กระบวนการพัฒนาการประสานรายการยา (Medication Reconciliation) งานบริการผู้ป่วยในโรงพยาบาลนาเยีย อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • สมาพร สันถวะสกุล mahasarakham university
  • เทอดศักดิ์ พรหมอารักษ์
  • วรพจน์ พรหมสัตยพรต

คำสำคัญ:

การประสานรายการยา, ความคลาดเคลื่อนทางยา, NAYIA Model

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ             

การประสานรายการยาสามารถลดความคลาดเคลื่อนเหตุใช้ยา การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการประสานรายการยา งานบริการผู้ป่วยใน โรงพยาบาลนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) 4 ขั้นตอน (PAOR) คือ ขั้นที่ 1 การวางแผน ขั้นที่ 2 การปฏิบัติ ขั้นที่ 3 การสังเกตผล ขั้นที่ 4 การสะท้อนผล กลุ่มเป้าหมายหลัก เป็นบุคลากรในโรงพยาบาลนาเยีย จำนวน 17 คน กลุ่มเป้าหมายรองเป็นกลุ่มผู้ป่วยโรค NCDs จำนวน 84 คน เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม แบบประเมินความเห็นต่อบริบทและสถานการณ์การประสานรายการยา  แบบบันทึกในกระบวนการประสานรายการยา และแบบรายงานความคลาดเคลื่อนการสั่งใช้ยา และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า

            บุคลากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 76.47 มีอายุอยู่ในช่วง 30-39 ปี มากที่สุด ร้อยละ 47.06 อายุเฉลี่ย 42.46 ± 8.28 ปี อายุราชการอยู่ในช่วง < 10 ปี ร้อยละ 58.82 หน่วยงานสังกัดงานผู้ป่วยในมากที่สุด ร้อยละ 47.06 ปฏิบัติงานในตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพมากที่สุด ร้อยละ 41.18 จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมากที่สุด ร้อยละ 46.47 ประสบการณ์ในการประสานรายการยา 10-19 ปี เฉลี่ย 18.62 ± 9.68 ปี ความคิดเห็นในการพัฒนากระบวนการประสานรายการยา บทบาทในการพัฒนากระบวนการประสานรายการ และ ความพึงพอใจในการพัฒนากระบวนการประสานรายการยา โดยรวมอยู่ในระดับมาก กระบวนการประสานรายการยาอย่างมีส่วนร่วมของทีมสหวิชาชีพ ประกอบด้วย การทวนสอบ การตรวจสอบการเปรียบเทียบ และการสื่อสารส่งต่อข้อมูลมีการพัฒนากระบวนการประสานรายการยาด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ด้วยต้นแบบ Na Yia คือ Note การบันทึกในการประสานรายการยา Ability พัฒนาศักยภาพบุคลากร Year การกำหนดกิจกรรมในหนึ่งปี Improvement ปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง Analysis  การวิเคราะห์ข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ ส่งผลให้ความคลาดเคลื่อนทางยาในภาพรวมลดลง  

ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการพัฒนากระบวนการประสานรายการยา คือ Na Yia ประกอบด้วย   Notice : การประกาศนโยบาย และแนวปฏิบัติในการพัฒนากระบวนการประสานรายการยา ให้บุคลากรทุกสาขาวิชาชีพรับทราบเพื่อนำสู่การปฏิบัติ Able : การมีทักษะที่ดีของบุคลากร Yield : การยินยอมปฏิบัติตามหลักการ Instrument : เครื่องมือ/อุปกรณ์ ที่เพียงพอ Adjust: มีการปรับปรุงและพัฒนาสม่ำเสมอ

 

References

เอกสารอ้างอิง

กรองหทัย มะยะเฉี่ยว และ โพยม วงศ์ภูวรักษ์. ผลของกระบวนการสร้างความสอดคล้องต่อเนื่องทางยา ณ หอผู้ป่วยศัลยกรรมของโรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่ง. วารสารเภสัชกรรมไทย, 8(1), 35-47. 2559

กัญญามาส จีนอนันต์, อารีวรรณ เชี่ยวชาญวัฒนา, กรแก้ว จันทภาษา และ ธิดา นิงสานนท์. การดำเนินงานการประสานรายการยากรณีผู้ป่วยในของโรงพยาบาลรัฐในเขตสุขภาพที่ 7 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารภสัชศาสตร์อีสาน, 13(4), 11-23. 2560

กิตติพนธ์ เครือวังค์. ความคลาดเคลื่อนทางยา. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข, 4(2), 251-265. 2561

คณิตา ปั่นตระกูล และ อัจฉราวรรณ โตภาคงาม. การประสานรายการยา ณ โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน, 8(1), 28-40. 2555

จักรี แก้วคำบ้ง.. ผลของกระบวนการ Medication Reconciliation ในหอผู้ป่วยในของโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง. วารสารเภสัชกรรมไทย, 1(2), 162-170. 2552

จันทนี ฉัตรวิริยาวงศ์ และ สุรพงษ์ ตุลาพันธุ์. ผลของกระบวนการประสานรายการยา ในหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์. สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร, 15(3), 95-102. 2561

Medication Reconciliation ผ่านแนวคิด 3P(Purpose-Process Performance)[Internet]. Retrieved from https://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=article_detail&subpage=article_detail&id=469

Kemmis, S & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer (3rd ed.). Victoria : Deakin University.

วนิดา ขุมแร่ การพัฒนากระบวนการประสานรายการยาบนหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลท่าวุ้ง อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพ.2553

ศุภลักษณ์ ธนานนท์นิวาส. ผลของกระบวนการประสานรายการยาในขั้นตอนจำหน่าย ต่อความคลาดเคลื่อนทางยาในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลท่าม่วง กาญจนบุรี มหาวิทยาลัยศิลปกร, กรุงเทพ.2554

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29