รูปแบบการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ธนศักดิ์ ธงศรี -

คำสำคัญ:

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)

บทคัดย่อ

      

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภอม่วงสามสิบ กลุ่มตัวอย่างเป็นคณะกรรมการ พชอ. อำเภอม่วงสามสิบ 21 คน ตัวอย่างในการประเมินผลฯ เป็น พชอ. พชต. และภาคีเครือข่าย 50 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสนทนากลุ่ม แบบประเมินเกณฑ์การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

         ผลการศึกษาพบว่า  รูปแบบการดำเนินงานป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยกลไก พชอ. อำเภอม่วงสามสิบ ประกอบด้วย 6 กิจกรรม คือ1 ) การวิเคราะห์สถานการณ์ 2) กำหนดมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 3) พัฒนาทักษะองค์ความรู้ 4) ดำเนินการขับเคลื่อนการดำเนินงาน 5) ติดตามเยี่ยมเสริมพลัง 6) เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยกลไก พชอ. อำเภอม่วงสามสิบ พบว่า มีการสร้างเป้าหมายร่วมกัน มีการวางแผนเชิงกลยุทธ์ การรับฟังและรวบรวมความคิดเห็นของประชาชน มีแผนการพัฒนาบุคลากร มีการสร้างนวัตกรรมโครงการหมู่บ้านสีฟ้า ผลลัพธ์การดำเนินการพบว่าบรรลุเป้าหมาย คือ 1) ประชาชนได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ครอบคลุมตามเกณฑ์ที่กำหนด 2) ประชาชนที่ป่วยด้วยโรคโควิด-19ได้รับการรักษา ร้อยละ 100 2) ชุมชนมีกฎ กติกา ในการปฏิบัติร่วมกันทุกหมู่บ้าน (ธรรมนูญตำบล) 3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถป้องกันควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างยั่งยืน ความพึงพอใจของผู้รับการบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยรวมอยู่ในระดับมาก (  = 3.84,S.D.=0.69) ปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ Muangsamsip การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ สามัคคี เป็นเอกภาพ วิเคราะห์ข้อมูลต่อสม่ำเสมอ เครือข่ายเข้มแข็ง มีต้นแบบที่ดี กลยุทธ์เข้มแข็ง Application ที่ทันสมัย งบประมาณ การสนับสนุนทางสังคม การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และการมีส่วนร่วมของชุมชน

References

เอกสารอ้างอิง

ภูดิท เตชาติวัฒน์ และคณะ. การสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ. นครปฐม : สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล; 2564.

สำนักงานเลขานุการ พชอ. อำเภอม่วงสามสิบ. รายงาน พชอ. อำเภอม่วงสามสิบ ปี 2565. อุบลราชธานี :ม่วงสามสิบ; 2565.

WHO. (2018). Declaration of Astana: global conference on primary health care. Retrieve from: gcphc-declaration.pdf (who.int).

สัญญา เคณาภูมิและคณะ. (2562). ตัวแบบทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปสู่การปฏิบัติ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น; 2562: 3(1), 95-115.

กานตชัชพิสิฐ คงเสถียรพงษ, ศิวิไลซ วนรัตนวิจิตร. คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอําเภอ: ความทาทาย และการพัฒนา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ [อินเตอรเน็ต]. 2564 [เขาถึงเมื่อ 23 ตุลาคม 2565]; 13(2):275–86.จาก: https://he01.tcithaijo.org

จันทร์ชนะสอน สําโรงพล, สุไวย์รินทร์ ศรีชัย และภัทรพล โพนไพรสันต์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคการติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19)ในครัวเรือนของกลุ่มวัยทํางานในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลบ้านเสือเฒ่า อําเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม; 2565; 8 (4), 85-105.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. บทบาท พชอ.อำเภอผนึกพลังชุมชน ลงพื้นที่ให้ความรู้สกัดโควิด-19 อยู่หมัด[อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 25 ตุลาคม 2565]. จาก: https://resourcecenter.thaihealth.or.th

ธีระพงษ์ ทศวัฒน์ และ ปิยะกมล มหิวรรณ. การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางสังคมของประชาชนและการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19). วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์; 2563 : 7(9), 40-55.

การวิจัยการวิจัยถอดบทเรียนการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุข ภาคตะวันออกเฉียงเหนือประเทศไทย. สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข ;2564.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-07