การพัฒนาระบบบริการคลินิกเบาหวาน ความดันโลหิตสูง แบบวิถีใหม่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเพิ่มสุข อำเภอผาขาว จังหวัดเลย

ผู้แต่ง

  • วัชรี พันธ์เถร
  • วรพจน์ พรหมสัตยพรต
  • จตุพร เหลืองอุบล

คำสำคัญ:

ระบบบริการ , คลินิกเบาหวาน, วิถีชีวิตใหม่ , เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบบริการคลินิกเบาหวานความดันโลหิตสูงแบบวิถีใหม่   โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเพิ่มสุข อำเภอผาขาว  จังหวัดเลย ด้วยการคัดเลือกผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยแบบเจาะจงจำแนกเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วยผู้ให้บริการ (7 คน) ภาคประชาชน (130 คน) และกลุ่มสหวิชาชีพ (7 คน) รวมทั้งสิ้น 144 คน  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสังเกตการณ์มีส่วนร่วม แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม  แบบประเมินการมีส่วนร่วม  และแบบประเมินความพึงพอใจในการพัฒนาระบบบริการ  เก็บรวบรวมโดยสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง ระหว่างเดือน พฤษภาคม 2564   – มกราคม  2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด-สูงสุด และวิเคราะห์เชิงเนื้อหาของข้อมูล

ผลการวิจัย พบว่าการพัฒนาระบบบริการคลินิกเบาหวานความดันโลหิตสูงแบบวิถีใหม่  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเพิ่มสุข  อำเภอผาขาว  จังหวัดเลย การจัดระบบการให้บริการ โดยวิเคราะห์การดำเนินงานตามกระบวนการพัฒนาระบบบริการคลินิกเบาหวานและความดันโลหิตสูงแบบวิถีใหม่ที่มีระบบบริการที่พัฒนาขึ้นให้เกิดความสมบูรณ์และพัฒนาต่อเนื่อง เป็นการพัฒนาจัดระบบบริการแบบวิถีใหม่ โดยการมีส่วนร่วมจากทีมบริหาร ทีมสหวิชาชีพ ผู้นำชุมชน แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน    ทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการในคลินิกเบาหวาน  ความดันโลหิตสูง ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเพิ่มสุข  อำเภอผาขาว  จังหวัดเลย ได้รับบริการที่มีคุณภาพเหมาะสมสอดคล้องกับบริบท มีประสิทธิภาพมากขึ้น 

กระบวนการพัฒนาระบบบริการครั้งนี้  เป็นผลสำเร็จจากการปรับพัฒนาระบบบริการแบบวิถีใหม่ที่เน้นกระบวนการกิจกรรมที่ครบวงจรทั้งระบบ เน้นการทำงานแบบเชื่อมโยงมีส่วนร่วมกับชุมชนและเครือข่ายในพื้นที่ โดยมีกลไกการสนับสนุนที่ดีของหน่วยบริการและทีมผู้ดูแลทั้งในและนอกสถานบริการ

References

กมล สุดประเสริฐ. แนวคิดในการนำผลการวิจัยไปใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียน. วิจัยสนเทศ,4, 1–4, 2528.

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. อธิบาย ความหมายของ ชีวิตแบบวิถีใหม่ (New Normal). กรุงเทพฯ: กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม,2563.

ฉกาจ ผ่องอักษร. การออกกำลังกายในผู้เป็นเบาหวานในโครงการอบรมผู้ให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน (หน้า 1-2). กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลเปาโลเมโมเรียลม2548.

ชัยวุฒิ จันดีกระยอม .การพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยเบาหวานในหน่วยบริการปฐมภูมิภายใต้บริบทพื้นที่อำเภอกันดาร อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม. รายงานการวิจัย. มหาสารคาม: โรงพยาบาลยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม,2560.

ทิพพาวดี สืบนุการณ์ และคณะ. การประเมินความครอบคลุมอย่างมีประสิทธิผลของบริการป้องกัน ควบคุม และรักษาโรคเบาหวาน กรณีศึกษาโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.),2560.

บดินทร์ ชาตะเวที.พฤติกรรมกับชีวิตวิถีใหม่: New Normal. [ออนไลน์] ได้จาก: http://www.ttmed.psu.ac.th/blog.php?p=258. [วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564].

พุทธิดา จันทร์ดอนแดง. การพัฒนาคุณภาพระบบบริการดูแลผู้ป่วย โรคเรื้อรังในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลนาหว้า อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.(2556).

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. ความดันโลหิตสูง. [ออนไลน์] ได้จาก:http://www.thaihypertension.org/information.htm. [วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564],2015.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. ปทุมธานี: บริษัทร่มเย็นมีเดียร์ จำกัด,2560.

สุรัตนา ทศนุต และคณ. การศึกษาสถานการณ์ การดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วย รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 10(2), 29-40,2559.

American Diabetes Association: ADA. (Achieve from: https://www.diabetes.org/ diabetes-basic/facts-about-type2.html in 15/05/2019.

Best, J. (1977). Research in Education. New Jersey: Prentice Hall, Inc.International Diabetes Federation: IDF. (2019). Achieve from: https://www.idf.org in 15/05/2019.

Kemmis, S. & McTaggart, R. (1988). The action research planner. Deakin Univ: Retrieved from https://books.google.co.th/books/ about/The_Action_Research_Planner.html?id = PVXFAAAACAAJ&redir_esc=y.

World Health Organization: WHO. (2019). Achieve from: https://www.who.int in 15/05/2019.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-10