การสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรุงเทพ ประจำปีงบประมาณ 2564
คำสำคัญ:
ความพึงพอใจ, การรับบริการโรงพยาบาล, สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีบทคัดย่อ
สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ เป็น Excellent center ในการรักษาและรับส่งต่อผู้ป่วยเด็กที่มีความยุ่งยากซับซ้อน ความพึงพอใจและความคาดหวังของผู้มารับบริการเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาการบริการ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ประจำปีงบประมาณ 2564 วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและประเมินความพึงพอใจต่อการให้บริการด้านต่างๆ และ ความพึงพอใจต่อการรับบริการจากแผนกบริการต่างๆที่สัมพันธ์กับสิทธิการรักษาพยาบาลและกลุ่มผู้รับบริการ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 17,563 ราย แบบสอบถามที่ใช้ในการวิเคราะห์ เป็นแบบสอบถามที่ศูนย์พัฒนาคุณภาพใช้เพื่อสอบถามความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มารับบริการจากหน่วยงานต่างๆ ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป ระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการในด้านต่างๆ และ แบบสอบถามข้อเสนอแนะแบบปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติเชิงพรรณาและเชิงอนุมานทำการทดสอบความสัมพันธ์ ได้แก่ t-test และ one-way ANOVA และ การวิเคราะห์เนื้อหาข้อเสนอแนะและความคิดเห็นอื่นๆ (content analysis) ตามลำดับ ผลลัพธ์: ความพึงพอใจของผู้รับบริการในแต่ละด้านอยู่ในระดับมากที่สุด สิทธิการรักษาพยาบาลที่แตกต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการให้บริการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในทุกๆด้าน และกลุ่มผู้รับบริการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในทุกๆด้าน ประเด็นข้อเสนอแนะ พบว่า ประเด็นด้านสถานที่มากที่สุด คิดเป็น ร้อยละ 58.66 ประเด็นรองลงมาประเด็นด้านบุคลากร คิดเป็นร้อยละ 39.29 และประเด็นด้านระยะเวลา คิดเป็นร้อยละ 9.05 ตามลำดับ สรุป: ความสำคัญของความคิดเห็นของผู้รับบริการ ชี้ให้เห็นถึงปัญหาอันแท้จริงของระบบการบริการ และจำเป็นต้องมีการแก้ไขปรับปรุง เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้รับบริการในครั้งถัดไป ผลที่ได้นั้นจะเป็นประโยชน์ และเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบการให้บริการของสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
References
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. พัฒนาระบบบริการสุขภาพ แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 2561; 1:60
พรชัย ดีไพศาลสกุล. (2557). ความคาดหวังและการรับรู้ของผู้รับบริการต่อคุณภาพบริการโรงพยาบาล. วารสาร Veridian E-Journal,Silpakorn University, 6 (1), 573-592.
จิตตินันท์ เดชะคุปต์. (2549). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจิตวิทยาบริการ.เอกสารการสารชุดวิชาจิตวิทยาการบริการเล่มที่ 1 หน่วยที่ 1-7 นนทบุรีสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2540 หน้า 7.
สุนทรียา คำทูล. (2552). การสำรวจความพึงพอใจและทัศนคติของผู้มาใช้บริการกรณีศึกษา: โรงพยาบาลอ่าวอุดมอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารเทคโนโลยี วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Wayne WD 1995. Biostatistics: A foundation of analysis in health sciences. 6th ed. New York: John Wiley and Sons .
Wade M Vagias, editor. Likert-type scale response anchors. Clemson International Institute for Tourism & Research Development. Department of Parks. Recreation and Tourism Management: Clemson University;2006.
Best JW. Research in Education. 3rd ed. Engle wood Clift, New Jersey: Practice Hall, Inc; 1977.