พฤติกรรมการป้องกันภาวะโภชนาการเกินของผู้สูงอายุ ตำบลบางแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม

ผู้แต่ง

  • กนกพร สมพร -
  • ศิริลักษณ์ กระวลกิจ
  • ธัญญาลักษณ์ บุตรดา
  • นพดล ทองอร่าม

คำสำคัญ:

โภชนาการเกิน, ผู้สูงอายุ, ความเชื่อด้านสุขภาพ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

           งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะส่วนบุคคล ความรู้ภาวะโภชนาการเกิน แบบแผนความเชื่อทางด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ และพฤติกรรมการป้องกันภาวะโภชนาการเกินของผู้สุงอายุ ตามหลัก 3 อ. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์) ตำบลบางแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) ระหว่างเดือนเมษายน – พฤศจิกายน 2565 กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุ ที่มีอายุ 60 ขึ้นไป ในตำบลบางแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม ที่ผ่านเกณฑ์การคัดเข้าและได้รับการคัดเลือก จำนวน 274 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 56.60 อายุระหว่าง 60-69 ปี นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 94.50 ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 28.10 รองลงมาคือ โรคเบาหวาน ร้อยละ 25.20 สำหรับรสชาติอาหารที่ชอบรับประทานส่วนใหญ่จะเป็นทุกรสชาติ (หวาน มัน เค็ม) ร้อยละ 56.90 ความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการเกินอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 54.70 ภาพรวมความเชื่อด้านสุขภาพอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 80.30 (Mean 1.20, SD. 0.40) ภาพรวมพฤติกรรมการป้องกันภาวะโภชนาการเกินอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 58.80 (Mean 2.41, SD. 0.50) ควรนำผลการศึกษาครั้งนี้ไปใช้วางแผนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในด้านต่าง ๆ เพื่อลดการเกิดโรคเรื้อรังจากภาวะโภชนาการเกินในผู้สูงอายุ

References

เอกสารอ้างอิง

สรญา แก้วพิทูลย์ และคณะ. ภาวะโภชนาการผู้สูงอายุในจังหวัดสุรินทร์. นครราชสีมา; 2555.

อาภรณ์ ดีนาน และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาพยาบาล. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2560;25 (3).

กนกพร สมพร และนพดล ทองอร่าม. การดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม. 2565;2 (2).

ฐิตินันท์ ดวงจินา และศิริรัตน์ ปานอุทัย. การพยาบาลเพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุ. พยาบาลสาร. 2563;47 (3).

คลังข้อมูลสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม. ข้อมูลสุขภาพที่มีภาวะโภชนาการเกิน HDC. 2565.

Cronbach LJ. Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika [อินเทอร์เน็ต]. 1951;16(3):297–334. Available at: https://doi.org/10.1007/BF02310555

อาพัทธ์ เตียวตระกูล. ผลของโปรแกรมการปรับพฤติกรรมสุขภาพที่มีต่อความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมของผู้มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ปกติ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 2560;17 (2).

พรภิมล กรกฎกำจร รัชนี นามจันทรา และฐิติอาภา ตั้งค้าวานิช. ความรู้ ความเสี่ยงต่อกลุ่มอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในเขตอำเภอเมืองเชียงราย. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. 2563;31 (1).

ปิยาทิพย์ วัฒนสุนทร เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์ พาณี สีตกะลิน และ วัลลภ ใจดี. ความรู้และแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพที่ส่งผลต่อการจัดการภาวะไข้ในเด็กของผู้ดูแล. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. 2565;10(2).

ชญาภา วรพิทยาภรณ์ พรทิพย์ มาลาธรรม และนพวรรณ พินิจขจรเดช. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีโรคไตเรื้อรัง. Ramathibodi Nurs J. 2021;27(1), 77-.

วันวิสา เวชประสิทธิ์ ธีรดา จงกลรัตนาภรณ์. แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในกลุ่มบุคคลวัยเกษียณและการสื่อสารรณรงค์ลดบริโภคเค็ม. วารสารการประชาสัมพันธ์และโฆษณา. 2565;15(1).

ธัญลักษณ์ โมราษฎร์. ศึกษาผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมโภชนาการโดยประยุกต์ แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ และการดูแล ตนเองของผู้สูงอายุโรงพยาบาลขอนแก่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2548.

ปุณรัตน์ พิพิธกุล รุ่งระวี สมะวรรธนะ และเอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์. การนำเสนอแนวทางการพัฒนาโปรแกรมสุขศึกษาโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา และแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพเพื่อสร้างเสริมความฉลาดทางสุขภาพด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพของนักเรียนอาชีวศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ. 2564;13 (3).

นวรัตน์ ไวชมภู รัตติภรณ์ บุญทัศน์ และนภชา สิงห์วีรธรรม. การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามหลัก 3 อ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2562;6 (2).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-07