รูปแบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อโควิด2019 ของโรงพยาบาลสนามและศูนย์พักคอย กรณีศึกษา จังหวัดสุรินทร์
-
คำสำคัญ:
โรงพยาบาลสนาม, ศูนย์พักคอย, มูลฝอยติดเชื้อ, โควิด2019, รูปแบบ, การจัดการบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการจัดการมูลฝอยติดเชื้อโควิด2019และพัฒนาตามเกณฑ์มาตรฐานของโรงพยาบาลสนามและศูนย์พักคอยในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยหัวหน้าศูนย์และผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสนามและศูนย์พักคอย ซึ่งจำนวน 40คนได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่าภายหลังการพัฒนาในส่วนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ดูแลโรงพยาบาลสนามและศูนย์พักคอยมีคะแนนความรู้ด้านการจัดการมูลฝอยติดเชื้อโควิด2019อยู่ในระดับปานกลางร้อยละ60 ระดับความรู้ตามเกณฑ์มาตรฐานศูนย์พักคอยและโรงพยาบาลสนามอยู่ในระดับสูงร้อยละ60ภายหลังการพัฒนาพบว่าโรงพยาบาลสนามและศูนย์พักคอยผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานโรงพยาบาลสนามและศูนย์พักคอย
โดยสรุปกระบวนการพัฒนาโรงพยาบาลสนามและศูนย์พักคอยครั้งนี้มีปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สำคัญคือการกำหนดนโยบายจากผู้บริหารที่ชัดเจนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาของทีมสหวิชาชีพและการมีระบบกำกับนิเทศติดตามของทีมสนับสนุนที่มีประสิทธิภาพ
References
กรมควบคุมโรค. (2564). รายงานสถานการณ์โรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่โดยศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข
ชาญชัยณรงค์ ทรงคาศรี(2561). การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันและ ควบคุมโรควิถีชีวิต (เบาหวาน ความดัน หลอดเลือดและหัวใจ) ในพื้นที่โดยรอบมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
ณัฐวุฒิวังคะฮาต, สุมัทนากลางคาร, พวงเพ็ญชั้นประเสริฐ. (2558). รูปแบบการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตามเกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิพื้นที่อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 34(6),569–574.
ทองทิพย์ สละวงษ์ลักษณ์(2564). การพัฒนาชุมชนต้นแบบในการจัดการขยะที่สอดคล้องกับบริบทชุมชนจังหวัดนครราชสีมา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ธัญยธรณ์ เกสรแก้ว(2561). รูปแบบการจัดการทีมพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายที่ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
มันทนา สุวรรณมาโจ (2562).การวิจัยและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างชุมชนกับหน่วยบริการสุขภาพ เพื่อเพิ่มประสิทธิผลการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
รติยาวิภักดิ์. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการคุณภาพข้อมูลตามมาตรฐานโครงสร้าง 43 แฟ้มในเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ อำเภอจตุรพักตรพิมานจังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุมิตรา ศรีชูชาติ. (2550). สถิติธุรกิจ. สาขาวิชาสถิติ ภาควิชาวิดยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์, มหาวิดยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์. (2564). งานพัฒนาคุณภาพและรูปแบบบริการสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดสุรินทร์.
Kemmis, S., and McTaggart, R. (1988). The Action Research Planner (3rd ed). Victoria:Deaki University Press