ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้กับพฤติกรรมป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชน ในอำเภอที่มีอัตราป่วยสูง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • บุญประจักษ์ จันทร์วิน -

คำสำคัญ:

การรับรู้, พฤติกรรมการป้องกัน, โรคไข้เลือดออก, อำเภอที่มีอัตราป่วยสูง

บทคัดย่อ

  โรคไข้เลือดออกเป็นสาเหตุการป่วยและเสียชีวิตที่สำคัญของโลกและประเทศไทย พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคส่วนใหญ่อยู่ในเขตเมือง หรือพื้นที่ชุมชนที่หนาแน่น การดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างสุขภาพต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรม สิ่งแวดล้อม และสังคม จะต้องมีมุมมองในหลายมิติ ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างรวดเร็ว นอกจากความรู้ ทัศนคติ ความเชื่อ และค่านิยมแล้ว การรับรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์ศึกษาการรับรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก ศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนในอำเภอที่มีอัตราป่วยสูง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 310 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เก็บข้อมูลเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม 2564 โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติสหสัมพันธ์ Pearson correlation coefficient

ผลการศึกษาพบว่า การรับรู้ประโยชน์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดี (Mean=4.05, SD=0.38) ส่วนการรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้อุปสรรค และการรับรู้ความสามารถของตนเอง อยู่ในระดับปานกลาง (Mean=3.39, 3.30, 3.04 และ 3.63; SD= 0.25, 0.30, 0.47 และ 0.37) พฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (Mean=3.26, SD=0.31) ความสัมพันธ์การรับรู้กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก คือ การรับรู้ความสามารถของตนเอง มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง (r= 0.462, p <0.01) การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้อุปสรรค และการรับรู้ประโยชน์ มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำ (r= 0.287, 0.342 และ 0.306; p < 0.01) ส่วนการรับรู้ความรุนแรง มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำมาก (r= 0.117, p < 0.05)

สรุปผลการวิจัย การรับรู้ทุกด้านมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยเฉพาะการรับรู้ความสามารถของตนเอง ฉะนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้การสนับสนุนให้ประชาชนมีแรงจูงใจในการป้องกันโรคและให้ส่งเสริมให้ประชาชนเป็นแกนนำในชุมชนร่วมรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก

References

กองโรคติดต่อนำโดยแมลง. แนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม โรคติดต่อนำโดยยุงลาย สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข พ.ศ. 2564. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, 2564.

กรมควบคุมโรคติดต่อ. รายงานโรคไข้เลือดออก ปี 2564. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, 2564

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11. รายงานประจำปี 2563. นครศรีธรรมราช: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช, 2564.

Green L. W. & Kreuter M. W. Health Program Planning: an Educational and Ecological Approach. New York: McGrawHill, 2005.

ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์. การกำหนดขนาดตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงพรรณนาในงานสาธารณสุข. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 2556; 16(2): 9-18.

พุทธิพงศ์ บุญชู. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก: ศึกษาเปรียบเทียบหมู่บ้านปลอดโรคกับหมู่บ้านที่มีการระบาดของโรคในตำบลบ่อผุด อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 2563; 3(3): 79-94.

สำเริง จันทรสุวรรณ และสุวรรณ บัวทวน. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. ขอนแก่น: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2547.

Best, J. W. Research in Education. (3nded). Englewod Cliffs: Prentice-Hall, 1977.

Bartz, A. E. Basic Statistical Concepts: Merrill, 1999.

ชนิดา มัททวางกูร, ปรียานุช พลอยแก้ว, อโนทัย ถวัลย์เสรีวัฒนา, อำพร สิทธิจาด และธำรงเดช น้อยสิริวัฒนา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสายสี่ จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารพยาบาล

ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 2560; 18(34): 34-48

ธนกฤติ นุ้ยกูลวงศ์. พฤติกรรมการป้องกันไข้เลือดออกของประชาชน กรณีศึกษา: อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา; 2558.

วิภาวดี วุฒิเดช. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตามบทบาทการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุข ในพื้นที่ระบาดซ้ำซาก อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2564.

ประเทือง ฉ่ำน้อย. การศึกษาระดับความรู้ การรับรู้ และพฤติกรรมการดำเนินงานควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุข กรณีศึกษา: อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร. (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์); 2558.

บุญประจักษ์ จันทร์วิน, วิทยา ศรแก้ว และวัลลภา ดิษสระ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ของประชาชนวัยทำงานอำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 2564; 7(4): 72-86.

ชลิต เกตุแสง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมพาหะนำโรคไข้เลือดออกของประชาชน อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 2558; 2(1): 24-36.

หทัยรัตน์ ตัลยารักษ์ และจุฑาทิพย์ ช่วยคล้าย. ความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนในตำบลเคร็ง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช.การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 10, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่: 2562.

ชมพูนุช อินทศรี, ภัคจิรา สาระวงษ์, อโนทัย ผลิตนนท์เกียรติ และดวงใจ เอี่ยมจ้อย. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนในชุมชนบ้านคลองบางนา ตำบลศีรษะจรเข้น้อย อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2560; 3(1): 43-51.

วิทยา ศรแก้ว. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนในตำบลที่มีอัตราป่วยสูง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารศาสตร์สุขภาพและการศึกษา, 2565; 2(1): 1-14.

ภาคภูมิ อุณหเลขจิตร, เจริญชัย อึ๊งเจริญสุข, เจนจิรา นักฆ้อง, อมิตา เหมาเพ็ชร, ณัฐสุดา ฟักเจริญ, ปวีณา วรวงษ์, ฉัตรฑริกา จันทร์สาเภา และวนิดา ทมแก้ว. พฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนชุมชนคลองถ้าตะบัน ตำบลระแหง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 6 และระดับนานาชาติครั้งที่ 1, มหาวิทยาลัยปทุมธานี: 2562.

สฤษดิ์เดช เจริญไชย, วิชัย สุขภาคกิจ และมาสริน ศุกลปักษ์. การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกแบบบูรณาการในพื้นที่เสี่ยงสูงเขตอำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2563; 29(3): 517-527.

นันทิตา กุณราชา, สุภาพร ตรงสกุล, วรรณรัตน์ ลาวัง และพิษณุรักษ์ กันทวี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย. เชียงรายเวชสาร. 2560; 9(2): 91-103

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-12