การพัฒนาการจัดการด้านโภชนาการในนักเรียนโครงการห้องเรียนกีฬา โรงเรียนสารคามพิทยาคม จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • สุภารัตน์ ลีบ่อน้อย -
  • วรพจน์ พรหมสัตพรต
  • อาภรณ์ โพธิ์ภา

คำสำคัญ:

การจัดการโภชนาการ, โภชนาการกีฬา, ภาวะโภชนาการ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

           การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาการจัดการด้านโภชนาการในนักเรียนโครงการห้องเรียนกีฬา โรงเรียนสารคามพิทยาคม จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มเป้าหมาย เลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 159 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหารและหัวหน้าผู้ฝึกสอนกีฬา จำนวน 4 คน บุคลากรโค้ชผู้ฝึกสอนกีฬา จำนวน 10 คน นักเรียนในโครงการห้องเรียนกีฬาจำนวน 145 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการประเมินภาวะโภชนาการ การทดสอบสมรรถภาพทางกาย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired T-Test และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1. การพัฒนาการจัดการด้านโภชนาการในนักเรียนโครงการห้องเรียนกีฬาฯ ประกอบด้วย 1) ปรับเปลี่ยนเมนูอาหารรายสัปดาห์ให้เหมาะสมตามความต้องการของร่างกายนักเรียนและให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเสนอเมนูอาหาร 2) อบรมให้ความรู้และปรับพฤติกรรมการบริโภคในนักเรียน   3) แบบบันทึกการประเมินภาวะโภชนาการในนักเรียน  2. ผลของการพัฒนาการจัดการด้านโภชนาการในนักเรียนโครงการห้องเรียนกีฬาฯ พบว่า ระดับพฤติกรรมสุขภาพด้านบริโภคอาหารและด้านสุขภาวะทางกายก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมไม่แตกต่างกัน ส่วนการทดสอบวัดองค์ประกอบด้านร่างกายก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรม พบว่าเส้นรอบวงของกล้ามเนื้อที่จุดกึ่งกลางแขนท่อนบนมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และการทดสอบสมรรถภาพทางกาย ก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรม พบว่าการลุกนั่งมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เนื่องจากนักเรียนยังมีพฤติกรรมเลือกรับประทานอาหารในส่วนอื่นนอกเหนือที่โครงการจัดสรรให้และในช่วงสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 จึงทำให้ประสิทธิภาพการฝึกซ้อมลดลง แต่ก็ยังแสดงให้เห็นว่าภาวะโภชนาการและสมรรถภาพทางกายมีแนวโน้มไปในทางที่ดีขึ้น ดังนั้น ผลของการพัฒนาการจัดการด้านโภชนาการในนักเรียนโครงการห้องเรียนกีฬาฯ จากการวิจัยครั้งนี้ สามารถนำมาบูรณาการในการพัฒนาร่วมกับหลักสูตรการเรียนการสอนของห้องเรียนกีฬา เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพทางกายของนักเรียนห้องเรียนกีฬาต่อไป

References

เอกสารอ้างอิง

สุลัดดา พงษ์อุทธา และวาทินี คุณเผือก. อาหารและโภชนาการในประเทศไทย: เราอยู่ตรงจุดใด ในปัจจุบัน (รายงานประจำปี). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข, 2558.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากร พ.ศ.2556. กรุงเทพ: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, 2557.

ปวีณภัทร นิธิตันติวัฒน์ และวรางคณา อุดมทรัพย์. พฤติกรรมการบริโภคอาหารของวัยรุ่นไทย ผลกระทบและแนวทางแก้ไข. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 28(1): 122-128; มกราคม-มิถุนายน, 2560.

อดิษา สังขะทิพย์ และสุวลี โล่วิรกรณ. พฤติกรรมการบริโภคอาหารและภาวะโภชนาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนในตำบลกุดปลาดุก อำเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 19(1): 178-189; มกราคม-เมษายน, 2560.

วิชยาภา เอี่ยมสว่าง, จีรนันท์ แกล้วกล้า, กฤตกรณ์ ประทุมวงษ์ และเอกราช บำรุงพืชน์. การได้รับพลังงานและสารอาหารของนักเรียนในโรงเรียนกีฬากรุงเทพมหานคร. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิยาลัยขอนแก่น, 1438-1445; 2557.

Kemmis & McTaggart. The Action Research Planer. 3rd ed. Victoria, Australia: Deaken University Press; 1988.

ไพรวัลย์ โคตรตะ,อมรรัตน์ นธะสนธิ์ และอรอุมา แก้วเกิด. การพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในวัยผู้ใหญ่ที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกินและโรคอ้วน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 16(3): 799-815, 2565.

สุนันทา คเชศะนันทน์. แนวทางในการปรับปรุงรูปแบบการจัดอาหารในโรงเรียน. ปัญญภิวัฒน์, 11(2): 177-192, 2562.

ดนัตร์ สิทธิธัญญ. พฤติกรรมการบริโภคอาหารและอาหารเสริมของนักกีฬาจักรยาน จังหวัดเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยกีฬาแห่งชาติ; 2561.

ไพรวัลย์ โคตรตะ,อมรรัตน์ นธะสนธิ์. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในผู้ใหญ่ที่มีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน. รามาธิบดีพยาบาลสาร. 26(3): 338-53, 2563.

ปิยะดา ประเสริฐสม.เด็กไทยเผชิญปัญหาการกินในช่วงโควิด. [อินเทอร์เน็ต]. [กรุงเทพฯ]: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ; 2464 [เข้าถึงเมื่อ 1 ธ.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://resourcecenter.thaihealth.or.th/article/

ปิยาภรณ์ ตุ้มนาค. ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะโภชนาการของนิสิตคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 13(4): 14-22, 2563.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29