พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ของชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • พัดชา หิรัญวัฒนกุล
  • สมเสาวนุช จมูศรี

คำสำคัญ:

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, พฤติกรรมการป้องกันตนเอง, ชุมชน

บทคัดย่อ

จากการแพร่ระบาดของโรคเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่เป็นสาเหตุการป่วยและตายของประชากรทั่วโลกทำให้ต้องมีมาตรการที่ป้องกันการระบาดของโรคอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะในชุมชนที่อยู่โดยรอบมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่มีประชากรอาศัยอยู่จำนวนมาก การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 370 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ผลการศึกษาพบว่า ระดับการศึกษา (r2 =18.43, p = 0.00) รายได้ (r2=4.19, p = 0.04) อาชีพ (r2 =5.03, p = 0.02) และช่องทางการได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรค (r2 =13.64, p = 0.00) ความรู้เกี่ยวกับโรค ( r = 0.261, p < 0.001) และทัศนคติเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ( r = 0.387, p < 0.001) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

ข้อเสนอแนะ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับโรคให้กับประชาชน โดยอาจจำแนกตามกลุ่มอาชีพ และโดยเฉพาะประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้ผ่านช่องทางสื่อออนไลน์ เพื่อให้ประชนชนสามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้สะดวก ข้อมูลจากผลการวิจัยอาจใช้แนวสำหรับการป้องกันการระบาดของโรคครั้งต่อไป

References

กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563 เรื่องชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่มที่ 137, ตอนพิเศษ 48 ง (ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563.

กรมควบคุมโรค. รายงานข้อมูลสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ประเทศไทย. [อินเตอร์เน็ต]. 2563. [สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2563]. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php

คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดมหาสารคาม. ประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดมหาสารคาม เรื่อง มาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด 19. มหาสารคาม; 2563.

ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดมหาสารคาม. สถานการณ์ COVID-19 จังหวัดมหาสารคาม. [อินเตอร์เน็ต]. 2563. [สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก http://mkho.moph.go.th

ศรุตานนท์ ชอบประดิษฐ์. วิกฤตโควิด 19 ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทาง สังคมอย่างไร. วารสารชัยภูมิปริทรรศน์, 2563; 3(2),1-14.

Daniel, W.W. Biostatistics: A foundation for analysis in the health sciences. New York: Wiley & Sons; 1995.

ภิรมย์รัตน์ เกียรติธนบดี, วิโรจน์ ไววานิชกิจ และจเด็ด ดียิ่ง. พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของภาคีเครือข่ายสุขภาพในอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารการวิจัยและพัฒนา, 2558; 10 (2) 84-91.

กชกร สมมัง. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ของผู้รับบริการงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช. เล่มที่ 126 วารสารสุขศึกษา. กรมควบคุมโรค. (2563). รายงานสถานการณ์ โควิด-19. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2565 จาก https://covid19.ddc.moph.go.th.

นารีมะห์ แวปูเตะ, คันธมาทน์ กาญจนภูมิ และ กัลยา ตันสกุล. พฤติกรรมการป้องกันโรคจากไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (2564): 31-39.

ชญาน์นันท์ ใจดี, เสริมศรี สันตติ และชื่นฤดี คงศักดิ์ตระกูล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจของผู้ดูแลเด็กในสถานรับเลี้ยงเด็ก, 2555. รามาธิบดีพยาบาลสาร ปีที่ 18 ฉบับที่ 3: 389-403.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-12