ความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมการป้องกัน PM2.5 ของเยาวชนพื้นที่สูงในช่วงเผาในที่โล่งในจังหวัดพะเยา ประเทศไทย
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม, พฤติกรรมสุขภาพ, PM2.5, เยาวชน, พื้นที่สูงบทคัดย่อ
ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) เป็นสารมลพิษทางอากาศที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ซึ่งเยาวชนเป็นหนึ่งในกลุ่มที่ได้รับผลกระทบรุนแรงจาก PM2.5 โดยเฉพาะเยาวชนที่อาศัยในพื้นที่สูงที่เป็นแหล่งกำเนิดการเผาในที่โล่ง การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมการป้องกัน PM2.5 ของกลุ่มเยาวชนในช่วงปัญหาหมอกควันรุนแรง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยคือ เยาวชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่สูงแห่งหนึ่งในจังหวัดพะเยา จำนวน 35 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณณาใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า เยาวชนมีความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( =2.82, S.D.=0.62) และมีพฤติกรรมการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจาก PM2.5 เฉลี่ยอยู่ในระดับไม่ดี ( =1.21, S.D.=0.70) ถึงแม้ว่าในปัจจุบันเยาวชนจะสามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับ PM2.5 ผ่านเทคโนโลยีและระบบการสื่อสารได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาพบว่าการทำความเข้าใจและเข้าถึงข้อมูล PM2.5 ของเยาวชนมีความแตกต่างกันขึ้นกับตัวบุคคล นอกจากนั้นเยาวชนยังไม่รับรู้ถึงผลกระทบทางสุขภาพที่เกิดขึ้นกับตนเอง จึงขาดความตระหนักทำให้พฤติกรรมการป้องกันตนเองนั้นอยู่ในระดับที่ไม่ดี จากการวิจัยทำให้ทราบว่าควรมีการพัฒนาเรื่องการสื่อสารสุขภาพให้กับเยาวชนในพื้นที่สูงในการป้องกัน PM2.5 โดยการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ฝึกการปฏิบัติ ซึ่งจะนำไปสู่การเกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ดีต่อไป
References
อินท์ฉัตร สุขเกษม. การพยากรณ์ปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการ สคร. 27(1): 16-25, 2564.
Ho RC, Zhang MW, Ho CS, Pan F, Lu Y and Sharma VK. Impact of 2013 south Asian haze crisis: study of physical and psychological symptoms and perceived dangerousness of pollution level. BMC Psychiatry. 14:81, 2014.
กรมอนามัย. แนวทางลดและป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) สำหรับสถานศึกษา. กรุงเทพ: กระทรวงสาธารณสุข, 2563.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา. การป่วยด้วยโรคจากมลพิษทางอากาศ. [อินเทอร์เน็ต]. 2564. [อ้างอิงเมื่อ 16 สิงหาคม 2565] เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format2_pm25.php&cat_id=9c647c1f31ac73f4396c2cf987e7448a&id=e50e0212eaf67d19164ea9a3393a15ce
กรมอนามัย และกรมควบคุมโรค. แนวทางการเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงจากมลพิษทางอากาศ กรณีฝุ่นละอองขนาดเล็ก. กรุงเทพ: กระทรวงสาธารณสุข, 2558
Roy A, Hu W, Wei F, Korn L, Chapman RS, Zhang J. Ambient particulate matter and lung function growth in Chinese children. Epidemiology. May; 23(3): 464-472, 2012
พงศ์เทพ วิวรรธนะเดชและคณะ. คู่มือการเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษทางอากาศ. กรุงเทพ: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, 2554.
ธิติยา ศรีนาราง และรังสรรค์ เกตุอ๊อต. การประเมินปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10) ด้วยวิธีประมาณค่าเชิงพื้นที่ในบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารวิชาการเพื่อการพัฒนานวัติกรรมเชิงพื้นที่. 1(2): 36, 2563.
อรรคเดช สนลอย และสัณฐาน ชยนนท์. ปัญหาของชาวม้งลาวในเขตพื้นที่ตำบลเข็กน้อย อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 6(1): 55-56, 2563.
สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี แม่ปืม. สภาพและข้อมูลทั่วไปตำบลแม่ปืม อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา. [อินเทอร์เน็ต]. 2565. [อ้างอิงเมื่อ 16 สิงหาคม 2565] เข้าถึงได้จาก: https://maepuem.blogspot.com/p/blog-page_3.html
กรมควบคุมมลพิษ. สถานการณ์และการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศและเสียงของประเทศไทย ปี 2563. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2564.
สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 2 ลำปาง. รายงานสถานการณ์หมอกควันและไฟป่าประจำปี 2562 พื้นที่จังหวัด ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน. ลำปาง: สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 2 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2563.
Arden, C. Pope, III and Douglas W. Dockery. “Acute health effects of PM10 pollution on symptomatic and asymptomatic children.” American Review of Respiratory Disease. 145, 5: 1123-1128, 1992.
Michael T. Kleinman. South Coast Air Quality Management District “The Health Effects of Air Pollution on Children”, 2000.
Natalie C. G. Freeman. “Children’s Risk Assessment”. in Risk Assessment for Environmental Health, 2007.
อังศินันท์ อินทรกำแหง ร่วมกับ กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. การจัดทำสถานการณ์ความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ, 2563.
ธีรดา หลงศิริ. ระดับทักษะทางสติปัญญาด้านสิ่งแวดล้อมของนักเรียนที่จบการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ณ โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(1), 2814-2826, 2561
Cohen, J. Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nded.). USA: Lawrence Erlbaum associates, 1988.
นิภา มหารัชพงศ์, ยุวดี รอดจากภัย และสุนิศา แสงจันทร์. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้สุขภาพเกี่ยวกับการป้องกันตนเองเพื่อลดการรับสัมผัสมลพิษของแรงงาน ในเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยอง. ชลบุรี: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561.
พเยาว์ พงษ์ศักดิ์ชาติ. โปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ.ตามภูมิปัญญาท้องถิ่น ของนักศึกษาพยาบาล. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561.
Likert, R. “The Method of Constructing and Attitude Scale”. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement. 90-95, 1967.
Best, J. Research in Education. New Jersey: Prentice Hall. 174, 1977.
ธีรศักดิ์ศรีพิทักษ์, นิรชร ชูติพัฒนะ และอิสระ ทองสามสี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายเพื่อป้องกันโรคอ้วนของนักเรียนวัยรุ่น จังหวัดยะลา. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 10, 2562.
ธัญชนก ขุมทอง. ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในจังหวัดอุทัยธานีและอ่างทอง. วารสารสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยศิลปากร. 3(6): 75, 2559.
ญานิศา พึ่งเกตุ. การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความฉลาดรู้ทางสุขภาพเกี่ยวกับฝุ่นละอองขนาดเล็กของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นโดยประยุกต์แนวคิดปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้แบบผสมผสาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563.
มัตติกา ยงอยู่. ความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ในเขตสุขภาพที่ 5. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 44(2), 2563.
วราพรรณ วงษ์จันทร์ และบุศรา ชัยทัศน์. การศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการเกิดภาวะน้ำหนักเกินของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย กรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลทหารบก. 22(3): 271, 2564.
ยุพาภรณ์ ติรไพรวงศ์, รัตติกร เหมือนนาดอน, ชัญญาวีร์ ไชยวงศ์, วาสนา ขอนยาง และอรนิด นิคม. ความรอบรู้สุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ และภาวะโภชนาการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ในเขตเทศบาลตำบลโนนสูง จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. 3(3): 89-90, 2563.
ยงยุทธ แก้วเต็ม, ณัฏฐ์ฐภรณ์ ปัญจขันธ์, วรางคณา สันเทพ, ไกรศร วงศ์ธิดา และประดิษฐ นิรัติศรัย. ปัจจัยความสำเร็จและความล้มเหลวในการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อลดการบริโภคเค็ม ชุมชนบ้านป่าเหียง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 8(1): 41, 2565.
Finn, S., & O’Follon, L. The emergence of environmental health literacy – From its roots to its future potential. Environmental Health Perspectives, 125, 495-501, 2017