ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการทำกิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • สุรวิชญ์ รุ่งสว่าง -
  • รุ่ง วงศ์วัฒน์

คำสำคัญ:

กิจกรรมทางกาย, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการทำกิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก โดยกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 436 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน  เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ที่ตอบด้วยตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ

ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการทำกิจกรรมทางกายโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 59.90 ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการทำกิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมทางกาย การรับรู้ความสามารถของตนเอง แรงสนับสนุนจากครอบครัว ซึ่งปัจจัยเหล่านี้สามารถร่วมทำนายพฤติกรรมการทำกิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุ ได้ร้อยละ 53.40 (R2 = 0.534, p-value < 0.001)

ข้อเสนอแนะจากการวิจัย การจัดโปรแกรมการส่งเสริมกิจกรรมทางกายสำหรับผู้สูงอายุควรมีรูปแบบกิจกรรมที่หลากหลาย โดยคำนึงปัจจัยพื้นฐานในด้านต่างๆ เช่น ระดับการศึกษา ความรู้และการรับรู้ความสามารถของผู้สูงอายุแต่ละคน นอกจากนี้ ควรมีการส่งเสริมให้ครอบครัวของผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในกิจกรรมด้วย เพื่อเป็นแรงกระตุ้นให้ผู้สูงอายุเกิดพฤติกรรมการทำกิจกรรมทางกายอย่างเพียงพอ และเกิดต่อเนื่อง

References

สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2561 [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2 มิถุนายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dop.go.th/download/knowledge/th1573033396-261_0.pdf.

โครงการผลสัมฤทธิ์ิ์การใช้บริการสุขภาพในกลุุ่มผูู้สูงอายุและผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายสุขภาพของภาครัฐในอนาคตในช่วงปี พ.ศ. 2554 – 2564 [อินเตอร์เน็ต]. 2554 [เข้าถึงเมื่อ 11 พฤษภาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://kb.hsri.or.th/dspace/han/3495?shofull.

กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย. ข้อแนะนำการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง และการนอนหลับ. กรุงเทพฯ: บริษัท เอ็นซี คอนเซ็ปต์ จำกัด; 2560.

นุชราภรณ์ เลี้ยงรื่นรมย์ และคณะ. คนไทยมีกิจกรรมทางกายเพียงพอตามเกณฑ์หรือไม่:ข้อมูลจากการสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. 2558. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2560;11(2):หน้า 205-20.

ยุทธศาสตร์ 10 ปี สังคมสูงวัย เทศบาลนครพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 5 มีนาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.phsmun.go.th/BackOffice/ckfinder/userfiles/images/files/stategy10y_v3_full.pdf.

กลุ่มรายงานมาตรฐาน [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 6 กรกฎาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.t/main/index.php.

ผลวิเคราะห์พฤติกรรมที่พึงประสงค์กลุ่มผู้สูงอายุ (อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป) เขตสุขภาพที่ 2 ปีงบประมาณ 2563 [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 13 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://203.157.71.170/ltcdata/behavior.php.

ปารวี มุสิกรัตน์, ฉัตรสุดา ศรีบุรี, อรอุมา บุณยารมย์, กนกวรรณ ศรีสุภรกรกุล. ระดับกิจกรรมทางกายและปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับกิจกรรมทางกายในผู้สูงอายุที่อาศัยในชุมชนเขตสุขภาพที่ 2. เวชสารแพทย์ทหารบก. 2564;74(2):67-84.

แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2561-2565) ของเทศบาลนครพิษณุโลก [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 5 มีนาคม2564]. เข้าถึงได้จาก: https://dcstore.phsmu

n.go.th/test02/file_data.pdf

นงลักษณ์ วิรัชชัย. โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2542.

Bloom BS. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw–Hill; 1971.

Best JW. Research in education (2nd ed). Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hell; 1997.

Notthoff N, Reisch, P., & Gerstorf, D. Individual Characteristics and Physical Activity in Older Adults: A Systematic Review. Gerontology. 2017;63(5):443-59.

Chaudhury H, Campo, M., Michael, Y., & Mahmood, A. . Neighbourhood environment and physical activity in older adults. Soc Sci Med. 2016;149:104-13.

Yi X, Pope, Z., Gao, Z., Wang, S., Pan, F., Yan, J.Wang, R. Associations between individual and environmental factors and habitual physical activity among older Chinese adults: A social-ecological perspective. J Sport Health Sci. 2016;5(3):315-21.

Shiraly R, Shayan, Z., Keshtkar, V., & Hamed, M. Self-reported Factors Associated with Engagement in Moderate to Vigorous Physical Activity among Elderly People: A Population-based Study. Int J Prev Med. 2017;8(1):26.

ปารวี มุสิกรัตน์, ฉัตรสุดา ศรีบุรี, อรอุมา บุณยารมย์, กนกวรรณ ศรีสุภรกรกุล. ระดับกิจกรรมทางกายและปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับกิจกรรมทางกายในผู้สูงอายุที่อาศัยในชุมชนเขตสุขภาพที่ 2 เวชสารแพทย์ทหารบก. 2564;74(2):67-84.

McKee G, Kearney, P. M., & Kenny, R. A. The factors associated with self-reported physical activity in older adults living in the community. Age Ageing. 2015;44(4):586-92.

กุลธิดา กุลประฑีปัญญา, วัชราภรณ์ เรืองสิทธิ์, จำลอง วงษ์ประเสริฐ. ปัจจัยและแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุไทย : การทบทวนวรรณกรรมแบบบรรยาย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น. 2562;16(1):295-305.

ตวงพร กตัญญุตานนท์, ฐานิดา แป้นสมบุญ, จันจิรา จินดามณี, พิลัมภา รุ่งเรือง, มณีรัตน์ เกลี้ยงเกลา, พรนภา หอมจันทร์, และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุหมู่บ้านแห่งหนึ่งในตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. วารสาร มฉกวิชาการ. 2562;23(1):1-14.

ธีรนุช ชละเอม, ยุวดี ลีลัคนาวีระ, พรนภา หอมสินธุ์. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับกิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุในชุมชน ตำบลบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี. วารสารการพยาบาลการศึกษา2560;10(2):19-32.

Thornton CM, Kerr J, Conway TL, Saelens BE, Sallis JF, Ahn DK, et al. Physical Activity in Older Adults: an Ecological Approach. Annals of behavioral medicine : a publication of theSociety of Behavioral Medicine. 2017;51(2):159-69.

Barnett DW, Barnett A, Nathan A, Van Cauwenberg J, Cerin E, on behalf of the Council on E, et al. Built environmental correlates of older adults’ total physical activity and walking: a systematic review and meta-analysis. International Journal of Behavioral Nutrition and Physical Activity. 2017;14(1):1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-12