ประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนร่วมกับการสนับสนุนทางสังคม เพื่อป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย

ผู้แต่ง

  • วิทวัส สุดเพาะ -
  • นฤมล สินสุพรรณ
  • ชนะพล ศรีฤาชา

คำสำคัญ:

การป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน, การสนับสนุนทางสังคม, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi - Experimental Research) นี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนร่วมกับการสนับสนุนทางสังคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อป้องกันการดื่มเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ในนักเรียนกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในปีการศึกษา 2565 เลือกมาแบบเจาะจง (Purposive Sampling)  (จำนวน 60 คน จาก 2 โรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตอำเภอน้ำพอง  จังหวัดขอนแก่น แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ๆ 30 คน (กลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม) โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งประกอบด้วย การชมคลิปวีดี คู่มือการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จัดบอร์ดให้ความรู้เรื่องแอลกอฮอล์ และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมจากผู้วิจัยในการให้ความรู้ กระตุ้นเตือนโดย เพื่อนครูและผู้ปกครอง กลุ่มควบคุมได้รับสุขศึกษาตามปกติในโรงเรียนระยะเวลาดำเนินการ 12 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ลักษณะทางประชากรโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบความแตกต่าง ค่าเฉลี่ยคะแนน วิเคราะห์ด้วยสถิติ Paired t-test และ Independent t-test ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05

ผลการศึกษา พบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนและค่าเฉลี่ยความแตกต่าง ของคะแนนด้านความรู้เกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทัศนคติ ต่อการรับรู้ประโยชน์ในการไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การรับรู้การควบคุมพฤติกรรมในการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ความตั้งใจที่จะปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพิ่มขึ้นจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) โดยมีปัญหาจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุป โปรแกรมนี้มีประสิทธิผลในการป้องกันพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในกลุ่มเป้าหมายที่มีลักษณะใกล้เคียงได้

References

เอกสารอ้างอิง

กัญญ์กุลณัช รามศิริ. ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลข่าวสาร สร้างแรงจูงใจ และพัฒนาทักษะ เพื่อป้องกันการดื่ม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวัยรุ่นหญิง. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา; 2564.

จุฬาภรณ์ โสตะ. กลยุทธ์การพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ ขอนแก่น. ภาควิชาสุขศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2556.

ซิ่วฮวย แซ่ลิ้มและคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่น. วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2560.

ฐิติพัฒน์พิชญธาดาพงศ์. พฤติกรรมการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ของพนักงานศึกษาตามแนวทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน. กรณีศึกษาบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จํากัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหาร ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพาณิชยศาสตร์และการบัญชี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2548.

บัณฑิต ศรไพศาล และจุฑาภรณ์ แก้วมุงคุณ. รายงานสถานการณ์สุรา ประจำปี พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยสุรา. 2560; 27(1): 45-61.

พัชราภรณ์ ตึกสูงเนิน. ผลของโปรแกรมการควบคุมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วยตนเองต่อพฤติกรรมการดื่มในผู้ที่มีพฤติกรรมการดื่มแบบผิดปกติในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครราชสีมา.วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2562.

วิทวัส สุดเพาะ และคณะ. การสำรวจเบื้องต้นเกี่ยวกับพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียน. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น; 2564.

ศูนย์วิชาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. พฤติกรรมศาสตร์ พฤติกรรมสุขภาพและสุขศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช; 2556.

ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา. การสำรวจพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชากรไทยอายุ 11 ปีขึ้นไป. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2560.

สำนักงานโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลสำรวจการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประชาชนทั่วไป. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์; 2557.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ.2560. กรุงเทพฯ: เท็กซ์ แอนด์ เจอนัล พับพิเคชั่น; 2560.

สำนักงานควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ผลสำรวจพฤติกรรมการดื่มสุรา พ.ศ. 2560. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2564 จาก: http://www.nso.go.th/sites/2014/ Pages/News/2561/N30-08-61-2.aspx

ภัทรพล โพนไพรสันต์.ผลการประยุกต์ใช้โปรแกรมการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนเหล่ากลางวิทยาคม ตำบลเหล่า อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์.วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.2557

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-07