ความชุกของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชกลุ่มออการ์โนฟอสเฟต และคาร์บาเมต ตกค้างในผักที่จำหน่ายในตลาดสด และในห้างสรรพสินค้า ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ศุจิมน มังคลรังษี -
  • สุวพิชญ์ เตชะสาน
  • วีรยา สินธุกานนท์
  • จิดาภา รัตนถาวร
  • ธัญณ์สิริ วิทยาคม
  • ภูษณิศา กิจกาญจนกุล
  • ณกัณฐพันธ์ ประมาพันธ์
  • เดชาธร สมใจ

คำสำคัญ:

สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในผักสด , ออร์กาโนฟอสเฟส , คาร์บาเมต

บทคัดย่อ

เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการเกษตร และมีการตรวจพบสารเคมีตกค้างในระดับอันตรายในผักสดหลายชนิดที่นำมาจำหน่ายให้ผู้บริโภค ซึ่งการได้รับสารเคมีตกค้างในผักผลไม้ส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้บริโภคทั้งแบบฉับพลันและระยะยาว สารเคมียาฆ่าแมลงสะสมในร่างกาย เป็นปัจจัยหนึ่งของโรคมะเร็ง ซึ่งสารเคมีตกค้างที่ตรวจพบส่วนใหญ่เป็นกลุ่มออการ์โนฟอสเฟต และคาร์บาเมต การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น การบริโภคผักผลไม้ที่มีสารเคมีกำจัดศตรูพืชตกค้างเป็นอัตรายต่อสุขภาพ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกสารเคมีกำจัดศัตรูพืชกลุ่มออการ์โนฟอสเฟต (Organophosphates) และคาร์บาเมต (Carbamate)  ตกค้างในผักที่จำหน่ายในตลาดสด และในห้างสรรพสินค้า ในเขตกรุงเทพมหานคร  วิธีการวิจัย : เป็นการตรวจสอบสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ออการ์โนฟอสเฟต และคาร์บาเมต ตกค้าง ด้วยชุดทดสอบ เอ็มเจพีเค (MJPK)ของ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยทำการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก (Convenience Sampling Method) ในผักสด 5 ชนิด กระเพรา ผักชี ผักกาดขาว พริกแดง และผักบุ้ง ชนิดละ 42 ตัวอย่าง รวมทั้งสิ้นจำนวน 210 ตัวอย่าง จากตลาดสด และห้างสรรพสินค้า ในเขตกรุงเทพมหานคร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย ในเดือน พฤศจิกายน 2564 ผลการศึกษา : ตรวจพบ สารเคมีกำจัดศัตรูพืช กลุ่มออการ์โนฟอสเฟส และคาร์บาเมต ตกค้างในระดับไม่ปลอดภัย จำนวน 43 ตัวอย่าง (ร้อยละ 20.5) แบ่งเป็นตัวอย่างผักที่ซื้อจากห้างสรรพสินค้าจำนวน 10 ตัวอย่าง และตลาดสด 33 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 23.26 และ 76.74 ของผักที่มีสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างระดับไม่ปลอดภัย เมื่อวิเคราะห์รายชนิดของผัก พบว่า ร้อยละ 35.71 (n=15) ของผักชี มีสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในระดับไม่ปลอดภัย รองลงมา ในกระเพรา ร้อยละ 23.81 (n=10) ผักกาดขาว ร้อยละ 21.43 (n=9) พริกแดง ร้อยละ 14.29 (n=6) เ และผักบุ้ง ร้อยละ 7.14 (n=3) ตามลำดับ สรุป : จาก 210 ตัวอย่างที่ทำการศึกษา ตรวจพบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างระดับไม่ปลอดภัยร้อยละ 20.5 (n=43) ซึ่งเป็นตัวอย่างจากตลาดสดร้อยละ 76.74 (n=33) ผักที่ตรวจพบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างระดับไม่ปลอดภัยมากสุดคือ  ผักชี กระเพรา และ ผักกาดขาว ตามลำดับ ผู้บริโภคควรหลีกเลี่ยงการบริโภคสารพิษตกค้างในผัก โดยการเลือกบริโภคผักที่มีความเสี่ยงสารเคมียาฆ่าแมลงตกค้างน้อย เลือกซื้อจากแหล่งที่มีความน่าเชื่อถือ แหล่งมีมาตรการในการคัดคุณภาพผัก และก่อนนำผักมารับประทานควรมีการล้างผักให้สะอาดปราศจากสารเคมียาฆ่าแมลงตกค้าง 

References

นัสพงษ์ กลิ่นจำปา และ ดาริวรรณ เศรษฐีธรรม. พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ตำบลป่าไม้งาม อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารวิชาการ สคร; 2562 : 25(2), 26-34. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.

php/ODPC9/article/download/187344/147456/

เพ็ญนภา กาญจนมั่งศักดิ์ เวณิกา เบ็ญจพงษ์ นริศรา ม่วงศรีจันทร์ และวีรยา การพานิช. ปัจจัยที่ ทำให้เกิดปัญหาการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างไม่เหมาะสมในการเพาะปลูกผักคะน้า. วารสารพิษวิทยาไทย 2553; 25(2), 133 -143. เข้าถึงได้จาก: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/

ThaiJToxicol/article/download/243991/166593

ธนพงศ์ ภูผาลี, อรนุช วงศ์วัฒนาเสถียร, สมศักดิ์ อาภาศรีทองสกุล และมาลี สุปันตี. 2559. ความชุกของการมีสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในผักจากตลาดและห้างสรรพสินค้าในอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารเภสัชกรรมไทย; 2559: 8(2), 399-409.

สุธาสินี อั้งสูงเนิน. 2558. ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี; 2558: 9(1), 50-54

วิจิตรา เหลียวตระกูล, วชิรญา เหลียวตระกูล, ปรียานุช เพียนเลี้ยงชีพ และรวีวรรณ เดื่อมขันมณี. 2563. การตรวจสอบสารเคมีตกค้างกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมตในผักสด ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและประสิทธิภาพในการล้างผักต่อสารเคมีตกค้างในผักคะน้า. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า; 2563: 38 (1), 131 - 138.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ผลกระทบต่อสุขภาพจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2564]. เข้าถึงได้จาก http://envocc.ddc.moph.go.th/contents/view/106

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรคจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2564]. เข้าถึงได้จาก http://envocc.ddc.moph.go.th/contents/view/72

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.). 2565. สารกำจัดวัชพืชที่มีปริมาณการนำเข้าสูง. [เข้าถึงเมื่อ 24 มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จาก https://data.go.th/dataset/importherbicidevol?id=66e4ce3f-e3e7-4a8c-b188-2240db9129f8&is_fullscreen=1

สุธาสินี อั้งสูงเนิน. ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้สารเคมีกาจัดศัตรูพืช. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี; 2558: 9(1), 50-63. เข้าถึงได้จาก

https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/download/31481/35246/98450

Thays Millena Alves Pedroso, Marcelino Benvindo-Souza, Felipe de Araújo Nascimento and et al. Cancer and occupational exposure to pesticides: a bibliometric study of the past 10 years. Environmental Science and Pollution Research; 2022: 29,17464–17475. Available from https://link.springer.com/article/10.1007/s11356-021-17031-2

ScienceDaily. Common household Pesticides Linked To Childhood Cancer Cases In Washington Area. [Cited on 29 June 2022]. Available from https://www.sciencedaily.com/releases/2009/07/090728102306.htm

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. ข่าวสารมะเร็งเชิงรุก. [เข้าถึงเมือ 28 มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จาก https://www.nci.go.th/en/

Knowledge/download/8.pdf

กระทรวงสาธาณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉับที่ 393 (พ.ศ. 2561) เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง. [เข้าถึงเมื่อ 28 มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/264/T_0010.PDF

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. คำชี้แจงประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 393 (พ.ศ. 2561) เรื่องอาหารที่มีสารพิษตกค้าง (ฉบับที่2). [เข้าถึงเมื่อ 28 มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จาก http://food.fda.m

oph.go.th/law/data/annfda/No.393.pdf

ราชกิจจานุเบกษา. ประการกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 387 พ.ศ. 2560 เรื่องอาหารที่มีสารพิษตกค้าง. [เข้าถึงเมื่อ 28 มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จากhttp://food.fda.moph.go.th/law/data/announ_moph/P387.PDF

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสรุปผลการดำเนินงานโครงการบูรณาการอาหารปลอดภัย ประจำปีงบประมาณ 2563. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 15 มีนาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก http://bqsf.dmsc.moph.go.th/bqsfWeb/wp-content/uploads/2021/09/Food-safety-report-63.pdf

THAIPAN. ผลการตรวจสารพิษตกค้างผักผลไม้ 2562. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 15 มีนาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://thaipan.org/action/1107

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. จำนวนประชากรจากการทะเบียน จำแนกตามกลุ่มอายุ ภาคและจังหวัด พ.ศ. 2555 – 2564. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 24 มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/Page/sector/TH/report/sector_01_11102_TH_.xlsx

ศูนย์ข้อมมูลเศรษฐกิจการคลังและการลงทุนของกรุงเทพมหานคร. ข้อมูลพื้นฐานการเกษตรและจำนวนเกษตรกรปี2562. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 24 มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จาก http://203.155.220.117:

/BMAWWW/upload/module_cms/title_cms/file_ff1090ef5b40e085b6fb538ee1ae5828.pdf

ประชาชาติธุรกิจ. ตลาดสี่มุมเมือง ย้ำเบอร์ 1 “อาคารรถผัก” ใหญ่และทันสมัยที่สุดในไทย. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 24 มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จาก https://www.pracha

chat.net/public-relations/news-479128

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการใช้ชุดทดสอบอาหาร. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 10 กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จาก http://bqsf.dmsc.moph.go.th/bqsfWeb/wp-content/uploads/2017/Publish/e-book/foodsafetymanualfulltext.pdf

พัชรี ภคกษมา สุวรรณี สายสิน และศรมน สุทิน. การตรวจสอบสารเคมีฆ่าแมลงตกค้างของสารกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมตในผักในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย; 2559: 5(1), 22-30. เข้าถึงได้จาก : https://apheit.bu.ac.th/jounal/

science-22-1/03patcharee.pdf

จิราพร ใจเกลี้ยง, ศิริพร จันทร์มณี และ อรพรรณ หนูแก้ว. การตรวจหายาฆ่าแมลงตกค้างในผักจากตลาดในอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 50; 2555, 263-271. เข้าถึงได้จาก https://kukr.lib

.ku.ac.th/db/kukr/search_detail/dowload_digital_file/13009/87757

มัตติกา ยงประเดิม, มุจลินท์ อินทรเหมือน, ศิริพร ด่านคชาธาร และ จิตตาภรณ์ มงคลแก่นทราย. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของกลุ่มเกษตรกรชุมชนแห่งหนึ่ง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการสาธารณสุข; 2562; 28(6), 699-973. เข้าถึงได้จาก https://thaidj.org/index.php/JHS/article/download/8324/7654/11703

ธธิธา เวียงปฎิ และ อภิชัย คุณีพงษ์. ปัจจัยทีมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สารเคมีกําจัดศัตรูพืชของเกษตรกรตําบลหนองสาหร่าย อําเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2562: 7(4), 547-562. เข้าถึงได้จาก https://chd.kku.ac.th/

images/chd/2562/vol4/2562-4-03.pdf

อนุวัฒน์ เพ็งพุฒน์ และพุทธิไกร ประมวล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างโดยการตรวจระดับโคลีนเอสเตอเรสในเลือดเกษตรกร ตำบลสงเปลือย อำเภอนามนจังหวัดกาฬสินธุ์. วรสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2562: 10(1), 47-62. เข้าถึงได้จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/119536/91398

สิทธิชัย ใจขาน, สุภาณี จันทร์ศิริ และอดิเทพ บาตรสุวรรณ. ผลกระทบสุขภาพจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรชาวนา บ้านเตย ตำบลนากระแซง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี; 2562; 21(3), 181-193. เข้าถึงได้จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sci_ubu/article/download/95475/159723/787887

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). กรมอนามัยแนะ ล้างผักให้สะอาด ลดเสี่ยงยาฆ่าแมลง. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 30 กันยายน 2556]. เข้าถึงได้จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/43597-กรมอนามัยแนะ%20ล้างผักให้สะอาด%20ลดเสี่ยงยาฆ่าแมลง%20.html

คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ. กรอบยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของประเทศไทย. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 12 ธันวาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก http://food.fda.moph.go.th/lgtfdapv/data/Strategy.pdf

รณชัย โตสมภาค. ผลกระทบของสารเคมีการเกษตรต่อสุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภค : แนวทางในการควบคุมการใช้สารกาจัดศัตรูพืชเพื่อสร้างความมั่นคงทางสุขภาพของผู้ประกอบการภาคเกษตรกรรมและผู้บริโภค. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม 2564]. เข้าถึงได้จากhttps://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=29268

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-12