การพัฒนาคุณภาพการบันทึกเวชระเบียบผู้ป่วยในของโรงพยาบาลยโสธร

ผู้แต่ง

  • สุนนท์ จันทร์แก้ว -
  • วรพจน์ พรหมสัตยพรต
  • จตุพร เหลืองอุบล

คำสำคัญ:

เวชระเบียบผู้ป่วยใน , การพัฒนาคุณภาพบันทึกเวชระเบียบ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพการบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยในของโรงพยาบาลยโสธร เลือกพื้นที่ดำเนินการและกลุ่มตัวอย่างในการพัฒนาแบบเฉพาะเจาะจง (Perposive Sampling) กลุ่มตัวอย่างคือคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพเวชระเบียน จำนวน 33 คน เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้คู่มือตรวจประเมินคุณภาพการบันทึกเวชระเบียน(Medical Record Audit Guideline) 2563 ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนโดยใช้สถิติ Z-test Statistic ข้อ มูลเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกต แบบบันทึกการประชุม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนาคุณภาพการบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยในของโรงพยาบาลยโสธร มีกระบวนการ 9 ขั้นตอนได้แก่ 1) การศึกษาบริบทของปัญหาการบันทึกคุณภาพการบันทึกเวชระเบียน 2) การจัดประชุมว่างแผนเชิงปฏิบัติการ 3) จัดทำแผนปฏิบัติการ 4) การปฏิบัติการตามแผน 5) การนิเทศติดตาม 6) ประเมินผลการพัฒนาคุณภาพการบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยใน 7) การเปรียบเทียบผล 8) การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 9) สรุปผล การพัฒนาตามขั้นตอนได้กระบวนการพัฒนาคุณภาพการบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยในของโรงพยาบาลยโสธร ได้แก่ การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์การประเมินแก่คณะกรรมการและผู้ที่สนใจ ตามคู่มือแบบประเมินคุณภาพการบันทึกเวชระเบียน 2563 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ได้แผนปฏิบัติการในการแก้ปัญหา สรุปผลกระบวนการดังกล่าว ผู้เข้าอบรมมีความรู้ตามเกณฑ์การประเมินเพิ่มขึ้น คือก่อนอบรมมีความรู้ระดับปานกลางร้อยละ 60 หลังอบรมคณะกรรมการมีความรู้ระดับดีร้อยละ 64 และระดับดีมากร้อยละ 32 และได้กระบวนการในการพัฒนาคุณภาพการบันทึกเวชระเบียนใน 4 เกณฑ์เร่งด่วน จากทั้งหมด 12 เกณฑ์การประเมิน ได้แก่ เกณฑ์ข้อที่ 3 Inform Consent คือ เกณฑ์ข้อที่ 4 History เกณฑ์ข้อที่ 5 Physical Exam เกณฑ์ข้อที่ 7 Consultation Record จะเห็นได้ว่าหลังการพัฒนามีการพัฒนาที่เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 50.33 55.78 71.29 77.78 ตามลำดับเพิ่มขึ้นร้อยละ 79.72 71.38 76.49 และ 58.02 จากข้อมูลจะเห็นได้ว่าเกณฑ์ข้อที่ 7 Consultation Record มีร้อยละที่ลดลง ซึ่งคือโอกาสในการพัฒนาต่อไป ปัจจัยแห่งความสำเร็จคือการต่อยอดจากคณะกรรมการสู่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการบันทึกเวชระเบียน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาแบบบูรณาการ เสริมสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพการบันทึกเวชระเบียนร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้มากยิ่งขึ้น

References

เอกสารอ้างอิง

พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124/ตอนที่ 16 ก/หนหา 1/19 มีนาคม 2550.

แสงเทียน อยู่เถา. การบริหารงานเวชระเบียน. นนทบุรี: กอล์ฟ กราฟิกแอนด์พริ้นติ้ง; 2557

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล(องค์กรมหาชน) สภาการพยาบาล. คู่มือการตรวจประเมินคุณภาพการบันทึกเวชระเบียน. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2563.

Kemmis and McTaggart. The Action Research Planer (3rd ed.). Victoria: Deakin University; 1988

งานเวชระเบียนผู้ป่วยใน โรงพยาบาลยโสธร. รายงานเวชระเบียนผู้ป่วยใน โรงพยาบาลยโสธร. ยโสธร: งานเวชระเบียนผู้ป่วยใน; 2564.

ประวีณ พิมพ์หอม. ผลของโปรแกรมการจัดการความรู้องทีมสหวิชาชีพด้านการบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยในโรงพยาบาลเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย.การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง หลักสูตรปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยพะเยา; 2556

ดวงใจ ชัชวรัตน์. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสมบูรณ์ในการบันทึกเวชระเบียนของแพทย์ : กรณีศึกษาโรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัยในภาคกลาง. สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ หาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2557.

สวรส แก้วศรีทัศน์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยใน ของทีมสหวิชาชีพ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2561; 15(3): 135-141.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29