ความสัมพันธ์ความระหว่างความรู้ ความรอบรู้ด้านสุขภาพทางโภชนาการ พฤติกรรมสุขภาพ ลักษณะส่วนบุคคลกับภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนของอาสาสมัครสาธารณสุข ที่อยู่ในความรับผิดชอบของศูนย์แพทย์โรงพยาบาลขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • กิติโรจน์ นวนบุญ
  • รุจิรา ดวงสงค์

คำสำคัญ:

ภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน, ความรอบรู้ด้านสุขภาพทางโชนาการ, พฤติกรรมสุขภาพ

บทคัดย่อ

                อาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม) เป็นผู้นำชุมชนด้านสาธารณสุข อสม.จำเป็นต้องมีความรอบรู้สุขภาพและมีพฤติกรรมสุขภาพเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ประชาชนการวิจัยครังนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Descriptive Research Cross-sectional study)  โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน  ความรอบรู้ด้านสุขภาพลักษณะส่วนบุคคล พฤติกรรมสุขภาพของ อสม.ที่อยู่ในความรับผิดชอบของศูนย์แพทย์ (หน่วยบริการปฐมภูมิ) โรงพยาบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น   กลุ่มตัวอย่างจำนวน 218 คน คน การรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม  การวิเคราะห์ปัจจัยส่วนบุคคลด้วยสถิติพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด สถิติเชิงอนุมาณใช้สถิติการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation )  

               ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีภาวะอ้วนร้อยละ 69.7 (152 คน) รายได้มากที่สุด ต่ำกว่า 5,000 บาท สถานะทางการเงิน ส่วนใหญ่ไม่พอใช้และมีหนี้สิน ร้อยละ 69.3 (151 คน) การปฏิบัติงาน อสม. ส่วนใหญ่ 1-3 ปี ร้อยละ 64.7 (141 คน) ความรู้เกี่ยวกับภาวะอ้วนส่วนใหญ่มีระดับ สูงร้อยละ 83 (181คน) ความรอบรู้ด้านสุขภาพทางโภชนาการส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 56 (122 คน) พฤติกรรมสุขภาพส่วนใหญ่อยู่ในระดับพอใช้ร้อยละ 66.1 (144 คน)  พฤติกรรมรับประทานอาหารส่วนใหญ่ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ร้อยละ 51.8 (113 คน) รองลงมาไม่รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ทอดมัน ไก่ทอด ฯลฯ ร้อยละ 48.6 (106 คน)   ส่วนการออกกำลังกายส่วนใหญ่ออกกำลังกายสม่ำเสมอร้อยละ  82.1 (130 คน) ความสันพันธ์ตัวแปรที่สัมพันธ์กับภาวะอ้วนและโภชนาการเกิน ได้แก่ สถานะทางการเงินมีความสันพันธ์เชิงบวก (r=.141, P<.05) ระยะเวลาการทำงานเป็นอสม.มีความสันพันธ์เชิงลบ (r= -0.137, P<0.05)  และความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการเกินและอ้วน ความสันพันธ์เชิงลบ-(r=-0.157, P<0.05)

             ข้อเสนอแนะ จากการศึกษาพบว่า อสม.ส่วนใหญ่นอนดึก (หลังเที่ยงคืน) ร้อยละ 72 และดื่มน้ำหวาน ดื่มชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จำนวนมากและไม่คิดเลิกดื่ม ร้อยละ 64.3 ส่งผลทำให้มีภาวะอ้วนและน้ำหนักเกิน  ควรมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนักแก่ อสม.

References

คณะกรรมการอํานวยการจัดทําแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบบที่ 12 กระทรวงสาธารณสุข (2559).แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). ค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2565.จาก https://anamai.moph.go.th/ pdf.

ดวงพรสาราญรมณ์ หรือพิมพ์อุไร ลิมปพัทธ์.การรับรู้ต่อการป้องกันโรคอ้วนของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเอกชน.วารสารมนุษยศาสตร์หรือสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 2 :15-24,2561.

ปรางค์ จักรไชย อภิชัย คุณีพงษ์ วรเดช ช้างแก้ว.ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในทีมหมอครอบครัว จังหวัดปทุมธานี. วารสารพยาบาลสาธารณสุข.ปีที่ 31 ฉบับที่ 1 :16-28,2560.

พิมผการ์ ยาโน,ณัฐิดา จินราช วัชราพร พวงไพรพฤกษ์,ประภัสรา สุวรรณ, อารีย์ จอแยส านักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.พฤติกรรมที่มีความสัมพันธ์ต่อการดูแลสุขภาพตนเองของอสม.ในเขตเทศตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 : 61-69,2562.

ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์หรือสาธารณสุข(Health Data Center[HDC]).(2564). ร้อยละของประชากรวัยทำงานอายุ 18-59 ปี มีค่าดัชนีมวลกายภาวะโภชนาการเกินหรืออ้วน ค้นเมื่อ 16 ตุลาตม 2564, จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php/. โรงพยาบาลขอนแก่น.(2563). รายงานประจำปี 2562. เอกสารสำเนา.

วิไล กุศลวิศิษฎ์กุล.การสุ่มตัวอย่าง ทฤษฎีหรือการประยุกต์.ภาควิชาสถิติ. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล,2528.

Center for Disease Control and Prevention [CDC] (2021). Overweight & Obesity. Retried on 14 th March from https://www.cdc.gov/obesity/adult/defining.html. . Retried World Health Organization [WHO]. (2021). Obesity and overweight . Retried on 10 th March from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/obesity-and-overweight.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-10