ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง ในเขตตำบลสะเดาใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • เกษมณี นบน้อม
  • สุรศักดิ์ เทียบฤทธิ์
  • ภัทรพล โพนไพรสันต์
  • สุไวย์รินทร์ ศรีชัย

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต , ผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง ในเขตตำบลสะเดาใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ  เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก (WHOQOL-BREF-THAI) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไป ที่มีโรคเรื้อรัง จำนวน 163 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา  ได้แก่  การแจกแจงความถี่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบไค-สแควร์ และ Spearman กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 53.4  มีอายุอยู่ในช่วง 60-69 ปี
ร้อยละ 82.2  มีการควบคุมปริมาณอาหาร ร้อยละ 71.2  มีการออกกำลังกาย ร้อยละ 66.9  มีการจัดการความเครียดของตนเองได้ ร้อยละ 94.5  ไม่สูบบุหรี่ ร้อยละ 86.5 และไม่ดื่มสุรา ร้อยละ 74.8 มีหลักประกันสุขภาพ ร้อยละ 87.1  มียานพาหนะเดินทางไปรับบริการสุขภาพ ร้อยละ 44.8  และได้รับคำแนะนำด้านสุขภาพจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร้อยละ 68.7  มีกลุ่มกิจกรรมหรือชมรมสำหรับผู้สูงอายุ ร้อยละ 54.6  เข้าร่วมกิจกรรม ร้อยละ 66.3  มีความสัมพันธ์กับสมาชิกในครอบครัวปกติ ร้อยละ 99.4 เพื่อนบ้านเป็นมิตรกันปกติ ร้อยละ 98.2  มีภาวะซึมเศร้าอยู่ในระดับปกติ ร้อยละ 46.0  และมีคุณภาพชีวิตในระดับกลาง ๆ ร้อยละ 66.9  ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของกลุ่มตัวอย่าง คือ  ปัจจัยเอื้อด้านยานพาหนะที่ใช้เดินทางไปรับบริการสุขภาพ    (χ2 = 15.4, p-value < 0.001)  และภาวะซึมเศร้า (rs = 0.16, p-value = 0.39)

โดยสรุป  ผลจากการศึกษาชี้ให้เห็นว่า  กลุ่มตัวอย่างมีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับกลาง ๆ
และภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต  ดังนั้น  สมาชิกในครอบครัวและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่วัยผู้สูงอายุและการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.(2560). คู่มือความสุข 5 มิติ.พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี :โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). รายงานการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ.2564.

กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2552). คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติกระทรวงการพัฒนาสังคมและความั่นคงของมนุษย์. แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 พ.ศ. 2552.

มุทิตา วรรณชาติ. (2558). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง ในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 45(ฉบับพิเศษ).

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ. (2558). การดูแลผู้สูงอายุระยะยาว. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://thaitgri.org/?p=36614. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2564.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ.(2564). การป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ.[ออนไลน์] เข้าถึงได้จากhttps://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2564.

สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2556). คู่มือแนวทางการฝึกอบรมผู้ดูแล ผู้สูงอายุ หลักสูตร 70 ชั่วโมง.นนทบุรี :สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

จีราพร ทองดี,ดาราวรรณ รองเมืองและฉนัทนา นาคฉัตรี. (2553). ภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดชายแดนภาคใต้.วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข วิทยาลัยพยาบาลบรม ราชชนนี สุราษฎร์ธานี.

ปกรณ์ วามวาณิชย์. (2553). กรณีศึกษาตำบลวารินชำราบและตำบลแสนสุข อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. รายงานการวิจัย : คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

อภิเชษฐ์ จำเนียรสุข,ภูวสิทธิ์ ภูลวรรณ, นำพร อินสิน, จรินทร์ทิพย์ ชมชายผล, จิราภรณ์ จำปาจันทร์.คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังใน อำเภอสีชมพูจังหวัดขอนแก่น.15(2);พฤษภาคม – สิงหาคม,2560.

ชุติเดช เจียนดอน,นวรัตน์สุวรรณผ่อง,ฉวีวรรณ บุญสุยา และนพพร โหวธีระกุล. (2554). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชนบท อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา.วารสาร สาธารณสุขศาสตร์.

จักรี สว่างไพร. (2525). การศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานครูโรงเรียนแห่งหนึ่งในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต : คณะรัฐศาสตร์ และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-12