ประสิทธิผลโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจต่อความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงและความต้องการการรักษาของผู้เสพติดแอมเฟตามีน อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • โยธิน ศิรินานันท์ -
  • ชนะพล ศรีฤาชา
  • วีณา อิศรางกูร ณ อยุธยา

คำสำคัญ:

ผู้เสพติดแอมเฟตามีน , การสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ , ผู้เสพติดแอมเฟตามีน การสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบวัดซ้ำกลุ่มเดียว วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจต่อความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงและความต้องการรักษาของผู้เสพติดแอมเฟตามีนในอำเภอสีชมพู  จังหวัดขอนแก่น ประชากรกลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้เสพติดแอมเฟตามีนที่รับการบำบัดรักษาแบบผู้ป่วยนอกในเขตพื้นที่อำเภอสีชมพู กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 54 คน ได้มาจากการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Heinisch (1965) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบประเมินความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงและความต้องการรักษาที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ(repeated measure ANOVA) ผลการวิจัย: พบว่า ประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจต่อความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงและความต้องการรักษาของผู้เสพติดแอมเฟตามีน เป็นเพศชาย 46 คน เพศหญิง 8 คน เข้าร่วมโปรแกรมจำนวน 8 ครั้ง 8 สัปดาห์ และระยะติดตาม 4 สัปดาห์พบว่า ก่อนทดลองมีระดับความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงและความต้องการรักษาอยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านความลังเลใจ และด้านการลงมือกระทำ และระดับสูง คือ ด้านการยอมรับ หลังทดลอง และระยะติดตาม 1 เดือนอยู่ในระดับสูงทั้ง 3 ด้าน ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ พบว่า ด้านความลังเลใจแตกต่างกันโดยหลังทดลอง และระยะติดตาม 1 เดือนสูงกว่าก่อนทดลอง (p-value=0.04) สรุป: โปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจทำให้กลุ่มตัวอย่างมีความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงและความต้องการการรักษาด้านความลังเลใจสูงขึ้นประกอบด้วย 3 ระยะดังนี้คือ ระยะที่ 1 การเสริมสร้างแรงจูงใจเพื่อการเปลี่ยนแปลง ระยะที่ 2 การกระทำให้เกิดความตั้งใจแน่วแน่ในการเปลี่ยนแปลงและ ระยะที่ 3 การติดตามต่อเนื่อง

References

เอกสารอ้างอิง

กฤตยา แสวงทรัพย์, เพ็ญพักตร์ อุทิศ และสุนิศา สุขตระกูล. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจแบบกลุ่มต่อพฤติกรรการดื่มสุราของผู้ป่วยจิตเภทที่มีปัญหาการดื่มสุรา. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2562; 33 (2): 122-137

กรฎา มาตยากร. การพัฒนาโมเดลขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของประชาชนวัยทำงาน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา. มหาวิทยาลัยบูรพา. 2559.

กิตรวี จิรรัตน์สถิต และคณะ. การประยุกต์ใช้แนวคิด Transtheoretical model (TTM) และกลยุทธ์ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อการเลิกบุหรี่ในกลุ่มนักศึกษา. วารสารสหศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2564; 21(2): 96-107

ณิชชา หนักแน่น, พัชรินทร์ นินทจันทร์ และโสภิณ แสงอ่อน. การใช้โปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมในผู้ดื่มสุรา. วารสารพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2556. 27(3): 16-29

ธนวัฒน์ สมบูรณ์, มะโนทน, สมคิด จูหว้า และประจวบ แหลมหลัก. ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่โดยการประยุกต์ทฤษฎีความสามารถตนเองและแรงสนับสนุนทางสังคม: กรณีศึกษาตำบลบ้านร้อง อำเภองาว จังหวัดลำปาง. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2562;5(3): 83-94

นฤมล พระใหญ่. การสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ: บทความฟื้นฟูวิชาการ Motivational Interviewing (MI) Review Article (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ 2564.

นันทา ชัยพิชิตพันธ์. การบำบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ: ทางเลือกเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยเสพติด. ธรรมศาสตร์เวชสาร 2556;13(1): 98-108

นท ศิริกาญจน์. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มผู้ใช้สารเสพติดด้วยวิธีฉีดในจังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร 2560.

ปิยพร สิงห์คำ, ดร.สิวลี รัตนปัญญา และดร.สามารถ ใจเตี้ย. บริบททางสังคมที่มีความสัมพันธ์ต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการรับรู้ความสามารถแห่งของตนเองในการปฏิเสธการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนดงเจนวิทยาคม อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน 2560; 23(2): 193-205

พรรณี ปานเทวัญ. การประยุกต์ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบบุหรี่. วารสารพยาบาลทหารบก 2557;15(1): 36-44

ยชญ์รวินทร์ จรบุรมย์, สิริกร สุธวัชณัฐชา และนพภัสสร วิเศษ. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังในชุมชนต่อการส่งเสริมความร่วมมือในการรับประทานยาทางจิตเวชหลังจําหน่ายออกจากโรงพยาบาล. ดุษฎีนิพนธ์ สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2562.

รัชนี อุทัยพันธ์ และเพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์. ผลของการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจแบบกลุ่มต่อความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2556; 27(1): 136-148

วราภรณ์ ประทีปธีรานันต์. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดของผู้ต้องขังคดียาเสพติด ในจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารพยาบาล 2562; 68(1), 49-57

ศุภชัย นวลสุทธิ์, จุฬา ศรีรักษา และทัปปณ สัมปทณรักษ์. ผลของโปรแกรมประยุกต์การบำบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจต่อความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงและความต้องการการรักษาของผู้ป่วยยาเสพติดที่ต้องเข้ารับการบำบัดรักษาเป็นครั้งแรก. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์2565; 42(2): 163-177

สวัสดิ์ อุ่นใจ, กิจวัฒ นาถวิล, ญาธษา พันวิไล, สุกัญญา กาญจนบัตร และมานพ คณะโต. การประเมินการใช้แมทริกซ์โปรแกรมในการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดของโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 7 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน 2560; 5(4): 661-681

สุกุมา แสงเดือนฉาย, สำเนา นิลบรรพ์, วันเพ็ญ ใจปทุม, สุวภัทร คงหอม, ญาดา จีนประชา และธัญญา สิงโต. ผลของการบำบัดความคิดและพฤติกรรมเพื่อป้องกันการติดซ้ำของผู้ป่วยเมทแอมเฟตามีนที่เข้ารับการบำบัดรักษาแบบผู้ป่วยใน. วารสารวิชาการเสพติด 2559; 4(1): 1-16

สุกุมา แสงเดือนฉาย,นันทา ชัยพิชิตพันธ์, สำเนา นิลบรรพ์ และธัญญา สิงโต. คุณลักษณะ และ อาชีพของผู้ใช้สารเสพติด. วารสารวิชาการเสพติด, 2(1): 16-30; มกราคม-มิถุนายน, 2557.

อรรถพล ยิ้มยรรยง และเพ็ญนภา แดงต้อมยุทธ์. ผลของการบําบัดทางความคิดและพฤติกรรมอย่างย่อโดยครอบครัวมีส่วนร่วมต่อการเสพแอมเฟตามีนของวัยรุ่นเสพติดแอมเฟตามีนระยะฟื้นฟู. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2564; 13(1): 71-83

อรรถพงษ์ ฉัตรดอน. แรงจูงใจในการเลิกใช้สารเสพติดและคุณภาพชีวิตของผู้ที่เข้ารับการบำบัดสารเสพติดโรงพยาบาลปทุมธานี. วารสารแพทย์เขต 4-5 2564; 40(1): 181-192

อมาวสี กลั่นสุวรรณ, นิตยา ตากวิริยะนันท์ และตะวันชัย จิรประมุขพิทักษ์. ผลของโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจร่วมกับการบำบัดความคิดและพฤติกรรมต่อพฤติกรรมร่วมมือในการเปลี่ยนแปลงตนเองของผู้ป่วยเสพติดแอมเฟตามีนในสถานบำบัดรักษาแห่งหนึ่ง จังหวัดปทุมธานี. วารสารกรมการแพทย์ 2561; 43(1): 90-95

Miller, W. R., & Rollnick, S. Motivational interviewing: Preparing people for change (2 nd ed.). New York: The Guilford Press. 2009.

Miller, W. R., & Rollnick, S. Motivational Interviewing: Helping People to Change. (3rd ed.). New York: The Guilford Press . 2013.

Oveisi, S., Stein, L.A.R., Babaeepour, E. et al. The impact of motivational interviewing on relapse to substance use among women in Iran: a randomized clinical trial. BMC Psychiatry 2020; 20, 157

Sangchanchai. PMotivational interviewing for counseling and therapy. In Training of personnel competency development project in counseling for gambling problems. Nonthaburi: Child and Adolescent Mental Health Rajanagarindra Institute. (in Thai) 2010.

Xiaoyun Li, Silan Yang, Yishu Wang, Bingxiang Yang and Jingping Zhang. Effects of a transtheoretical model – based intervention and motivational interviewing on the management of depression in hospitalized patients with coronary heart disease: a randomized controlled trial. BMC Public Health2020; 20:420

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-07