ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของบุคลากรมหาวิทยาลัยพะเยา
คำสำคัญ:
ความฉลาดทางสุขภาพ, พฤติกรรมการป้องกันโรค, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, บุคลากรมหาวิทยาลัยพะเยาบทคัดย่อ
บุคลากรของมหาวิทยาลัยต้องปฏิบัติงานใกล้ชิดกับนิสิตจำนวนมาก หากพฤติกรรมการป้องโรคไม่เหมาะสมจะส่งเสริมทำให้เกิดการระบาดของโรคในสถานศึกษา ดังนั้นการวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของบุคลากรมหาวิทยาลัยพะเยา กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรมหาวิทยาลัยพะเยาจำนวน 353 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นบุคลากรสายวิชาการ (ร้อยละ 50.7) เพศหญิง (ร้อยละ 62.3) อายุอยู่ระหว่าง 30 – 39 ปี (ร้อยละ 51.8) เงินเดือนเฉลี่ยระหว่าง 20,000–39,999 บาท (ร้อยละ 58.1) สถานภาพสมรส มีคู่ (ร้อยละ 60.9) การศึกษาระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 32) ไม่มีโรคประจำตัว (ร้อยละ 88.4) ได้รับข้อมูลข่าวสารทางด้านสุขภาพผ่านสื่อสังคม (ร้อยละ 93.5) เกี่ยวข้องกับบุคคลในพื้นที่เสี่ยงจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ร้อยละ 50.1) ความฉลาดทางสุขภาพรายด้านอยู่ในระดับสูง พฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อยู่ในระดับสูง ปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 คือ ความฉลาดทางสุขภาพด้านด้านการจัดการเงื่อนไขทางสุขภาพ ด้านการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศทางสุขภาพ ด้านการตัดสินใจเลือกปฏิบัติทางสุขภาพ และด้านการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ ดังนั้น มหาวิทยาลัยพะเยาควรพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความฉลาดทางสุขภาพซึ่งจะจะช่วยพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ถูกต้องต่อไป
References
เอกสารอ้างอิง
สุรัยยา หมานมานะ, โสภณ เอี่ยมศิริถาวร, สุมนมาลย์ อุทยมกุล. “โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19),” วารสารสถาบันบำราศนราดูร 14(2) : 124-33 ; พฤษภาคม-สิงหาคม, 2563.
ตวงพร กตัญญุตานนท และคณะ. “ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของ นักศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ” วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉลียวเฉลิมพระเกียรติ 7(1) : 8-20 ; มกราคม-มิถุนายน, 2564.
จิระภา ขำพิสุทธิ์. “ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 ของนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น,” วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 7(4) : 17-28 ; ตุลาคม-ธันวาคม, 2564.
กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา. รายงานสถิติจำนวนนิสิตปจจุบัน จำแนกตามคณะ, สาขาวิชา, หลักสูตร ออนไลน์ สืบค้นจาก http://reg.up.ac.th/app/rpt/rpt_std_present /preview/all , 2564
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา, ออนไลน์ สืบค้นจาก https://www.pyomoph.go.th /index.php?p=services, 2564.
มหาวิทยาลัยพะเยา (2564) ประกาศมหาวิทยาลัยพะเยาเรื่องการปิดทำการชั่วคราวเนื่องด้วยดารระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 (Coronavirus Disease 2019(COVID-19) ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2564
กองการเจ้าหน้าที่ มหาวิทยาลัยพะเยา (2564) สรุปอัตรากำลัง บุคลากร ของมหาวิทยาลัยพะเยาปี 2563 ออนไลน์ สืบค้นจาก https://personnel.up.ac.th/Report.aspx?fbclid=IwAR1bf7im70BauNBIx1 aZJL-LgOUlVYTDHUY7Uot_-nXXT4Mpch4YV1OxLrQ, 2564.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. “Determining sample size for research activities”. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610, 1970.
Nutbeam, D., “Health literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century.” Health Promotion International, 15(3), 259–267, 2000.
Best, J. W., Research in education. New jersey: Prentice-Hall, 1981.
Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.
Cronbach, L. J. Essentials of psychological testing. (5th ed). New York : Harper Collins Publishers. Pp.202-204, 1990.
World Health Organization.Health Literacy and Health Promotion. Definitions, Concepts and Examples in the Eastern Mediterranean Region. Individual Empowerment Conference Working Document. 7th Global Conference on Health Promotion Promoting Health and Development. Nairobi, Kenya, 2009.
วิจิตตรา หน่อแก้ว, ประจวบ แหลมหลัก และน้ำเงิน จันทรมณี. “ความสัมพันธ์ของความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคติดเชือไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน อําเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา”. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 10(1) : 1-20 ; มกราคม-มีนาคม, 2565.