บทความวิชาการ การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันหลังได้รับวัคซีนโควิด-19 แต่ละโดส

ผู้แต่ง

  • ปริญญ์ ณรงค์ตะณุพล
  • ปาริชาติ ณรงค์ตะณุพล

คำสำคัญ:

วัคซีน, โดสกระตุ้น, โควิด-19, ระดับภูมิคุ้มกัน

บทคัดย่อ

โรคโควิด-19 มีการแพร่ระบาดและมีการกลายพันธุ์ต่อเนื่อง แต่ยังมีผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนหรือได้รับไม่ครบ หรือไม่ให้ความสำคัญการรับโดสกระตุ้นอยู่จำนวนมาก บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนข้อมูลเกี่ยวกับการตอบสนองหลังการได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 โดสแรก, โดสที่ 2 และ โดสกระตุ้น และเพื่อทราบความสำคัญของการรับวัคซีนโดสกระตุ้น  โดยรวบรวมข้อมูลการศึกษาจากรายงานของหน่วยงานสาธารณสุขของไทยและเอกสารต่างประเทศที่เกี่ยวกับการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ SARS-CoV-2 หลังการได้รับวัคซีนแต่ละโดส ผลการศึกษาพบว่าส่วนใหญ่ร่างกายจะเริ่มสร้างภูมิต้านทานได้ตั้งแต่หลังการรับวัคซีนโดสแรก แต่แอนติบอดีที่เกิดขึ้นมีระดับไม่สูงและคงระดับอยู่ได้ไม่นาน หลังการได้รับวัคซีนโดสที่ 2 ส่วนใหญ่จะมีระดับแอนติบอดี้ที่สูงขึ้นและเพียงพอ แต่ระดับภูมิต้านทานก็จะเริ่มลดลงหลังจากนั้น 3-4 เดือน เพราะฉนั้นการรับวัคซีนโดสกระตุ้นในเวลาที่เหมาะสมจึงให้ประโยชน์ในแง่ของการเพิ่มระดับภูมิคุ้มกันต่อโรคให้สูงเพียงพอในการป้องกันและคงระดับอยู่ได้นานขึ้น จึงแนะนำให้รับวัคซีนอย่างน้อย 3 โดสโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุและผู้มีโรคประจำตัว ในสถานการณ์การระบาดที่ยังไม่สิ้นสุดและมีการกลายพันธุ์ของไวรัสที่สามารถหลบหลีกระบบภูมิต้านทานของร่างกายได้ จำเป็นที่จะต้องได้รับวัคซีนโดสกระตุ้นเกิน 1 โดส แม้ไม่สามารถป้องกันการติดโรคโควิด-19 ที่เกิดจากเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์ที่ใหม่กว่าได้ แต่วัคซีนยังคงมีประสิทธิภาพช่วยลดอาการป่วยที่รุนแรงและอัตราการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19ได้ จึงแนะนำเข้ารับวัคซีนอย่างน้อย 3 โดส และควรเป็นวัคซีนชนิด mRNA เนื่องจากพบการกระตุ้นการตอบสนองทางภูมิต้านทานที่สูงกว่า

References

สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สธ.ย้ำ ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น เข้มมาตรการ VUCA ช่วยลดผู้ป่วยหนักและเสียชีวิตจากโควิดหลังสงกรานต์ [อินเทอร์เน็ต] 2565. [สืบค้นเมื่อ7 มิ.ย. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/04/172773/

Our World in Data. Explore the global situation. [อินเทอร์เน็ต] 2021. [สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2565]. แหล่งข้อมูล: https://ourworldindata.org/coronavirus

ศูนย์ข้อมูลโควิด-19 กรมประชาสัมพันธ์. [อินเทอร์เน็ต]2564. [สืบค้นเมื่อ 1กรกฎาคม 2565]. แหล่งข้อมูล: https://www.facebook.com/informationcovid19/

อมร ลีลารัศมี. เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อ COVID-19 จากเชื้อไวรัส SARS-CoV-2. [อินเทอร์เน็ต] 2021. [สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2565]. แหล่งข้อมูล: https://tmc.or.th/covid19/download/pdf/tmc-covid19-19.pdf

แพรพรรณ ภูริบัญชา, อนุวัฒน์ ศรสมฤทธิ์ และยุวลี ฉายวงศ์. ระดับภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโควิด-19 หลังการฉีดวัคซีนในบุคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุข พื้นที่เขตสุขภาพที่ 7 และ 8. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน.2565;8(1):179-192.

รพีพรรณ รัตนวงศ์นรา มอร์ด. รามาชาแนล. ภาวะ Long COVID (ลองโควิด) เมื่อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไม่ได้อยู่กับคุณแค่สั้นๆ.[อินเทอร์เน็ต] 2021. [สืบค้นเมื่อ10พฤษภาคม 2565]. แหล่งข้อมูล: https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/ภาวะ-long-covid-ลองโควิด-เมื่อโรค/

Center for Systems Science and Engineering (CSSE) at Johns Hopkins University. COVID-19 Data Repository. [อินเทอร์เน็ต] 2021. [สืบค้นเมื่อ 1กรกฎาคม 2565]. แหล่งข้อมูล: https://github.com/CSSEGISandData/COVID-19

สำนักข่าว Hfocus. ตัวเลขป่วยหนักเสียชีวิตโควิดสูง ผลพวงจากติดเชื้อมาก แต่ระบบรับได้ มีเตียงว่างอีกกว่า 75%.[อินเทอร์เน็ต] 2022. [สืบค้นเมื่อ1 พฤษภาคม 2565]. แหล่งข้อมูล: https://www.hfocus.org/content/2022/03/24756

กองแผนงานวิชาการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการตรวจการติดเชื้อ Sar-CoV-2 (เชื้อก่อโรค Covid-19) ด้วยการตรวจแอนตี้บอดี้.[อินเทอร์เน็ต] 2021. [สืบค้นเมื่อวันที่ 11พฤษภาคม 2565]. แหล่งข้อมูล: https://www3.dmsc.moph.go.th/download/files/dmsc_sar.pdf

Elecsys Anti-Sar-CoV-2 Roche Diagnostics GmbH:Sandhofer Strasse 116 D-68305 Mannheim.[อินเทอร์เน็ต]2021.[สืบค้นเมื่อ 11พฤษภาคม 2565]. แหล่งข้อมูล: https://diagnostics.roche.com/global/en/products/params/elecsys-anti-sars-cov-2.html

ยง ภู่วรวรรณ. ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สรุปประสิทธิผลการกระตุ้นภูมิคุ้มกันโดยของวัคซีนโควิด-19 ในไทย.[อินเทอร์เน็ต]2564. [สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2565]. แหล่งข้อมูล: https://kinrehab.com/news/view/346/ และ https://kinrehab.com/news/view/346/

Amy Huxtable. New study finds strong immune response following Covid-19 vaccination. The Universities of Sheffield News. [อินเทอร์เน็ต]2021. [สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2565]. แหล่งข้อมูล: https://www.sheffield.ac.uk/news/new-study-finds-strong-immune-response-following-covid-19-vaccination

Fernando P. Polack, Stephen J. Thomas, Nicholas Kitchin, Judith Absalon, Alejandra Gurtman, Stephen Lockhart, John L. Perez, Gonzalo Pérez Marc, Edson D. Moreira, Cristiano Zerbini, Ruth Bailey, Kena A. Swanson, et al. Safety and efficacy of the BNT162b2 mRNA covid-19 vaccine. New England Journal of Medicine. 2020;383:2603-15.

Clalit study.Decreased infection in the corona due to the vaccine. [อินเทอร์เน็ต]2021. [สืบค้นเมื่อ14 พฤษภาคม 2565]. แหล่งข้อมูล: www.clalit.co.il/he/your_health/family/Pages/pfizer_covid_vac_effect.aspx.

Elisabeth Mahase. Covid-19: Reports from Israel suggest one dose of Pfizer vaccine could be less effective than expected. BMJ 2021;372:n217(1) [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2565]. แหล่งข้อมูล: https://www.bmj.com/content/372/bmj.n217

Cyra Patel, Jean Li-Kim Moy and Robert Booy. Should I get my COVID vaccine booster? Yes, it increases protection against COVID, including Omicron. The Conversation Academic Rigour Jornalist Flair. [อินเทอร์เน็ต] 2021. [สืบค้นเมื่อ7 มิถุนายน 2565]. แหล่งข้อมูล: https://theconversation.com/should-i-get-my-covid-vaccine-booster-yes-it-increases-protection-against-covid-including-omicron-172965

Delphin Penas,Devid Veyer, Artem Baidaliuk, sabelle Staropoli, Florence Guivel-Benhassine Maaran Michael Rajah, et al. Reduced sensitivity of SARS-CoV-2 variant Delta to antibody neutralization. Nature 2021;596:276-80.

Watsamon Jantarabenjakul, Napaporn Chantasrisawad, Thanyawee Puthanakit, Supaporn Wacharapluesadee, Nattiya Hirankarn, Vichaya Ruenjaiman, et al. Short-term immune response after inactivated SARS-CoV-2 (CoronaVac®, Sinovac) and ChAdOx1 nCoV-19 (Vaxzevria®, Oxford-AstraZeneca) vaccinations in health care workers. Asian Pacific Journal of Allergy and Immunology 2021;10.12932:250721-1197.

วชิราภรณ์ อรุโณทอง, นิภาวรรณ เจตตวัน, มลฑล มายูร, ธัญธิวา บุญพิศิษฐสกุล, สุรินทร์ จันทรต๊ะ. การศึกษาระดับภูมิคุุมกัน ในผู้ที่ได้รับวัคซีน CoronaVac ครบ 2 โดส และปัจจัยที่มีผลต่อระดับภูมิคุ้มกัน. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2564;63:743-52.

แถลงการณ์สถาบันวัคซีนแห่งชาติ. เรื่องความจำเป็นของการได้รับวัคซีนโควิด-19 เข็มกระตุ้น [อินเทอร์เน็ต]2565. [สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2565]. แหล่งข้อมูล: http://www.nvi.go.th/index.php/files/large/c3dba8d3ec5130e

Jen Christensen. Booster dose side effects were similar to second dose, with brief, mild-to-moderate effects, study says. [อินเทอร์เน็ต]2565. [สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2565]. แหล่งข้อมูล: https://edition.cnn.com/2021/09/29/health/booster-side-effects-study-wellness/index.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-12