ประสิทธิผลของโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจในการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงต่อภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในกลุ่มผู้สูงอายุ ตำบลฝายกวาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
คำสำคัญ:
โปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจ , ภาวะน้ำตาลต่ำ , พฤติกรรมเสี่ยง , ผู้ป่วยเบาหวานในกลุ่มผู้สูงอายุบทคัดย่อ
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและพบได้บ่อยในผู้สูงอายุโรคเบาหวาน การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจในป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงต่อภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในกลุ่มผู้สูงอายุจำนวน 50 คน กลุ่มทดลองจำนวน 25 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ จำนวน 25 คน โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจในการป้องกัน เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Repeated measures ANOVA และ Indeprndent t-test ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความรุนแรง การรับรู้โอกาสเสี่ยง ความคาดหวังในประสิทธิผลของการตอบสนองในการป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ มากกว่าก่อนการทดลองและมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) คะแนนการกำกับพฤติกรรมตนเองในการป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำของกลุ่มทดลองระยะติดตามผลมากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) จากผลการวิจัย จึงเสนอแนะว่าเจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรนำโปรแกรมไปใช้ในการพัฒนาการรับรู้ ความคาดหวัง และพฤติกรรมของผู้ป่วยให้เหมาะสม
References
Miller, ME, et al. The effects of baseline characteristics, glycaemia treatment approach, and glycatedhaemoglobin concentration on the risk of severe hypoglycaemia: post hocepidemiological analysis of the ACCORD study. British Medical Journal 2010;340.
Bruce, DG, et al. Severe hypoglycaemia and cognitive impai rment in older patient with diabetes: the Fremantle Diabetes Study. Diabetologia 2009;52;1808-1815.
Lin, YY, et al. Risk factors for recurrent hypoglycemia in with hospitalized diabetic Patients admitted for severe hypoglycemia, Yonsei Medical Journal 2010;51:367-374.
บำเหน็จ แสงรัตน์, รุจิรัตน์ ผัดวัน, มยุรี ศรีธิการ, กชวรรณ นงค์แย้ม, และมณฑารัตน์ ประยูรพัฒนะ.ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับผู้ป่วยเบาหานที่มีภาวน้ำตาลในเลือดต่ำ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. วารสารพยาลทหารบก. 2559;25(3): 11-19.
โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์. เบาหวานรู้ทันป้องกันได้ [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 15 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก:https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/diabetes-2
ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพกระทรวงสาธารณสุขจังหวัดพะเยา. [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 15 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php
ข้อมูลคลังยาผู้ป่วยโรคเบาหวานโรงพยาบาลเชียงคำในระบบ Hosxp.XE. [อินเทอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 15 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ckh.moph.go.th/
เบญจมาศ สุขศรีเพ็ง. ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค (Protection motivation theory) [อินเทอร์เน็ต]. 2555 [เข้าถึงเมื่อ 15 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.gotoknow.org/posts/115747
ปิยนันท์ สวัสดิ์ศฤฤงฆาร. แนวปฏิบัติ8ประการในการกำกับควบคุมตนเอง [อินเทอร์เน็ต]. สารนุกรมการบริหารและการจัดการ; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 20 พฤษภาคม 2565] เข้าถึงได้จาก: https://drpiyanan.com/2021/08/19/8-ways-to-improve-self-regulation/?fbclid=IwAR3GwUflbnxPn7ueqIJleFtRhNiE923VTkW5QCEfAS3-oiMjawwanlqV34U
Danial AC & Veiga EV. (2013). Factors that interfere the medication compliance inhypertensive patients. Einstein, 11(3); 331-337.
Best, JW, Research in education. New jersey: Prentice-Hall, 1981.
Rovinelli, RJ, & Hambleton, RK. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2;49-60.
Cronbach, LJ. Essentials of psychological testing. 5th ed. New York: Harper Collins Publishers; 1990.
ขวัญเรือน ก๋าวิตู และ ชนิดา มัททวางกูร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานที่อาศัยอยู่ในชุมชนรอบมหาวิทยาลัยสยาม. วารสารพยาบาลศาสต์มหาวิทยาลัยสยาม. 2563;20(38): 82-95.
สิริรัตน์ สถิตเสถียร. ผลโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจในการป้องกันที่มีต่อพฤติกรรมการป้องกันการเกิดแผลที่เท้าในผู้ป่วยโรคเบาหวาน อำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี:มหาวิทยาลัยบูรพา.
พลอย ทรัพย์ไพบูรย์กิจ, ศิวพร อึ้งวัฒนา, และเดชา ทำดี. ผลของโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจต่อพฤติกรรมบริโภคอาหารและระดับน้ำตาลในเลือดผู้ที่มีภาวะเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้. วารสารเกื้อการุณย์. 2563;27(1): 21-33.
จันจิรา ภู่รัตน์ , ปาหนัน พิชยภิญโญ, และสุนีย์ ละกำปั่น. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการกำกับตนเองต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารเกื้อการุณย์. 2563;27(1): 21-33.