSN 0858-2297 [อินเตอร์เน็ต]. เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkuvetj/article/view/250392/170953

สถิตคุณ ไมตรีจิต, สิทธิณี ปฐมกำธร, ส่งศักดิ์ ศรีสง่า และ พันธ์ทิพย์ หินหุ้มเพ็ชร. (2564). การตกค้างยาปฏิชีวนะในเนื้อสุกรและเนื้อโคสด ที่จำหน่ายในบริเวณตลาดสด อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร; ปีที่ 3 ฉบับที่ 3; ก.ย.-ธ.ค.64. เข้าถึงได้จาก:https://he01.tci-thaijo.org /index.php/JPHNU/article/view/250266/17

สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์(สพส.) และกองควบคุมอาหารและยาสัตว์ (อยส.) กรมปศุสัตว์. (2564). กรมปศุสัตว์ผลักดันฟาร์มสุกรสู่การเลี้ยงเชิงปราณีต ชูหลักสวัสดิภาพสัตว์และการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล [อินเตอร์เน็ต]. เข้าถึงได้จาก: https://dld.go.th/ th/images/stories/hotissue/2564/25641002_2/25641002_2detail.pdf

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก. (2020). การใช้ยาปฏิชีวนะในอุตสาหกรรมฟาร์มเลี้ยงสัตว์ [อินเตอร์เน็ต]. เข้าถึงได้จาก: https://www.worldanimalprotection.or.th/world-antibiotic-awareness-week-use-antibiotics-farmed-animals

รัตนศิริ กิตติก้องนภางค์. (2563). ยาปฏิชีวนะในระบบอาหารของเรา [อินเตอร์เน็ต]. เข้าถึงได้จาก: https://www.greenpeace.org/thailand/story/11399/food-label-anitibiotics-in-our-

สุภาวดี เปล่งชัย และอิสรพงษ์ นาสมรูป. สถานการณ์การใช้ยาปฏิชีวนะในฟาร์มปศุสัตว์ และแหล่งกระจายยาสัตว์ในพื้นที่อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด [อินเตอร์เน็ต]. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php /JOHCP/article/view/253701/173041

ณัฐธิดา สุขสาย, ณัฐพร รัฐบำรุง, พักตร์วิภา สุวรรณพรหม และ หทัยกาญจน์ เชาวนพูนผล.(2559). การใช้ยาปฏิชีวนะในฟาร์มปศุสัตว์: กรณีศึกษาจังหวัดเชียงใหม่. TJJP; ปีที่ 2 ฉบับที่ 27; มี.ค.-ส.ค.59. http://tjpp.pharmacy.psu .ac.th/wp-content/uploads/2016/08/59-20final.pdf

กองควบคุมอาหารและยาสัตว์กรมปศุสัตว์. (2564). ปศุสัตว์ ปักหมุด...หยุดเชื้อดื้อยา ร่วมตระหนักและใช้ยาอย่างสมเหตุผล [อินเตอร์เน็ต]. เข้าถึงได้จาก: https://dld.go.th/th/index.php /en/newsflash/banner-news/341-news/ news-hotissue/24234-hotissue-25641112-1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-12