การพัฒนารูปแบบอภิบาลระบบสุขภาพเพื่อป้องกันควบคุมโรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำ ภายใต้วิถีชีวิตใหม่ อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • วิทยา ศรแก้ว -
  • วรพจน์ พรหมสัตยพรต
  • เทอดศักดิ์ พรหมอารักษ์

คำสำคัญ:

รูปแบบอภิบาลระบบสุขภาพ, การป้องกันควบคุมโรค, โรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำ, วิถีชีวิตใหม่

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีรูปแบบเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบอภิบาลระบบสุขภาพเพื่อการป้องกันควบคุมโรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำ ภายใต้วิถีชีวิตใหม่ อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ดำเนินการศึกษา ตั้งแต่ เดือนกรกฎาคม 2565 – มกราคม 2566 กลุ่มเป้าหมาย คือ เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องและประชาชน 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) ศึกษาบริบทพื้นที่และสถานการณ์ 403 คน (2) พัฒนารูปแบบ 39 คน และ (3) ประเมินผลการพัฒนารูปแบบ 65 คน สุ่มตัวอย่างแบบ Systematic sampling เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ Mean, S.D., Paired T-test, One Sample T-test และ Content analysis ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการพัฒนารูปแบบ มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ศึกษาบริบทพื้นที่และสภาพปัญหาชุมชน (2) วางแผนร่วมกับชุมชน (3) ดำเนินการตามแผน (4) สังเกตและติดตามผลร่วมกับชุมชน และ (5) สะท้อนผลและถอดบทเรียนจากชุมชน รูปแบบที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 10 มิติ (CHANG KLANG: ช้างกลาง) ได้แก่ (1) Community participation การมีส่วนของชุมชน (2) Health information technology ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ (3) Active response and management ตอบโต้ภาวะฉุกเฉินได้ทันเวลา และดูแลรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ (4) New normal ดำเนินงานภายใต้วิถีชีวิติใหม่ (5) Governance การอภิบาลระบบสุขภาพที่ดี มีความเป็นธรรม (6) Knowledge management and innovation จัดการความรู้ส่งเสริมการผลิตนวัตกรรม (7) Literacy มีความรอบรู้ทางสุขภาพ (8) Active ONE HEALTH พร้อมและครอบคลุมทั้งสุขภาพคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม (9) Network and team เครือข่ายและทีมที่เข้มแข็ง และ (10) Goal เป้าหมายชัดเจน หลังการพัฒนารูปแบบ ผลการประเมินมาตรฐานการปฏิบัติงาน ผ่านการประเมินในระดับ Special ในกลุ่มเจ้าหน้าที่ มีสมรรถนะ พฤติกรรม และการมีส่วนร่วมในการป้องกันควบคุมโรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำ สูงกว่าก่อนพัฒนารูปแบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)  ในกลุ่มประชาชน มีพฤติกรรม และการมีส่วนร่วมในการป้องกันควบคุมโรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำ คะแนนอยู่ในระดับสูงมาก และสูงกว่าก่อนพัฒนารูปแบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และคะแนนไม่ต่ำกว่าเป้าหมาย ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการพัฒนารูปแบบ ได้แก่ การมีส่วนร่วมของชุมชน มีผู้นำที่เข้มแข็งและมีธรรมาภิบาล มีระบบการเงินการคลังที่ดี ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ ระบบบริการของอำเภอช้างกลางให้ดีขึ้น กำลังคนด้านสาธารณสุขเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ส่งผลโดยตรงต่อระบบให้บริการประชาชน ซึ่งเป็นเป้าหมายปลายทางขององค์ประกอบทั้งหมด ผลจากการศึกษานี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับพื้นที่อื่นตามความเหมาะสมของบริบทพื้นที่ ในการศึกษาครั้งต่อไป ควรเพิ่มระยะเวลาในประเมินผลการพัฒนารูปแบบให้มากขึ้น และติดตามผลอย่างต่อเนื่องในระยะยาว เพื่อเป็นการยืนยันประสิทธิผลของการพัฒนารูปแบบ

References

เอกสารอ้างอิง

กรมการแพทย์. คู่มือการบริหารความเสี่ยงในโรงพยาบาลเมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่/อุบัติซ้ำทางเดินหายใจ พ.ศ.2564. สำนักพิมพ์ บริษัท จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์ จำกัด. กรุงเทพมหานคร.2564

World Health Organization.The WHO strategic framework for prevention and control of emerging and epidemic-prone diseases. 2021

กรมควบคุมโรค. รายงานประจำปี 2563 กองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน. สืบค้น 25 มีนาคม 2565. จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/files/2277120220127085658.pdf.2564

ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค.รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ฉบับที่ 731 วันที่ 7 มกราคม 2565. สืบค้น 29 พฤษภาคม 2565. จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situation-no731-070165.pdf

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอช้างกลาง. รายงานไตรมาส 2565. รายงานการเกิดโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำในอำเภอช้างกลางจังหวัดนครศรีธรรมราช.2565

ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง และคณะ. การดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโควิด-19 ในชุมชนโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.สืบค้น 25 มีนาคม 2565 จาก https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5625?locale-attribute=th

ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง, จิราพร วรวงศ์, เพ็ญนภา ศรีหริ่ง, รัตน์ดาวรรณ คลังกลาง, จุฬารัตน์ ห้าวหาญ, และ ดิษฐพล ใจซื่อ.การถอดบทเรียนรูปแบบการดำเนินงาน เฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุข ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข).107-09.2564

ธีรพร สถิรอังกูร, ศิริมา ลีละวงศ์, ศศมน ศรีสุทธิศักดิ์, สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, ณิชาภา ยนจอหอ, กนกพร แจ่มสมบูรณ์. การพัฒนารูปแบบการบริหารการพยาบาลในสถานการณ์การระบาดของโควิด–19 ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 30(2):320-33.2564

บดินทร์ ชาตะเวที.พฤติกรรมกับชีวิตวิถีใหม่: New Normal. บทความทั่วไป. สืบค้น 20 พฤษภาคม 2565, จาก http://www.ttmed.psu.ac.th/blog.php?p=258.2563

พัฒนา พรหมณี ศรีสุรางค์ เอี่ยมสะอาด และ ปณิธาน กระสังข์. แนวคิดการสร้างและพัฒนารูปแบบเพื่อใช้ในการดำเนินงานด้านการสาธารณสุขสำหรับนักสาธารณสุข. 6(2):ดือน กรกฎาคม-ธันวาคม 2560

มนู ศุกลสกุล และคณะ. การบริหารจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข ในการรับมือโรคโควิด 19 จังหวัดสุราษฎร์ธานี: การถอดบทเรียน. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 31(2), 235–244. 2565

มะลิวัลย์ เรือนคำ พรเพ็ญ ศิริสัตยะวงศ์ ศุภลักษณ์ เข็มทอง วัฒนารี อัมมวรรธน์ และ พรทิพย์พา ธิมายอม. ผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด 19 ต่อการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตและรูปแบบการให้บริการทางกิจกรรมบำบัดที่ตอบสนองต่อยุคชีวิตวิถีใหม่.สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. สืบค้น 25 มีนาคม 2565 จาก https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5533?show=full&locale-attribute=th

เยาวลักษณ์ ชาวบ้านโพธิ์ .ซึ่งศึกษาบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันการระบาดโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ.วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 4(1)44-58.2564

สมถวิิล อััมพรอารีี, สมรัักษ์์ ศิิริิเขตรกรณ์์, อััญชลีีพร อมาตยกุุล . รูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคติดต่ออันตราย โรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำ สถาบันบำราศนราดูร. วารสารสถาบันบำราศนราดู, 16(1), 1–12. 2565

สัญญา ยือราน และ อาจินต์ สงทับ.รูปแบบการอภิบาลผ่านความร่วมมือในการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเขตเมือง ของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น เขต 12. วิทยานิพนธ์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.2562

สำนักงานสาธารณสุขนครศรีธรรมราช.รายงานประจำปี 2564. รายงานการระบาดโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำในจังหวัดนครศรีธรรมราช. 2565

Best, & John, W. (1977). Research in Education. (3 rd ed.). New Jersey: Prentice Hall, Inc. Cohen, J.M., & Uphoff, N.T. (1980). Participations place in rural development: Seeking clarity through specificity. New York: World Developments.

Cohen, J. Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nd ed.). Hillside, NJ: Lawrence Erlbaum Associates.1988

Daniel, W.W. (1999) Biostatistics A foundation for analysis in the health sciences. 7th Edition, John Wiley & Sons, Inc., Hoboken.

Gao, X., & Yu, J. Public governance mechanism in the prevention and control of the COVID-19: information, decision-making and execution. Journal of Chinese Governance, 5(2), 178-197. doi:10.1080/23812346.2020.1744922.2020

Kemmis, & McTaggart, R. The Action research planner, 3rd ed. Geelong: Deakin University, Australia.1988

World Health Organization. Everybody business: strengthening health systems to improve health outcomes: WHO’s framework for action. Geneva: World Health Organization.2007

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-07