ภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบ้านหนองแวง ตำบลโพนเขวา อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • ไมยรา เศรษฐมาศ Sisaket Rajabhat University

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยเบาหวาน , ภาวะแทรกซ้อน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

         การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงเพื่อศึกษาภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองแวง ตำบลโพนเขวา อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ

         เก็บข้อมูลในเวชระเบียนและฐานข้อมูลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองแวง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2561 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและหาความชุก

         ผลการศึกษา พบว่า ผู้ที่มารับบริการ ในปีงบประมาณ 2561 มีทั้งหมดจำนวน 5,615 คน มีผู้ที่ป่วยเป็นเบาหวาน 274 คน คิดเป็นความชุก 4.88 คนต่อหนึ่งร้อยประชากร มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน จำนวน 81 คน คิดเป็นความชุก 29.56 คนต่อหนึ่งร้อยประชากร ภาวะแทรกซ้อนที่พบมากที่สุดคือ ความดันโลหิตสูง 81.48 คนต่อหนึ่งร้อยประชากร เมื่อจำแนกตามกลุ่มพบว่า กลุ่มที่มีภาวะแทรกซ้อนส่วนใหญ่เป็นเพศชาย 31.32 คนต่อหนึ่งร้อยประชากร อายุอยู่ในช่วง 60 ปีขึ้นไป 36.81 คนต่อหนึ่งร้อยประชากร มีอายุเฉลี่ย 60 ปี ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 11.2 มีภาวะแทรกซ้อนใน Type 1 diabetes 40 คนต่อหนึ่งร้อยประชากร และผู้ป่วยที่ไม่มารับการรักษาตามแพทย์นัด มีภาวะแทรกซ้อน 33.33 คนต่อหนึ่งร้อยประชากร ผลการวิจัยนำเสนอปัญหาในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการ สำหรับให้บุคลากรนำไปพัฒนางานบริการในพื้นที่ อีกทั้งเพื่อป้องกันความรุนแรงภาวะแทรกซ้อนจึงควรเฝ้าระวังและคัดกรองภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน

References

เอกสารอ้างอิง

World Health Organization. Global status report on non-communicable diseases. Geneva: World Health Organization; 2014.

Guariguata L, Whiting DR, Hambleton I, Beagley J, Linnenkamp U, Shaw JE. Global estimates of diabetes prevalence for 2013 and projections for 2035. Diabetes Res Clin Pract 2014; 103(2): 137-49

Shaw JE, Sicree RA, Zimmet PZ. Global estimates of the prevalence of diabetes for 2010 and 2030. Diabetes Res Clin Pract 2010; 87(1): 4-14.

กองโรคไม่ติดต่อ. จำนวนและอัตราป่วย / ตาย ปี 2559-2562[อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2560[เข้าถึงเมื่อ 2 ก.พ. 2566]. เข้าถึงจาก: http://www.thaincd.com/2016/mission/documents-detail.php?id=13893&tid=32&gid=1-020

Flavio Silva EF, Ferreira CM, Pinho L. Risk factors and complications in type 2 diabetes outpatients. Rev Assoc Med Bras. 2017; 63(7): 621-7.

พุทธรักษ์ ดีสินและศุภศิลป์ ดีรักษา. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับโรคแทรกซ้อนในผู้ใหญ่ที่โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลท่าคัน โท จังหวัด กาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2563; 13(3): 36-41.

Nitiyanant, W., Chetthakul, T., Sang-A-kad, P., Therakiatkumjorn, C., Kunsuikmengrai, K., & Yeo, J. P. A survey study on diabetes management and complication status inprimary care setting in Thailand. Journal of the Medical association of Thailand. 2007; 90(1): 65-71.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองแวง. ทะเบียนโรคเบาหวาน. ศรีสะเกษ: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองแวง; 2561. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองแวง

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2560. ครั้งที่ 3. ปทุมธานี: บริษัท ร่มเย็น มีเดีย จำกัด; 2560.

ปัฐยาวัชร ปรากฏผล และคณะ. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีและไม่มีภาวะแทรกซ้อนและแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข[อินเทอร์เน็ต]. 2559[เข้าถึงเมื่อ 2 ก.พ. 2566]. เข้าถึงจาก: https://www.hsri.or.th/researcher/research/new-release/detail/6588

ศาริกา พัฒนสิน. การวัดทางระบาดวิทยาและสถิติเบื้องต้น[อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: ศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐอเมริกาด้านสาธารณสุข; 2561[เข้าถึงเมื่อ 22 ก.พ. 2566]. เข้าถึงจาก: https://eventbased-doe.moph.go.th/ihr/wp-content/uploads/2018/04/%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99.pdf

Ministry of Public Health: Thailand Health Profile Report 2008-2010. Edited by Wibulpolprasert S. Bangkok, Thailand: The War Veterans Organizations of Thailand; 2011

สุพัตรา ศรีวณิชชากร. สถานการณ์การป่วยและการตายด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคหัวใจและหลอดเลือด) ในประเทศไทย ในระยะ 5 ปี (2553-2557)

Cooney, N. Literature Review: The current situation and care model of noncommunicable diseases. Nonthaburi: Art Qualifier; 2014

v Litwak L, Goh SY, Hussein Z, Malek R, Prusty V, Khamseh M. Prevalence of diabetes complication in people with type 2 diabetes mellitus and its association with baseline characteristics in the multinational A Choeve study. Diabeteology & MetabolicSyndrome. 2013; 5(57):1-10.

ชัยวัฒน์ ดาราสิชฌน์. ความชุกและปัจจัย ที่มีผลต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลน้ำยืน อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2562;12(3): 17-22.

จิราพร เดชมา, วนิดา ดุรงค์ฤทธิชยั , วิชุดา กิจธรธรรม. การศึกษาปัจจัยทำนายภาวะแทรกซ้อนให้ผู้เป็นเบาหวานในชุมชนภายใต้ทฤษฎีการพยาบาลของคิง. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2556; 27(2): 63–80.

สายฝน ม่วงคุ้ม, พรพรรณ ศรีโสภา, วัลภา คุณทรงเกียรติ, ปณิชา พลพินิจ, วิภา วิเสโส, ชุติมา ฉันทมิตรโอภาส, ชัยชาญ ดีโรจนวงศ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดแดงขนาดเล็กในผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2563; 28(2): 74-84

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-07