ประสิทธิผลการประยุกต์แนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการลดภาวะโรคอ้วนของบุคลากรโรงพยาบาลสุโขทัย อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย

ผู้แต่ง

  • ณินญาภร ใจยอด
  • อนุกูล มะโนทน

คำสำคัญ:

โปรแกรมประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ , ภาวะโรคอ้วน , พฤติกรรม

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบกึ่งทดลองแบบศึกษาสองกลุ่ม วัดผลก่อน-หลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการลดภาวะโรคอ้วนของบุคลากรในโรงพยาบาลสุโขทัย อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคอ้วน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงโดยใช้เกณฑ์คัดเข้าคัดออกได้ขนาดตัวอย่างเท่ากับ 68 คนต่อกลุ่ม เป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 34 คน และกลุ่มเปรียบเทียบจำนวน 34คน โดยใช้วิธีจับฉลากคัดเลือกเข้ากลุ่ม กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t – test)

            ผลการวิจัยพบว่า ค่าคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วน การรับรู้เกี่ยวกับโรคอ้วน ได้แก่การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน การรับรู้ความรุนแรงของการเกิดโรคอ้วน การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันโรคอ้วน การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคอ้วน การรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันโรคอ้วน และพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วน ก่อนและหลังทดลอง ในกลุ่มทดลองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) เมื่อเปรียบเทียบค่าคะแนนระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบภายหลังการทดลอง ค่าคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วน (p-value =0.001) การรับรู้เกี่ยวกับโรคอ้วนได้แก่การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน (p-value =0.001)   การรับรู้ความรุนแรงของการเกิดโรคอ้วน (p-value =0.834)  การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันโรคอ้วน (p-value =0.001)  การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคอ้วน (p-value =0.001)  การรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันโรคอ้วน (p-value =0.001)  และพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วน(p-value =0.001)  มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) แต่การรับรู้ความรุนแรงของการเกิดโรคอ้วน ไม่มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) ค่าดัชนีมวลกายของกลุ่มทดลอง ก่อนและหลังการทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) ผลของการจัดโปรแกรมประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ  มีผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการลดภาวะโรคอ้วนของบุคลากรโรงพยาบาลสุโขทัย

References

World Health Organization. Cardiovascular diseases [internet].2017 [cited 2019 Jan 19]. Available from https://www. who.int/en/news-room/fact-heets/detail/cardiovascular-(cvds).

World Health Organization. Global strategy on diet, physical activity and health [Internet]. 2018 [cited 2018 Oct 1]. Available from: http://www.who.int/dietphysicalactivity/ factsheet_adults/en/.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.รายงานประจำปี 2558.รายงานประจำปี 2558 กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

ปิยะสกล สกลสัตยาทร,ประชุมมหกรรมสุขภาพด้านโรคไม่ติดต่อ. Available from: https:// www.hfocus.org/content/2018/08/16157. (in Thai),2561.

Thai Health Promotion Foundation. How to exercise [internet]. 2021 [cited 2021 Oct 30]. Availablefrom:http://www.thaihealth.or.th/Content/26616%E0%B8%AD%E0%B8%A%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B5%20. html. (in Thai)

กรมสุขภาพจิต.ออกกำลังกาย คำนวณอย่างไรเพื่อผลต่อการทำงานหัวใจ. กรุงเทพ: ม.ป.ท,2563.

โรงพยาบาลสุโขทัย.รายงานประจำปี.เอกสารสรุปรายงานประจำปี 2561 โรงพยาบาลสุโขทัย,2561.

จุฬาวรรณ วิสภา, วันธณี วิรุฬพานิช และ พิสมัย วัฒนสิทธิ์.ผลของโมบายแอปพริเคชันการควบคุมน้ำหนักต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร กิจกรรมทางกาย และน้ำหนักตัวในวัยรุ่นที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. วารสารพยาลาลตำรวจ 2563 ; 12(1), 73-85,2563.

ปวีณา ศิริโชติ .ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตามนโยบายลดพุงลดโรคด้วยหลัก 3 อ. ของบุคลากรโรงพยาบาลนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา,2560.

จิรนันท์ ช่วยศรีนวล, ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์ และสมเกียรตยศ วรเดช.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางสุขภาพต่อการป้องกันโรคอ้วนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2563 ; 6(1), 2-33,2563.

สุกัญญา คณะวาปี และ เกศินี สราญฤทธิชัย โปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ ร่วมกับโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพต่อการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคอ้วนในเด็กวัยเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2565 ; 8(2), 105-118,2565.

Rosenstock, I. M. Historical origins of the Health Belief Model. in The Health belief model and personal behaviors. New Jersey: Charle B. Slack,1947.

วิไลรัตน์ บุญราศี.แบบแผนความเชื่อและพฤติกรรมสุขภาพของพนักงานโรงไฟฟ้าแม่เมาะที่มีภาวะอ้วนลงพุง. การค้นคว้าอิสระ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2560.

Strecher, V. J., and Rosenstock, I. M. The Health Belief Model. In Health behavior and health education: Theory, research, and practice. (2nd ed.). San Francisco: Jossey-Bass,1977.

ภัทราพร ชูศร. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะอ้วนลงพุงในวัยทำงาน (15-59ปี)อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโภชนศาสตร์เพื่อสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น,2562.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-10