ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความพร้อมของตำบลวิถีชีวิตใหม่ปลอดภัยจากโควิด 19 จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • พยงค์ ศรีเจริญ
  • วสันต์ ปิ่นวิเศษ
  • อเนก ล้อมวงษ์

คำสำคัญ:

ตำบลวิถีชีวิตใหม่ปลอดภัยจากโควิด 19 , การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้ เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายความพร้อมของตำบลวิถีชีวิตใหม่ปลอดภัยจากโควิด 19 จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล จำนวน 87 คน คัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม และการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่พัฒนาขึ้นภายใต้ทฤษฎีการมีส่วนร่วม และแนวคิดการพัฒนาแบบTPAR มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม 0.81 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

            ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ (1) คุณลักษณะส่วนบุคคล พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 47-63 ปี มีสถานภาพสมรส การศึกษาสูงสุดระดับปริญญาตรี สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (2) การมีส่วนร่วม พบว่า คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล มีส่วนร่วมระดับปานกลาง โดยส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมสุขภาพตามกลุ่มวัย การพัฒนาศักยภาพทีมสุขภาพ และการจัดทำแผนสุขภาพตำบล (3) ความพร้อมของตำบลชีวิตใหม่ปลอดภัยจากโควิด 19 พบว่า มีความพร้อมระดับน้อย โดยประเด็นความพร้อมน้อยที่สุด ได้แก่ การชะลอการระบาดของโรคโควิด 19 และไม่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ติดต่อกัน 14 วัน (4) ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่า การมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนสุขภาพตำบล การมีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพทีมสุขภาพ และอายุ มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความพร้อมของตำบลวิถีชีวิตใหม่ปลอดภัยจากโควิด 19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การอธิบาย (R2) เท่ากับร้อยละ 29.4

References

กรมสนับสนุนบริการ, กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือตำบลชีวิตใหม่ปลอดภัยจากโควิด 19. นนทบุรี: ไม่ปรากฏสำนักพิมพ์; 2563.

กระทรวงสาธารณสุข. การสาธารณสุขไทย : ระบบสุขภาพของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ไม่ปรากฏสำนักพิมพ์; 2558.

ธีระพงษ์ ทศวัฒน์, ปิยะกมล มหิวรรณ. การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางสังคมของประชาชนและการป้องกัน การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19). วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ 2563;9:40-55.

ศศิธร ชิดนายี, ผาสุข แก้วเจริญตา, อดุลย์ วุฒิจูรีพันธุ์, อนัญญา คูอาริยะกุล. การพัฒนาศักยภาพแกนนำการสร้างเสริมสุขภาพในระบบบริการระดับปฐมภูมิและการทำงานเชิงรุกแบบมีส่วนร่วม. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2559;2:18-25.

อมร นนทสุต. สหัสวรรษใหม่กับความท้าทายใหม่ๆ ของนักสาธารณสุข. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2556.

Best JW. Research in education. 3rd ed. Englewood Cliffs,: Prentice Hall, Inc, New Jersey; 1977.

Taro Yamane. Statistics: An Introductory Analysis.3rdEd. New York.Harper and Row Publications. The Lexicon Webster Dictionary. New York : The English Language Institude of America; 1973.

Likert, Rensis. The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son; 1967.

Lumsacorn, S. Factors related to the implementation of the health management sub-district In Samutsakhon Province. HUA HIN Medical Journal 2019;1:25-31.

Nusen, C. Quality Improvement of District Health Management Using Benchmarking At the Khonkaen Local Sub-District Administrative Organization, Maueng District, Roi-Et Province. Journal of the office of DPC7 khon kean 2015;2: 85-90.

Premsing, W., Wongkongdech. W,R. The operating development of sub-district health management by community participation: Nong Wang Sub-district, Nikhom Kham Soi District, Mukdahan Province. UBRU Journal for Public Health Research 2019;2:28-40.

Wanaratwichit, C. District Quality Development Committee: Challenges and Development. Bromarajonani Collage of Nursing Uttaradit Journal 2021;2:15-23.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-10