การรับรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ที่มารับบริการในศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 1 เทศบาลนครขอนแก่น
คำสำคัญ:
การรับรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, โรคเบาหวานบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
โรคเบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุขของประเทศไทย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ การที่ผู้ป่วยมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี อาจจะเป็นแนวทางหนึ่ง ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ การวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเอง การรับรู้ด้านสุขภาพและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ที่มารับบริการในศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 1 เทศบาลนครขอนแก่น จำนวน 225 คน รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการดูแลตนเองในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 58.67) มีพฤติกรรมในระดับดีมากด้านการใช้ยาเบาหวาน (ร้อยละ 76.44) และการดูแลสุขภาพอนามัยร่างกาย (ร้อยละ 55.11) มีพฤติกรรมในระดับปานกลางด้านการจัดการความเครียด การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย การรักษาต่อเนื่อง การป้องกันภาวะแทรกซ้อน และการควบคุมน้ำตาลในเลือด ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีการรับรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 85.33) ทุกด้าน ยิ่งไปกว่านั้น การรับรู้ความรุนแรงของโรค พบว่ามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมด้านการจัดการความเครียด การใช้ยาเบาหวาน การป้องกันภาวะแทรกซ้อน การรับรู้ประโยชน์แห่งตนสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการออกกำลังกาย การจัดการความเครียด การดูแลสุขภาพร่างกาย การใช้ยาเบาหวาน และการรับรู้อุปสรรคสูงสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการควบคุมอาหาร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า ควรส่งเสริมการรับรู้ด้านสุขภาพเพื่อสนับสนุนให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่เหมาะสมครอบคลุมทุกด้าน เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
References
เอกสารอ้างอิง
กรมควบคุมโรค. ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมได้. ค้นเมื่อ 19 กันยายน 2564, จาก http://healthkpi.moph.go.th/kpi/kpi-list/view/?id=169”, 2564.
กรมควบคุมโรค. กรมควบคุมโรค เผยสถานการณ์โรคเบาหวานทั่วโลก มีผู้ป่วยแล้ว 537 ล้านคน มีส่วนทำให้เสียชีวิต สูงถึง 6.7 ล้านคน หรือเสียชีวิต 1 ราย ในทุกๆ 5 วินาที.ค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2565, จาก https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/181256/, 2565.
งานข้อมูลศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 1 เทศบาลนครขอนแก่น. ผลการคัดกรองผู้ป่วยเบาหวาน ประจำปี 2564. ขอนแก่น: งานข้อมูลศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 1 เทศบาลนครขอนแก่น, 2564.
ชลธิดาวรรณ เด่นไชยรัตน์. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้ในชุมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิม
พระเกียรติ, 2563
ดวงพร กตัญญุตานนท์ และคณะ. พฤติกรรมดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง สถานี อนามัยแห่งหนึ่ง ในตำบลบางเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 6(2), 53-62, 2560.
ธนวัฒน์ สุวัฒนกุล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 12(3), 515-522, 2561.
ปถมาพร พันธุ์อุบล. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะสุขภาพ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของข้าราชการตํารวจวัยทอง ในจังหวัดชลบุรี. สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2553.
ภาณุมาศ ไกรสัยและวลัยนารี พรมลา. การรับรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน. วารสารบัณฑิตศาส์น, 15(2), 101–110, 2561.
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าข้าม. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่.เชียงใหม่: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าข้าม, 2560.
วรรณรา ชื่นวัฒนาและณิชานาฏ สอนภักดี. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลบางแม่นาง อำเภอบางใหญ่จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยปทุมธานี, 6(3), 163-170, 2557.
วิสุทธิ์ โนจิต และคณะ. ปัจจัยทํานายพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อําเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัย
ราชภัฏกาญจนบุรี, 8(2), 200-212, 2562.
ศศิวรรณ ขันทะชาและเบญจา มุกตพันธุ์. ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการดูแลตนเองและความเชื่อเกี่ยวกับโรคเบาหวานกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในพื้นที่ที่มีความหลากหลายเชื้อชาติ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม. ศรีนครินทร์เวชสาร, 36(1), 97-104, 2564.
สุภาพร นันทศักดิ์, วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัยและกมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้โดยใช้แบบจำลองการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง ของ รพ.สต. บึงสนั่น. วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา, 14(2),78-89, 2559
อรนุช ประดับทอง และคณะ. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. การพยาบาล การสาธารณสุข และการศึกษา, 21(1), 55-67, 2563.
อภิญญา บ้านกลาง, อุดมลักษณ์ ดวงผุนมาตย์และปริศนา รถสีดา. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น, 23(1), 85-95, 2559.
ฤทธิรงค์ บูรพันธ์และนิรมล เมืองโสม. ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลสร้างคอมจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(3), 102-109, 2556.