ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

ผู้แต่ง

  • พิมลกานต์ ติ๊บบุญศรี -
  • วิราสิริริ์ วสีวีรสิว์

คำสำคัญ:

การปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, แรงสนับสนุนทางสังคม

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี จำนวน 311 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2565 ถึง เดือน 31 ตุลาคม พ.ศ.2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ทดสอบไคสแควร์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและสถิติการถดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัยพบว่า ร้อยละ 49.5 ปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านอยู่ในระดับมาก ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ  ได้แก่ อาชีพ อายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ระยะเวลาปฏิบัติงาน ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ทัศนคติต่อการปฏิบัติงาน แรงจูงใจต่อการปฏิบัติงาน และแรงสนับสนุนทางสังคม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ปัจจัยด้านแรงจูงใจต่อการปฏิบัติงาน แรงสนับสนุนทางสังคม และระยะเวลาปฏิบัติงาน เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ได้ร้อยละ 68.9 ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก เกิดจากมีแรงจูงใจต่อการปฏิบัติงาน แรงสนับสนุนทางสังคม และระยะเวลาการปฏิบัติงาน ทำให้สามารถปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

References

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงสาธารณสุข.นโยบายการดำเนินงาน กระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565.ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต กระทรวงสาธารณสุข;2564 สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2564 จาก http://www.stopcorruption.moph.go.th/index.php

กรมสุขภาพจิต.ก้าวย่างของประเทศไทย สู่‘สังคมผู้สูงอายุ’อย่างสมบูรณ์แบบ.;2563 สืบค้นเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2564 จาก https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30476

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน .แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข(พ.ศ.2560-2579).พิมพ์ครั้งที่ 1 ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2.พงศธร พอกเพิ่มด,บรรณาธิการ.สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุขนนทบุรี;2561.

กองสนับสนุนภาคประชาชน.ระบบสารสนเทศงานสุขภาพภาคประชาชน.สืบค้นเมื่อวันที่ 23ธันวาคม 2564 จาก https://www.thaiphc.net/new2020/medico_save

แจ่มนภา ใขคำ, ชลิยา ศิริกาล, ถนอมศักดิ์ บุญสู่, แก้วใจ มาลีลัย (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี.วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ ปีที่ 12 ฉบับที่ 2: กรกฎาคม –ธันวาคม 2561

ชาญชัย จิวจินดา (2562). รูปแบบการพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม.วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 (2561): พฤษภาคม - สิงหาคม 2561

ชลิยา ศิริกาล, แจ่มนภา ใขคำ, แก้วใจ มาลีลัย, ถนอมศักดิ์ บุญสู่ (2564). บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี.วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2564

ณฐนนท บริสุทธิ์ (2563).การศึกษาสถานการณ์และทิศทางการพัฒนา อสม.ในยุคประเทศไทย 4.0.กลุ่มพัฒนาสุขภาพภาคประชาชน กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

ตวงพร กตัญญุตานนท์ และคณะ (2561). การปฏิบัติงานเกี่ยวกับโรคเบาหวานตามบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน : โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ.วารสาร มฉก.วิชาการ ปีที่ 21 ฉบับที่ 42 มกราคม - มิถุนายน 2561

ปรางค์ จักรไชย,อภิชัย คุณีพงษ์,วรเดช ช้างแก้ว (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)ในทีมหมอครอบครัว จังหวัดปทุมธานี.วารสารพยาบาลสาธารณสุข มกราคม-เมษายน 2560 ปีที่ 31 ฉบับที่ 1

พรทวี สุวรรณพรม. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานด้านการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จ.อุบลราชธานี.วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุบลราชธานี ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2557

ฤทัยชนก เมืองรัตน์.วันอนามัยโลกกับกองหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า.สำนักภาษาต่างประเทศสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2566 จาก https://www..parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliamet_parcy/ewt_dl_link.php?nid=48356

วรัญญา จิตรบรรทัด (2560). ได้ศึกษาเรื่อง ความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ และความสามารถในการดูแลผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู,บ้าน และความพึงพอใจของผู้สูงอายุในตำบลนาเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช.วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล ปีที่ 23 ฉบับที่ 1 : มกราคม-มิถุนายน 2560

วิเชียร มูลจิตร์ (2564).ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี.วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2564

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี.HDC On Cloud จังหวัดสระบุรี.;2564 สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2564 จาก http://203.157.102.119/hdc

อมรศรี ยอดคำ, มนวดี ประกายรุ้งทอง, วิโรจน์ เล้งรักษา, ชุติสุดา เนติกุล, เอื้องไพร อัศวศรีอนันต์.วิวัฒนาการ การสาธารณสุขมูลฐานในประเทศไทย (พ.ศ.2521-พ.ศ.2557).นทบุรี:กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ;2557. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 ม.ค. 2565 จาก http://phc.moph.go.th/www_hss/data_center/ifm_mod/nw/phc-thai.pdf

Bloom, B. S. et al., (1971). Handbook on formative and summative evaluation

of student Learning. New York : McGraw – Hill Book Company.

Daniel, W. W. (1995). Biostatistics: A Foundation of Analysis in the Health Sciences (6thed.). New York: John Wiley & Sons.

Herzberg, F. et al., (1993). The motivation to work. U.S.A.: Transaction Publishers.

Henry, A. (1995). Consumer Behavior and Marketing Action. The United of America:

International Thomson Publishing.

House, J.S. and Kahn, R.L. (1985). Meansures and concepts of social support in Cohen,S. And Syme, S.L. Social Support and health.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29