คุณภาพชีวิตของประชาชนจากการขับเคลื่อนการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) กรณีศึกษา: จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • อัญชนา โสภณ -

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, พชอ.

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

           การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับคุณภาพชีวิต ของประชาชนจากการขับเคลื่อนการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) และเปรียบเทียบคะแนนคุณภาพชีวิตรายด้านและคุณภาพชีวิตโดยรวม รายอำเภอ กรณีศึกษา: จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทำการประเมินเครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิต ด้วยแบบวัดคุณภาพชีวิต WHOQOL 26 ข้อ จากกลุ่มตัวอย่าง 4,750 คน วิเคราะห์ข้อมูลคุณลักษณะส่วนบุคคล และระดับคุณภาพชีวิต โดยใช้จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด วิเคราะห์ความแตกต่างโดยใช้สถิติ One way ANOVA เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตโดยรวมและด้านองค์ประกอบ แยกตามระดับของ พชอ. ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างจำนวน 4,750 ราย มีคุณภาพชีวิตกลางๆ ร้อยละ 57.6 รองลงมา มีคุณภาพชีวิตที่ดี ร้อยละ 40.4 คะแนนเฉลี่ย 91.0 (SD 14.7) คะแนนต่ำสุด 38 และคะแนนสูงสุด 129 โดยเกือบครึ่งมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้านจิตใจ ร้อยละ 46.4 รองลงมา ด้านสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 35.4 สำหรับผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคุณภาพชีวิตรายด้าน และคุณภาพชีวิตโดยรวม ของแต่ละพื้นที่รายอำเภอ พบว่า อำเภอที่มีความแตกต่างของคุณภาพชีวิตระหว่างอำเภอ ได้แก่ อำเภอกาญจนดิษฐ์ อำเภอเกาะสมุย อำเภอพระแสง และอำเภอไชยา (p-value<0.05) เมื่อเปรียบเทียบคะแนนระดับคุณภาพชีวิตโดยรวมของแต่ละพื้นที่ พบว่า คะแนนคุณภาพชีวิตโดยรวมของพื้นที่ปานกลางจะมากที่สุด ทั้งนี้หากจัดเรียงคะแนนคุณภาพชีวิตโดยรวมจากคะแนนมาก-น้อย 5 อันดับแรก มีรายละเอียดดังนี้ ไชยา (Mean 90.0; SD 14.2) พระแสง (Mean 88.8; SD 15.1) เกาะสมุย (Mean 88.6; SD 12.7) ชัยบุรี (Mean 88.0; SD 14.5) และคีรีรัฐนิคม (Mean 87.9; SD 16.8) โดยอำเภอที่มีคะแนนน้อยที่สุดคือ พุนพิน (Mean 83.8; SD 15.1) ทั้งนี้ ระดับจังหวัดควรพัฒนาระบบและเครื่องมือประเมินการทำงานของ พชอ. ที่สอดคล้องกับศักยภาพจำนวนและความยากง่ายของประเด็นการทำงานของ พชอ.

References

เอกสารอ้างอิง

สำนักนายกรัฐมนตรี. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ พ.ศ. 2561. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี, 2561.

สำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ. รายงานสรุปผลการดำเนินงานขับเคลื่อนการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ปี 2563. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข, 2563.

ณภัทร สิทธิศักดิ์. การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) การนำ UCCARE ไปใช้ในระดับพื้นที่ เขตสุขภาพ ที่ 8. อุดรธานี: สำนักงานเขตสุขภาพที่ 8, 2564.

เสรี ราชโรจน์. หลักเกณฑ์และวิธีการวัดและประเมินผลการศึกษาในโรงเรียน. เอกสารการสอนชุดวิชาการบริหารและการจัดการการวัดและประเมินผลการศึกษา หน่วยที่ 3. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช: นนทบุรี. 2537.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี. รายงานผลการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ตามโปรแกรม UCCARE 2565. สุราษฎร์ธานี: กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพ, 2565.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ขอนแก่น: ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2547.

The WHOQOL Group. Development of the WHOQOL: Rationale and current status. International Journal of Mental Health, 1994.

ณัฐวัฒน์ ขันโท. คุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่หน่วยบริการชุมชน คลินิกศูนย์ แพทย์พัฒนาปัญหาพิเศษหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารทั่วไป. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 2556.

ปรางทิพย์ ภักดีคีรีไพรวัลย์. การศึกษาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนบ้านแสนตอ หมู่ 11 ตำบลท่าผา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. สารนิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตร มหาบัณฑิต สาขาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม. ภาควิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์. คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2559.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล และคณะ. เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกทุก100 ตัวชี้วัด และ 26 ตัวชี้วัด โรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารกรมสุขภาพจิต, 2540.

ภูดิท เตชาติวัฒน์ และคณะ. รายงานโครงการสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ. นครปฐม: สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล, 2564.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-07