ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในครัวเรือนของกลุ่มวัยทำงานในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเสือเฒ่า อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • จันทร์ชนะสอน สำโรงพล
  • สุไวย์รินทร์ ศรีชัย
  • ภัทรพล โพนไพรสันต์

คำสำคัญ:

การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) , กลุ่มวัยทำงาน

บทคัดย่อ

         การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในครัวเรือนของกลุ่มวัยทำงาน ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเสือเฒ่า อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม โดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่าง 261 คน สถิติที่ใช้ในการศึกษาคือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอนุมาน คือ สถิติไคสแควร์และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาทั้งหมด 261 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 59.8 มีอายุอยู่ในช่วง 50–59 ปี ร้อยละ 31.8 ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 91.2 มี ส่วนใหญ่ได้รับวัคซีน 1 เข็ม ร้อยละ 95.8 สมาชิกในครัวเรือนไม่เคยป่วย ร้อยละ 96.2 ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ไม่มีสมาชิกในครัวเรือนเดินทางกลับ ร้อยละ 93.9 ส่วนใหญ่ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโครา 2019 (COVID-19) อยู่ในระดับดี ร้อยละ 94.3 ทัศนคติเกี่ยวกับการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโครา 2019 (COVID-19) อยู่ในระดับดี ร้อยละ 71.6 ปัจจัยเอื้อเกี่ยวกับการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโครา 2019 (COVID-19) อยู่ในระดับดี ร้อยละ 62.8 ปัจจัยเสริมเกี่ยวกับการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโครา 2019 (COVID-19) อยู่ในระดับดี ร้อยละ 82.8 คุณภาพชีวิตในช่วงของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโครา 2019 (COVID-19) อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 51.7 พฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโครา 2019 (COVID-19) อยู่ในระดับดี ร้อยละ 82.8 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในครัวเรือนของกลุ่มวัยทำงาน ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเสือเฒ่า อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม ได้แก่ รายได้ต่อเดือนส่วนบุคคล ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กิตติพร เนาว์สุวรรณ (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความรุนแรงของโรคต่อบทบาทการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในประเทศไทย. วารสารสถาบันบำราชนราดูร. 14(2) : 92-103 ; 26 มิถุนายน, 2563.

จันทิมา ห้าวหาญ และพรรณวดี ขาจริง (2564). การศึกษาความรู้ความเข้าใจและพฤติกรรมการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการป้องกันโรคโควิด-19 (COVID-19) ของประชาชนในจังหวัดภูเก็ต. การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 11 ปีการศึกษา 2563 : นวัตกรรมทางสังคมของชุมชนในยุคของการเปลี่ยนแปลงโลกท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 (น. 169-177). ภูเก็ต : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

ณัฐวรรณ คำแสน (2564). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของประชาชนในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. ฉบับที่ 1, วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี.

ดรัญชนก พันธ์สุมา และพงษ์สิทธิ์ บุญรักษา (2564). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโควิด 19 ของประชาชนในตำบล ปรุใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. ศรีนครินทร์เวชสาร. 36(5) : 597-603 ; 20 สิงหาคม, 2564

ธานี กล่อมใจ, จรรยา แก้วใจบุญ และทักษิกา ชัชวรัตน์ (2563). ความรู้และพฤติกรรมของประชาชนเรื่องการป้องกันตนเอง จากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ุใหม่ 2019. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุข และการศึกษา. ฉบับที่ 2, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา.

ปณิธาน หล่อเลิศวิทย์. นิยามศัพท์ส่งเสริมสุขภาพ ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2541. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : จัดพิมพ์โดยโครงการสำนักพิมพ์สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2541.

ปิยะวัฒน์ ตรีวิทยา (2559). กรอบแนวคิดเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต Concepts of quality of life. วารสารเทคนิคการแพทย์ เชียงใหม่. 49(2) : 171-173 ; พฤษภาคม, 2559 .

ปราณีต อินทรประสิทธิ์. (2556). คุณภาพชีวิตการทางานของข้าราชการกรมบัญชีกลางในส่วนกลาง QUALITY OF WORK LIFE OF GOVERNMENT OFFICERSOF THE CENTRAL OFFICE , THE COMPTROLLER GENERAL’S DEPARTMENT. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. ม.ป.ท. : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ปรางทิพย์ ภักดีคีรีไพรวัลย์. (2559). การศึกษาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนบ้านแสนตอ หมู่ 11 ตำบลท่าผา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. สารนิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต. ม.ป.ท. : ภาควิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปรียาภรณ์ พวงทัย. (2559). คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรทางการศึกษาในสหวิทยาเขตชาวดอย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3. การศึกษาอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. ม.ป.ท. : ภาควิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ภัทรวรรณ คบขุนทด. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของนักเรียน มัธยมศึกษาตอนต้น ในตำบลตลาด อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม. การศึกษาอิสระทางสาธารณสุขปริญญาสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (ส.บ.). มหาสารคาม : คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2563.

ภานุวัฒน์ พรหมสังคหะ. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนในเขตพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2564. จาก : http://data.ptho.moph.go.th/ptvichakarn62/uploads/38981_0201_20190606115942.pdf

มัณฑรา ธรรมบุศย์. “ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขของสกินเนอร์” จิตวิทยาสำหรับครู. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2564. จาก : https://sites.google.com/site/psychologybkf1/home/citwithya-kar-reiyn-ru/thvsdi-kar-reiyn-ru-baeb-kar-wang-ngeuxnkhi-khxng-skin-nex-r

มาโนช เวชพันธ์. (2532). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของข้าราชการประจำ ศึกษาเปรียบเทียบข้าราชการพลเรือน ทหารและตำรวจ. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

วิฑูรย์ สิมะโชคดี. (2564). คุณภาพคือความอยู่รอด ตอน คุณภาพชีวิต…อยู่ที่ใคร?. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2564. จาก : https://www.matichon.co.th/columnists/news_2530804 ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน. (2564). รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. ฉบับที่ 477, กรมควบคุมโรค : กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2564. จาก : https: //ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situation-no477-240464.pdfสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. คู่มือวัคซีน สู้โควิด ฉบับประชาชน. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. (2564). รายงานผลการสำรวจการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19ในระหว่างมาตรการผ่อนปรน. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2564. จาก : http://www.ihppthaigov.net สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. การดำเนินงานตามคำสั่งจังหวัดมหาสารคาม เรื่อง การยกระดับมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) จังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม : กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด, 2563 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. พีระมิดประชากรแยกตามกลุ่มวัย. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2564. จาก : https://mkm.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=populationpyramid.php&cat_id=ac4eed1bddb23d6130746d62d2538fd0&id=db4e8d42e1234a75bd03d430c31feb2f

อัมพร จันทวิบูลย์ และคณะ (2563). การศึกษาสภาพแวดล้อม และการดำเนินงาน ของชุมชนแออัดในกรุงเทพมหานคร ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19. วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. ฉบับที่ 43, กระทรวงสาธารณสุข.

อรรถพงศ์ เพ็ขร์สุวรรณ์. (2552). พฤติกรรมสุขภาพของประชาชนเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน : กรณีศึกษา ผู้มารับบริการทางการแพทย์ เขตสถานีอนามัย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี. ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม). ม.ป.ท. : คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ฮูดา แวหะยี (2563). การรับรู้ความรุนแรงและพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ของวัยรุ่นในเขตตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. ฉบับที่ 4.

Urbinner. (2564). ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ (Maslow's Hierarchy of Needs). สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2564. จาก : https://www.urbinner.com/post/maslow-hierarchy-of-needs.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-12