การประเมินการใช้ยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ กลุ่ม selective cyclooxygenase-2 inhibitors ในโรงพยาบาลสกลนคร
คำสำคัญ:
การประเมินการใช้ยา, Selective cox-2, Celecoxib, Etoricoxibบทคัดย่อ
ยากลุ่ม selective cyclooxygenase-2 inhibitors (selective cox-2) มีความนิยมและมีมูลค่าการใช้ยาที่สูง เนื่องจากประสิทธิภาพของยาที่ลดปวดได้เร็ว และมีผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหารน้อย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการประเมินการใช้ยาที่มีต่อความเหมาะสมของการใช้ยาในกลุ่ม selective cox-2 เปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังมีโปรแกรมประเมินการใช้ยา ใช้รูปแบบการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง (Retrospective descriptive study) ด้วยการทบทวนเวชระเบียนแฟ้มข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จากผู้ป่วยนอกที่ได้รับยาในกลุ่ม selective cox-2 ณ โรงพยาบาลสกลนคร ในช่วงก่อนมีการประเมินการใช้ยาระหว่างเดือนกรกฎาคม – ธันวาคม พ.ศ. 2563 และช่วงหลังมีการประเมินการใช้ยาระหว่างเดือนกรกฎาคม – ธันวาคม พ.ศ. 2564 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบที และสถิติไคสแควร์ กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการศึกษาพบว่าจากใบสั่งยา Celecoxib ทั้งหมด 785 ใบสั่งยา แบ่งเป็นช่วงก่อนมีการประเมินการใช้ยาและช่วงหลังมีการประเมินการใช้ยา ผลการวิเคราะห์พบว่าร้อยละของใบสั่งยาที่สั่งใช้ยาเหมาะสมมีมากขึ้นจากเดิมร้อยละ 49.41 เป็น 64.72 ตามลำดับ (p<0.001) และจากใบสั่งยา Etoricoxib ทั้งหมด 675 ใบสั่งยา ทำการวิเคราะห์แล้วพบว่าร้อยละใบสั่งยาที่สั่งใช้ยาเหมาะสมมีมากขึ้นจากเดิมร้อยละ 55.27 เป็น 70.63 ตามลำดับ (p<0.001) สรุปผลการศึกษาพบว่าการมีโปรแกรมการประเมินการใช้ยามีแนวโน้มช่วยเพิ่มความเหมาะสมในการสั่งใช้ยา และช่วยลดมูลค่าการใช้ยาที่เกินความจำเป็นลงได้
References
คณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล. คู่มือการดำเนินงานโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2558.
Horl WH. Nonsteroidal anti-inflammatory drugs and the kidney. Pharmaceuticals. 2010; 3: 2291-2321.
Koncicki HM, Unruh M, and Schell JO. Pain management in CKD: a guide for nephrology providers. Am J Kidney Dis. 2017; 69: 451-460.
GA., Fitzgerald. Coxibs and Cardiovascular Disease. N Engl J Med. 2004; 351(17): 1709-1711.
สุพล ลิมวัฒนานนท์, จุฬาภรณ์ ลิมวัฒนานนท์, และศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย. ค่าใช้จ่ายและการใช้ยาของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาจากโรงพยาบาล: ผลกระทบของนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. 2547.
อภิรักษ์ วงค์รัตนชัย, และอิสรีย์ โพนอินทร์. ผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดของยากลุ่ม COX -2 Inhibitors. Naresuan University Journal. 2006; 14(3): 73-81.
World Health Organization. Drug and therapeutics committees-a practical guide [online]. 2003 [cited Nov 5, 2022]. Available from: apps.who.int/medicine docs/pdf/s4882e/s4882e.pdf
เยี่ยมรุ้ง วงศ์กำแหง, มาลี โรจน์พิบูลสถิตย์, ณัฐาศิริ ฐานะวุฑฒ์, และวิบูล วงศ์ภูวรักษ์. รูปแบบการสั่งจ่ายยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ในผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมของโรงพยาบาลทั่วไปในสังกัดกระทรวงกลาโหม. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2563; 12(3), 826-837.
สมคิด เลิศสินอุดม. การทบทวนการใช้ COX-2 specific Non-steroidal antiinflammatory drugs ในแผนกผู้ป่วยนอกออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น. วารสารประสาทวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 2560; 17(1), 15-32.
จิดาภา ลอยเดือนฉาย. การประเมินการใช้ยากลุ่ม selective cyclooxygenase-2 inhibitors ในโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี). 2554; 3(5), 30-39.
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข.ข้อความเตือนตามกฎหมายของยากลุ่ม selective COX2 inhibitor (COXIB) และ NSAIDs. August 23, 2007. [online]. Available: URL: http://www.fda.moph.go.th/ News50/cox2.pdf. Accessed February 11,2012.
วรรณี กีรติเตชากร, และปริญดา พีรธรรมานนท์. การประเมินการใช้ยา Celecoxib ในโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. ข่าวสารด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ. 2547; 7-10.
Shemilt, K., Airley, R., and Clareburt, C. An Evaluation of the Impact of NICE Guidelines Regarding COX-2 Selective Inhibitors on GP Prescribing. The International Journal of Pharmacy Practice. 2022.
อัญชลี เพิ่มสุวรรณ และวรรณดี แต้โสตถิกุล. การทบทวนอย่างเป็นระบบของงานวิจัย การประเมินการใช้ยาในประเทศไทย. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2522.