การประเมินสิ่งคุกคามในสภาพแวดล้อมการทำงานของบริษัทอุตสาหกรรมผลิต ชิ้นส่วนรถยนต์แห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง

ผู้แต่ง

  • นันทิรา วรกาญจนบุญ -
  • กุลธิดา กิ่งสวัสดิ์
  • พรนิภา ซินรัตน์
  • ภัทรา กับพะวงค์
  • อพิเชษฐ วิจิตร
  • ธนเดช ทองมาลัย

คำสำคัญ:

การประเมินสิ่งคุกคามทางกายภาพ , ความร้อน , เสียงดัง , ความเข้มแสงสว่าง , อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนรถยนต์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการประเมินปัจจัยสิ่งคุกคามในสภาพแวดล้อมของอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนรถยนต์แห่งหนึ่งใน
จังหวัดระยอง วัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและประเมินปัญหาทางด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของพนักงานในกระบวนการปั๊มขึ้นรูปโลหะ โดยใช้เครื่องมือทางสุขศาสตร์อุตสาหกรรม คือ เครื่องวัดความร้อน แสงสว่างและเสียงแล้วนำผลมาเปรียบเทียบกับมาตรฐานความปลอดภัยตามกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการและดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2559 และมาตรฐาน ACGIH (2017) ที่ได้รับความน่าเชื่อถือสูงจากทั่วโลกด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม
ผลการสำรวจปัญหาทางด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม พบส่วนใหญ่เป็นปัญหาด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่
ความร้อน เสียงดัง และแสงสว่าง โดยผลการประเมินระดับความร้อน (WBGT) เฉลี่ยเท่ากับ 28.94 + 0.85 0
C เทียบกับมาตรฐานของกฎกระทรวงฯ พบว่าผ่านเกณฑ์ทั้งหมดและเทียบกับมาตรฐาน ACGIH พบว่า 4 จุดที่ไม่ผ่านเกณฑ์ คืออุณหภูมิอยู่ในช่วง 29.1–30.5 o C คิดเป็นร้อยละ 44.44 ผลการตรวจวัดระดับเสียงดัง TWA เฉลี่ยเท่ากับ 82.71 + 2.56 dB(A) ส่วนใหญ่ ผ่านเกณฑ์ทั้งสองมาตรฐานมีเพียง 1 จุด ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ คือระดับเสียงเฉลี่ย 86 dB(A) คิดเป็นร้อยละ 14.3 และผลการตรวจวัดความเข้มของแสงสว่าง พบว่าทุกจุดผ่านเกณฑ์มาตรฐานของกฎกระทรวงฯ
โดยสรุปผลการประเมินส่วนใหญ่จะอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานแต่มีค่าค่อนข้างสูง จึงเห็นควรเสนอแนวทางการเฝ้าระวัง
และแนวทางปรับปรุงพื้นที่การทำงานดังกล่าว เพื่อป้องกันปัญหาด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานต่อไป

References

ชุติกา เกียรติเรืองไกร, พรชนก เทพขาม และวัชรินทร์ ชินวรวัฒนา. 10 ปีอุตสาหกรรมไทย เรามาไกลแค่ไหน. สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย. 2563;165: 1-12

สุดารัตน์ พงษ์พิทักษ. คลัสเตอร์อุตสาหกรรม. วารสารส่งเสริมการลงทุน. 2558:26: 22-28

ปัญจ์ปพัชรภร บุญพร้อม, สุคนธ์ ขาวกริบ และสิทธิพันธุ์ ไชยนันทน. การตรวจวัดสิ่งคุกคามในสภาพแวดล้อมการทำงานของพนักงานโรงงานซักฟอกย้อม เครื่องนุ่งห่มแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. 2562; 8(1): 18-33

สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน). [อินเตอร์เน็ต] กรุงเทพฯ; 2564 [วันที่อ้างถึง 4 สิงหาคม 2565]. ที่มา https://www.tosh.or.th/index.php/blog/item/901-2021-06-02-06-54-17

กรมสุขภาพจิต. [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ; กระทรวงสาธารณสุข, 2562. [วันที่อ้างถึง 4 กุมภาพันธ์ 2566]. ที่มา: https://dmh.go.th/newsdmh/view.asp?id=29557.

วัชราภรณ์ วงศ์สกุลกาญจน์. แสงสว่างในสถานที่ทำงาน. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ. 2564; 14(1): 1-11.

Giahia O., Darvishia E., Aliabadib M. and Khoubia J., The efficacy of radiant heat controls on workers’heat stress around the blast furnace of a steel industry. Work. 2016; 53: 293–298.

ปวิณา คังฆะมณี, ธิติมา ณ สงขลา และวันเพ็ญ ทองสุข. การประเมินและวิเคราะห์สาเหตุระดับเสียงดังจากการทำงาน ในอุตสาหกรรมบริการบำรุงรักษาและการตรวจสอบท่อปิโตรเลียม แห่งหนึ่งในจังหวัดสงขลา. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 2563; 2(2); 1-13

พจน์ ภาคภูมิ และพงษ์สิทธิ์ บุญรักษา. การประเมินแสงสว่างในสถานที่ทำงานในช่วงเวลากะกลางวันและกลางคืนของโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์แห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2561; 11(1); 78-85.

กรมอุตุนิยมวิทยา [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, 2565 [วันที่อ้างถึง 20 มกราคม 2565] ที่มา https://www3.tmd.go.th/climate/summaryyearly/2021#

U.S. Department of Labor, Occupational Safety and Health Administration, OSHA Technical Manual –Section III, www.osha.gov/dts/osta/otm_iii/otm_iii_4.html, 2006.

ACGIH, 2017 TLVs and BEIs: Threshold Limit Values for chemical substances and physical agents & Biological Exposure Indices. Cincinnati, OH: ACGIH, 2017

กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่างและเสียง พ.ศ. 2559 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอนที่ 91 ก 17 ตุลาคม 2559 หน้า 4

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานระดับเสียงที่ยอมให้ลูกจ้างได้รับเฉลี่ย ตลอดระยะเวลาการทำงานในแต่ละวัน พ.ศ. 2560 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนพิเศษ 19 ง 26 มกราคม 2561 หน้า 15

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง พ.ศ. 2560 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนพิเศษ 39 ง ราชกิจจานุเบกษา 21 กุมภาพันธ์ 2561

Krishnamurthy M, Ramalingam P, Perumal K, Kamalakannan LP, Chinnadurai J, Shanmugam R, et al. Occupational heat stress impacts on health and productivity in a steel industry in Southern India, Safety and Health at Work; 2017; 8(1): 99-104

สุมิตรา ดอกเข็ม, วันทนี พันธุ์ประสิทธิ์, วรกมล บุณยโยธิน, อรุณรักษ์ คูเปอร์ มีใยและอริยะ บุญงาม-ชัยรัตน์. ดัชนีชี้วัดการตอบสนองของร่างกายต่อความร้อนที่เหมาะสม สำหรับคนงานในโรงงานหล่อหลอมโลหะ. วารสารความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม: 2560; 2(1); 51-56

Kumthekar M. B., Kshirsagar Ar. P., Controlling Techniques of Noise Pollution in the Forging Industry. International Research Journal of Engineering and Technology (IRJET). 2019. 6(4); 5117-20

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2566 [วันที่อ้างถึง 10 มีนาคม 2566]. ที่มา

https://datacenter.deqp.go.th/knowledge

วิฑูรย์ สิมะโชคดี, วีระพงษ์ เฉลิมจิระรัตน์. วิศวกรรมและการบริหารความปลอดภัยในโรงงาน. พิมพ์ครั้งที่ 19. กรุงเทพมหานคร: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น); 2548.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-01