การพัฒนารูปแบบการรับและส่งต่อผู้ป่วยโรคเรื้อรังโดยใช้เครือข่ายสุขภาพร่วมกับระบบการแพทย์ทางไกล อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • วีระชณ ทวีศักดิ์

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง, เครือข่ายสุขภาพ, การรับและส่งต่อ, ระบบการแพทย์ทางไกล

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการรับและส่งต่อผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโดยใช้เครือข่ายสุขภาพร่วมกับระบบการแพทย์ทางไกล อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นทีมสหวิชาชีพผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบการรับและการส่งต่อผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน 40 คน ตัวอย่างในการประเมินผลการพัฒนารูปแบบฯ เป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรัง/ญาติ จำนวน 30 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม 2) ระบบ Telemedicine  และ 3) แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบลำดับพิสัยวิลคอกซอล (Wilcoxon’s Signed Rank Test) และการวิเคราะห์เนื้อหา

            ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโดยใช้เครือข่ายสุขภาพร่วมกับระบบการแพทย์ทางไกล อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ประกอบด้วย 4 กิจกรรม 1) การประชุมทางไกล 2) การปรึกษาแพทย์ทางไกล 3) การศึกษาทางไกลเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากร และ 4) ระบบเชื่อมเครือข่ายข้อมูลและโทรศัพท์ เพื่อ  4.1) สื่อสารระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย 4.2) ประสานการรับและส่งต่อผู้ป่วย 4.3) การตรวจสอบข้อมูลผู้ป่วย 4.4) การประเมินผู้ป่วยการรับ/การส่งต่อผู้ป่วย รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสม เป็นไปได้ และเป็นประโยชน์ระดับมาก (Mean= 4.75, SD=0.87) ความพึงพอใจของผู้ให้บริการดีขึ้นกว่าก่อนการพัฒนารูปแบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กลุ่มผู้ให้บริการ มีความพึงพอใจต่อรูปแบบ ดีขึ้นกว่าก่อนการพัฒนารูปแบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Z =6.32,P<0.05) ส่วนความพึงพอใจของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง/ญาติ  อยู่ในระดับมากและมากที่สุด ร้อยละ  86.36 ผลลัพธ์ คือ  ผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันได้รับการส่งต่อ ร้อยละ 100 ข้อเสนอแนะจากงานวิจัย ควรขยายระบบการรับและการส่งต่อผู้ป่วยโรคเรื้อรังด้วยระบบ Telemedicine เพื่อลดความแออัดของผู้ป่วยในโรงพยาบาลแม่ข่าย

References

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. รายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การบริการสุขภาพปฐมภูมิ (Primary Health Care) ของคณะอนุ กรรมาธิการศึกษาและติดตามระบบบริการ สุขภาพปฐมภูมิ ที่มีต่อประชาชน ในคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา; 2563.

ไพศาล มุณีสว่าง. รายงานโครงการพัฒนาต้นแบบของเทคโนโลยีที่ช่วยในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินทางไกลในชนบทโดยผ่านเครือข่ายดิจิทัลความเร็วสูง.[อินเตอร์เน็ต].,มปป. [เข้าถึงเมื่อ 30 มีนาคม 2565] เข้าถึงได้จาก http://nuradio.nu.ac.th/?p=4096.

World Health Organization. A health telematics policy: Report of the WHO Group consultation on Healthtelematics Geneva, 11–16 December 1997; 1998.

World Health Organization. Telemedicine: Opportunities and developments in Member States: report on the second global survey one Health 2010. Retrieved November 16, 2022, from http://www.who.int/goe/publications/goe_telemedicine

Wu, F., Zhao, S., Yu, B. et al. A new coronavirus associated with human respiratory disease in China. Nature 579,265269(2020).https://doi.org/10.1038/s41586020-2008-3

วิภาวัณย์ อรรณพพรชัย และชวภณ กิจหิรัญกุล. การประยุกต์ใช้ระบบการแพทย์ทางไกลเพื่อการพัฒนาคุณภาพการให้บริการทางการแพทย์ ฉุกเฉินทางไกลในชนบท. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์;2564: 7(3), 12-23.

บุญใจ ศรีสถิตนรากูร, 2555) การพัฒนาและ ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย : คุณสมบัติการ วัดเชิงจิตวิทยา, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2555.

ดาราวรรณ รองเมือง และคณะ. การพัฒนาระบบแพทย์ทางไกลเพื่อการดูแลรักษาผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง บทเรียนจากระบาดของโควิด-19. นนทบุรี :สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข;2563.

Darkins, A. William, & Cary, M. Ann. Telemedicine and telehealth : principles, policies, performance, and pitfalls.New York: Springer Pub. Co;2000.

วรรณภา กรีทอง การพัฒนาระบบการบริหารการรับ และการส่งต่อผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพ แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ; 2559 : 12 (1), 23-36.

อรพรรณ คงมาลัย และวสันต์ ใจวงศ์. ศึกษาการยอมรับและการนำระบบโทรเวชกรรมเข้าไปใช้กับกระบวนการสาธารณสุขในพื้นที่ห่างไกล กรณีศึกษา : โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเชียงของจังหวัดเชียงราย.วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ.; 2560 : 40 (4), 641-650.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-10