ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด จังหวัดสุรินทร์
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง, ผู้สูงอายุ, โรคเบาหวานบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ (2) ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และ (3) ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรู้ด้านสุขภาพ และการเยี่ยมบ้านเสริมกำลังใจที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง ในผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด จังหวัดสุรินทร์ ประชากรกลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ในเขตพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ 14,918 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 375 คน ได้มาจากการสุ่มหลายขั้นตอน (multistage random) โดยเลือกพื้นที่ดำเนินการวิจัย 3 อำเภอ โดยวิธีการเจาะจงเลือก (Purposive sampling) โดยเลือกอำเภอที่มีอัตราผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน สูงสุด ปานกลาง และต่ำสุด ประกอบด้วย อำเภอพนมดงรัก ลำดวน และปราสาท ตามลำดับ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง (Structural Equation Modeling; SEM) ผลการวิจัย พบว่า (1) มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน ภาพรวมในระดับปานกลาง (2) ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน พบว่า มีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน (KLO) การรับรู้สมรรถนะแห่งตน (SEE) และแรงสนับสนุนทางสังคม (SOS) เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน (KLO) มีค่าสัมประสิทธิ์ขนาดอิทธิพลรวมสูงสุด ( = 0.422) แสดงว่าถ้าผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานที่ดี จะส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยง (R2) ของตัวแปรแฝงพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ พบว่า ตัวแปรความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน (KLO) การรับรู้สมรรถนะแห่งตน (SEE) และแรงสนับสนุนทางสังคม (SOS) ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 20.00 (R2 = 0.200) (3) ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรู้ด้านสุขภาพ การเยี่ยมบ้านเสริมกำลังใจที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง ในผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด จำนวน 26 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 69.20 มีอายุเฉลี่ย 64.72 ปี จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 57.70 ประกอบอาชีพเกษตรกรรมมากที่สุด ร้อยละ 69.20 และระยะเวลาที่เป็นโรคเบาหวาน 5 ปี ขึ้นไป ร้อยละ 73.10 เข้าร่วมโปรแกรมตามกิจกรรมที่กำหนด จำนวน 4 ครั้ง 4 สัปดาห์ พบว่า ความรู้ด้านสุขภาพและโรคเบาหวานโดยรวม หลังจากเข้าร่วมโปรแกรมเพิ่มสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ หลังจากเข้าร่วมโปรแกรมเพิ่มสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)
References
Help Age International. Global AgeWatch Index 2015 [Internet]. 2015 [cited 2022 Apr 15]. Available from: http://www.helpage.org
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. ประชากรและสังคม 2555 : ประชากรชายขอบและความเป็นธรรมในสังคมไทย. ใน; กุลภา วจนสาระ, กฤตยา อาชวนิจกุล, บรรณาธิการ. พิมพ์ครั้งที่ 1. นครปฐม.
World Health Organization. Global Report on Diabetes [Internet]. 2016 [cited 2022 September 15]. Available from: http://www.who.int/diabetes/global-report/en/
Margaret S. and Westaway. The impact of chronic diseases on the health and well-being of South Africans in early and later old age [Internet]. 2009 [cited 2022 September 15]. Available from: https://www.journals.elsevier.com
American Diabetes Association. Standards of Medical Care in Diabetes 2012. Diabetes cares. 2012;31 Suppl 1:S55-60.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เล่มที่ 4 การบริหารงบบริการควบคุม ป้องกันและรักษาโรคเรื้อรัง. กรุงเทพฯ: หจก.แสงจันทร์การพิมพ์. 2560.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ประเด็นสารรณรงค์วันเบาหวานโลก ปี 2559 [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 20 กันยายน 2565], เข้าถึงได้จาก http://www.thaincd.com/2016/mission2
กระทรวงสาธารณสุข. ระบบคลังข้อมูลสุขภาพ Health Data Center (HDC) [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 30 กรกฎาคม 2565], เข้าถึงได้จาก https://hdcservice.moph.go.th/
Hair, J.F. et al. Multivariate Data Analysis. 5th ed. New Jersey: Prentice-Hall. 1998.
ปกรณ์ ประจัญบาน. เทคนิคการวิเคราะห์และประยุกต์โมเดลสมการโครงสร้าง สำหรับงานวิจัยและประเมิน. พิษณุโลก: เอทีกราฟฟิกเซ็นเตอร์; 2561. 569 หน้า.
ปัทมา สุพรรณกุล, สุทธิชัย ศิรินวล, เจษฎากร โนอินทร์, วิมาลา ชโยดม และอรพินท์ สิงหเดช. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2560; 11(1): 211-223.
เอกภพ จันทร์สุคนธ์, วิภาดา ศรีเจริญ และกิ่งแก้ว สำรวยรื่น. ปัจจัยพยากรณ์พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2560; 11(3): 229-239.
สุพาพร เพ็ชรอาวุธ, นันทิยา วัฒายุ และนันทวัน สุวรรณรูป. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการโรคเบาหวานด้วยตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. Journal of Nursing Science 2554; 29(4):18-26.
Mohebi, S., Parham, M., Sharifirad, G., Gharlipour, Z., Mohammadbeigi, A. & Rajati, F. Relationship between perceived social support and self-care behavior in type 2 diabetics: A cross-sectional study. Journal of Education and Health Promotion 2018; vol. 7: 1-6.
Jingxuan Z., et al. Effect of timeliness motivation theory-based continuing care on the self-care ability and healthy behavior in elderly patients with type 2 diabetes. Modern Clinical Nursing 2017; 16(5): 47-50.