การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ ในชุมชนบ้านยางน้อย ตำบลยางน้อย อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • อรนุช ดรพลก้อม -
  • ชนะพล ศรีฤาชา
  • วีณา อิศรางกูร ณ อยุธยา

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, ชีวิตวิถีใหม่, การส่งเสริมสุขภาพ, การดูแลตนเอง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Actions research) ตามแนวคิดของ Kemmis และ McTaggart (1988) ประกอบด้วย 4 ระยะ ได้แก่ ขั้นวางแผน (Planning) ขั้นปฏิบัติการ (Action) ขั้นการสังเกตการณ์ (Observation) ขั้นสะท้อนกลับ (Reflection) โดยทำการศึกษา 1 วงรอบ มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาสถานการณ์สภาพปัญหาและความต้องการในการส่งเสริมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ ในชุมชนที่ทำการศึกษา 2)เพื่อพัฒนาแนวทางการส่งเสริมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุภายใต้ชีวิตวิถีใหม่3)เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาแนวทางการส่งเสริมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุภายใต้ชีวิตวิถีใหม่  ในชุมชนบ้านยางน้อย ต.ยางน้อย อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ อายุ 60-69 ปี จำนวน 38 คนคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงระยะเวลาในการทำวิจัยระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงพฤศจิกายน 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  แบบสอบถาม วัดก่อนและหลังการทำกิจกรรม กิจกรรมในโครงการการส่งเสริมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ 4อ.ประกอบด้วย กิจกรรมที่ 1 เมนูคู่สุขภาพ 2 ขยับวันละนิดจิตแจ่มใส 3 รวมพลคนคิดบวก 4 หกล้มในวัยเก๋า  หลังการทำกิจกรรม 2 สัปดาห์ได้มีการติดตามพฤติกรรมการปฏิบัติโดยการเยี่ยมบ้านกลุ่มตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติเชิงปริมาณความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ Paired t-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัย พบว่าหลังการทำกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยแตกต่างจากก่อนทำกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 1) คะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพก่อนและหลังทำกิจกรรมเท่ากับ 2.64 และ 2.97 2) คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ 4อ.ก่อนและหลังทำกิจกรรมเท่ากับ 2.37 และ 2.75 3) คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจหลังทำกิจกรรมเท่ากับ 4.47 อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก

References

เอกสารอ้างอิง

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2562). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (เข้าถึงเมื่อ 3 มี.ค.2565). https://www.dop.go.th

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2563). สถานการณ์ผู้้้สูงอายุไทย พ.ศ. 2562. นครปฐม : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.(เข้าถึงเมื่อ 3 มี.ค.2565). https://thaitgri.org

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.(2563). โครงการขับเคลื่อนกลยุทธ์เพื่อพัฒนางานด้านผู้สูงอายุและการสื่อสารสาธารณะเพื่อรองรับสังคมสูงอายุ. ทิศทางการขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุภายใต้ความท้าทายใหม่สถานการณ์โควิด-19 ตอนที่ 1 : สำรวจโอกาส-ข้อจำกัดก่อนที่จะเข้าสู่สังคมสูงอายุระดับสมบูรณ์ในปีหน้า. (เข้าถึงเมื่อ 5 มี.ค.2565). https://thaitgri.org

รพสต.บ้านยางใหญ่ ต.ยางน้อย. (2565) ระบบข้อมูลทรัพยากรสุขภาพหน่วยบริการปฐมภูมิรายงานทรัพยากรสุขภาพhttp://gishealth.moph.go.th/pcu/admin/pcu.php?code=04934

กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือการปฏิบัติตามมาตรการผ่อนปรนกิจการและกิจกรรมเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 สำหรับประเภทกิจการและกิจกรรม กลุ่มที่ 2. นนทบุรี. อักษรกราฟิคแอนด์ดีไซน์

Aschwanden, C. (2021). To boost immunity, forget ‘magic pills.’ Focus on sleep, excercise, diet and cutting stress. Retrieved from https://www.washingtonpost.com/health/boosting-your-immune- system/2021/01/29/256fd52c-3fc4-11eb-8db8-395dedaaa036_story.html

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.(2563). โครงการขับเคลื่อนกลยุทธ์เพื่อพัฒนางานด้านผู้สูงอายุและการสื่อสารสาธารณะเพื่อรองรับสังคมสูงอายุ. ทิศทางการขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุภายใต้ความท้าทายใหม่สถานการณ์โควิด-19 ตอนที่ 1 : สำรวจโอกาส-ข้อจำกัด ก่อนที่จะเข้าสู่สังคมสูงอายุระดับสมบูรณ์ในปีหน้า. (เข้าถึงเมื่อ 5 มี.ค.2565). https://thaitgri.org

ทนงศักดิ์ แสงสว่างวัฒนะ, ณิชนันทน์ ศิริไสยาสน์, โชติ บดีรัฐ.(2563). New Normal วิถีชีวิตใหม่และการปรับตัวของคนไทยหลังโควิด-19: การงาน การเรียน และธุรกิจ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น. 4 (3): 371-386.

วรรณฤดี เชาว์อวยชัย, รัตติกาล พรหมพาหกุล, อารียา ประเสริฐสังข์.(2564). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและการดำเนินชีวิตวิถีใหม่ในผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลทหารบก. 22 (2): 41-48.

สมชาย วรกิจเกษมสกุล.( 2013) .ระเบียบวิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ หน้าที่ 171

จิระวัฒน์ วงศ์สวัสดิวัฒน์, (2538) ทัศนคติ ความเชื่อ และพฤติกรรม : การวัด การพยากรณ์ และการ. เปลี่ยนแปลง, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สามดีการพิมพ์.

รุจิรางค์ วรรณ์ธนาทัศน์.(2560).ประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ และการรับรู้ความสามารถในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3อ 2ส ของผู้สูงอายุ จังหวัดนครปฐม.วารสารแพทย์เขต 4-5 ปีที่ 36 (1): 2-12

วราภรณ ชาติพหล, นฤมลเวชจักรเวร, เบญญา หมื่นไธสง, นิรชา นํ้ากระโทก และ ณัฐริกา เรียงจอหอ. (2563).พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผูสูงอายุตามหลัก 3อ. 2ส.ตําบลโพธิ์กลาง อําเภอ เมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา.วารสารวิชาการ สคร.9 27(2):71-79

สุวิมลรัตน์ รอบรู้เจน.(2560). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ สำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุ อำเภอ

วารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสาร มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ปีที่ 9 (3):57-69

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-07