การศึกษาภูมิปัญญาของหมอกระดูกพื้นบ้าน จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • อัชฌา สมนึก
  • กันตา นิ่มทัศนศิริ
  • เฟื่องลดา ทบศรี
  • อัญทิวา อุ่นไธสง
  • ระพีพร ชนะภักดิ์
  • วิภาวี จันทศรี
  • สุทธิศักดิ์ สุริรักษ์

คำสำคัญ:

การศึกษาภูมิปัญญา, หมอกระดูกพื้นบ้าน, จังหวัดราชบุรี

บทคัดย่อ

         การศึกษาเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาองค์ความรู้ในการรักษาโรคของหมอกระดูกพื้นบ้าน ในจังหวัดราชบุรี ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ หมอกระดูกพื้นบ้าน จำนวน 4 ราย ตามการรวบรวมรายชื่อของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยผู้วิจัยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง และใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การจดบันทึก การบันทึกเสียงและภาพนิ่ง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า องค์ความรู้ส่วนใหญ่ของหมอกระดูกพื้นบ้านได้รับมาจากการเรียนรู้จากครูอาจารย์ และได้รับการสืบทอดจากบรรพบุรุษ หมอกระดูกพื้นบ้านมีกระบวนการรักษา 3 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นตอนก่อนการรักษา ต้องมีการใส่พานบูชาครูอาจารย์ การซักประวัติและการตรวจร่างกาย   2) ขั้นตอนการรักษา มีรูปแบบในการรักษา คือ การจัดกระดูกให้เข้าที่ การใช้น้ำมันมะพร้าว และการเข้าเฝือกด้วยไม้ไผ่ ร่วมกับการใช้คาถากำกับในทุกขั้นตอนการรักษาและ 3) ขั้นตอนเสร็จสิ้นการรักษา ค่าใช้จ่ายในการรักษาของหมอพื้นบ้านจะไม่ระบุจำนวน จะมีหรือไม่มีก็ได้ ขึ้นอยู่กับความเต็มใจของคนไข้จะเป็นผู้ให้ ความรู้ในการรักษาส่วนใหญ่ของหมอกระดูกพื้นบ้านจะบันทึกไว้ในความทรงจำ ไม่มีการบันทึกข้อมูลไว้ จึงทำให้องค์ความรู้สูญสิ้นไปพร้อมกับหมอพื้นบ้าน จึงควรมีการส่งเสริมให้มีการบันทึก เพื่อสืบทอดองค์ความรู้ รวบรวมเป็นฐานข้อมูลสำหรับพัฒนาการเรียนการสอน และพัฒนาองค์ความรู้เพื่อเพิ่มแนวทางในการบำบัดอาการเจ็บป่วยของประชาชนต่อไป

References

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี. ข้อมูลหมอพื้นบ้านจังหวัดราชบุรี. ราชบุรี. เอกสารที่อ้างอิงในเนื้อหาต้องตรงกับในส่วนเอกสารอ้างอิง (2557).

ปิยนุช ยอดสมสวย. การศึกษาภูมิปัญญาของหมอพื้นบ้านในอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก. ธรรมศาสตร์เวชสาร, ปีที่ 13 ฉบับที่ 2, 212-217. 2556.

เชษฐ์ณรัฐ อรชุน, กนกวรรณ อยู่ไสว. ภูมิปัญญาพื้นบ้านกับการรักษาผู้ป่วยโดยใช้สมุนไพร กรณีศึกษา นายวินัย บุญมี บ้านทะเลน้อย ตำบลทางเกวียน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง. รายงานการวิจัย. จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี 2554.

เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, บรรณาธิการ. นโยบายและทิศทางการพัฒนาการแพทย์แผนไทย สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. เอกสารสรุปการสัมมนาการพัฒนาการแพทย์แผนไทยในส่วนภูมิภาค. กรุงเทพมหานคร. โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. 2541.

คนากร สุรการากุล, ทวัช บุญแสง และ ดาราวรรณ รองเมือง. ภูมิปัญญาของหมอกระดูกพื้นบ้าน อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีที่ 3 ฉบับที่ 2, 321-341. 2558.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-12