การศึกษาประสิทธิผลของการใช้ตำรับสเปรย์สมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อน ในการรักษาโรคลมจับโปงแห้งเข่า

ผู้แต่ง

  • ศศิพิสุทธิ์ หงษ์สมบัติ -
  • ภัทรพล อุดมลาภ
  • ปรางทอง ชนิพันธ์

คำสำคัญ:

ตำรับสเปรย์สมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อน , ลมจับโปงแห้งเข่า , ประสิทธิผล

บทคัดย่อ

             สมุนไพรรักษาอาการข้อเข่าเสื่อมมีหลายชนิด สมุนไพรมีทั้งฤทธิ์ร้อนและฤทธิ์เย็น ซึ่งให้ผลในการรักษาแตกต่างกัน ตามหลักแพทย์แผนไทย หากเป็นข้อเข่าเสื่อมประเภทลมจับโปงแห้งเข่า ให้ใช้สมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้ตำรับสเปรย์สมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อน ในการรักษาโรคลมจับโปงแห้งเข่า เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ขนาดของกลุ่มตัวอย่างคำนวณโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป G*Power 3.1.9.7 จำนวน 15 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์การคัดเลือกตัวอย่าง ได้รับการรักษาโดยพ่นสเปรย์สมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อนทุกวัน 2 เวลา เช้าและก่อนนอน ห้ามล้างออกจนกระทั่งครบ 6 ชั่วโมง 12 สัปดาห์ ประเมินก่อนและหลังด้วยการวัดการบวม วัดความรู้สึกปวดโดยใช้ VAS วัดองศาการเคลื่อนไหวข้อเข่าในท่านอนหงายเหยียดตรง-งอเข่า ประเมินความรุนแรงของข้อเข่า โดยใช้ Knee and Osteoarthritis Outcome Score (KOOS) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐาน dependent samples t-test

               ผลการวิจัยพบว่าตำรับสเปรย์สมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อน ที่สกัดจากสมุนไพร 6 ชนิด ประกอบด้วย ไพล เถาวัลย์เปรียง ขมิ้นชัน ใบมะรุม พลู ขิง สามารถลดอาการบวม ลดอาการปวด เพิ่มความสามารถในการเหยียดตรง-งอเข่า และลดความรุนแรงของข้อเข่าเสื่อม ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) โดยลดอาการบวม 4.32% ลดอาการปวด 23.63% เพิ่มความสามารถการเหยียดตรง 2.27% เพิ่มความสามารถการงอเข่า 10.32% ความรุนแรงของข้อเข่าเสื่อมลดลง 26.55% สรุปได้ว่า ตำรับสเปรย์สมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อน เป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมประเภทลมจับโปงแห้งเข่า

            

References

Cross M, Smith E, Hoy D, Nolte S, Ackerman I, Fransen M, March L. The global burden of hip and knee osteoarthritis: Estimates from the global burden of disease 2010 study. Annals of the Rheumatic Diseases 2014; 73(7): 1323-30.

Haq SA, Davatchi F. Osteoarthritis of the knees in the COPCORD world. InternationalJournal of Rheumatic Diseases 2011; 14(2): 122-9.

Walke JM, Helewa A. Physical rehabilitation in arthritis. 2nd. St. Louis: Saunders; 2004.

Fransen M, Simic M, Harmer AR. Determinants of MSK health and disability: Lifestyle determinants of symptomatic osteoarthritis. Best Practice & Research Clinical Rheumatology 2014; 28(3): 435-60.

นงพิมล นิมิตรอานันท์. สถานการณ์ทางระบาดวิทยาและการประเมินความเสี่ยงโรคข้อเข่าเสื่อมในคนไทย. วารสารพยาบาลทหารบก 2557; 15(3): 185-94.

Juni P, Egger M, Villiger P, Tschannen B, Hildebrand P, Wandel S, et al. Cardiovascular safety of non-steroidal anti-inflammatory drugs: network meta- analysis. British Medical Journal 2011; 342: 1-11.

โรงเรียนอายุรเวทธำรง สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล. หัตถเวชกรรมแผนไทย (การนวดไทยแบบราชสำนัก) ตอนที่ 2 : การนวดกดจุดสัญญาณ. กรุงเทพมหานคร: ศุภวนิชการพิมพ์; 2557

Jeenapongsa R, Yoovathaworn K, Sriwatanakul KM, Pongprayoon U, Sriwatanakul K. Anti-inflammatory activity of (E)-1-(3, 4- dimethoxyphenyl) butadiene from zingiber cassumunar roxb. J Ethnopharmacol 2003; 87(2-3): 143–8.

Chongmelaxme B, Sruamsiri R, Dilokthornsakul P, Dhippayom T, Kongkaew C, Saokaew S, et al. Clinical effects of Zingiber cassumunar (Plai): A systematic review. Complement Ther Med 2017;35:70-7.

Gupta SS, Chandra D, Mishra N. Anti-inflammatory and antihyaluronidase activity of volatile oil of Curcuma longa (Haldi). Ind J Physiol Pharma 1972; 16: 254.

Chandra D, Gupta SS. Antiinflammatory and antiarthritic activity of volatile oil of Curcuma longa. Indian J Med Res 1972; 60: 138-42.

Lyengar MA, Rao MPR, Rao SG, Kamath MS. Antiinflammatory activity of volatile oil of Curcuma longa leaves. Indain Drugs 1994; 31: 528-31.

อัญชลี จูฑะพุทธิ และอุไรวรรณ เพิ่มพิพัฒน์. ฤทธิ์ต้านอักเสบของเหง้าขมิ้นชัน. ว. กรมวิทย พ.ศ 2537; 36(4): 197-209.

Department of Medical Sciences. Thai Herbal Pharmavopoeia. Vol.1. Bangkok: Prachachon Co., Ltd.; 1998.

ปุณยนุช อมรดลใจ. ประสิทธิผลและความปลอดภัยของสารสกัดขิงนาโน ลดอาการปวดในผู้ป่วยโรคเข่าเสื่อม [วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2557.

Sulaiman MR, Zakaria ZA, Bujarimin AS, Somchit MN, Israf DA, Moin S. Evaluation of Moringa oleifera aqueous extract for antinociceptive and antiinflammatory activities in animal models. Pharm Biol 2008; 46: 838-45.

บัลกีส มามะ นูรีชัน นิสัน ศุภรัตน์ ดวนใหญ่ และ สุชาดา มานอก. การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากใบมะรุมที่พบในชุมชนศรีภูมิในพื้นที่ฝั่งธนบุรี. ว.เภสัชศาสตร์อีสาน 2560; 13(2): 80-9.

Ganguly S, Mula S, Chattopadhyay S, Chatterjee M. An ethanol extract of Piper Betle Linn. mediates its anti-inflammatory activity via down-regulation of nitric Oxide. J Pharm Pharmacol 2007; 59: 711-8.

Hajare R, Darvhekar VM, Shewale A, Patil V. Evaluation of antihistaminic activity of Piper betel leaf in guinea pig. Afr J Pharm Pharmaco 2011; 5: 113-7.

Rathee JS, Patro BS, Mula S, Gamre S, Chattopadhyay S. Antioxidant activity of Piper betel leaf extract and its constituents. J Agric Food Chem 2006; 54: 9046-54.

Vaghasiya Y, Nair R, Chanda S. Investigation of some Piper species for anti-bacterial and anti-inflammatory property. Int J Pharmcology 2007; 3: 400-5.

Sarkar D, Saha P, Gamre S, Bhattacharjee S, Hariharan C, Ganguly S, Sen R, Mandal G, Chattopadhyay S, Majumdar S, Chatterjee M. Anti-inflammatory effect of allylpyrocatechol in LPS-induced macrophages is mediated by suppression of iNOS and COX-2 via the NF-kB pathway. Int Immunopharmacol 2008; 8: 1264-71.

Laupattarakasem P, Houghton PJ, Hoult JR, Itharat A. An evaluation of the activity related to inflammation of four plants used in Thailand to treat arthritis. J Ethnopharmacol 2003; 85: 207-15.

อรพรรณ อาญาเมือง. การวิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญ การทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบและการพัฒนาตำรับครีมสารสกัดยาผสมเถาวัลย์เปรียง [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต].มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2563.

รวิพร วิบูลย์กิจวรกุล ณัฏฐภัทร์ภร เพ็งโตวงษ์. ฤทธิ์ลดการอักเสบของสารสกัดเถาวัลย์เปรียง ในหนูแรท [ปริญญาเภสัชศาสตรบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2557

ศิริพร แย้มมูล เจษฎา อุดมพิทยาสรรพ์ อิศรา ศิรมณีรัตน์. ประสิทธิผลของการพอกเข่าด้วยตำรับสมุนไพรต่ออาการปวดเข่าในผู้ป่วยโรคจับโปงแห้งเข่า โรงพยาบาลบ้านโคก อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์. The Journal of Boromarjonani College of Nursing Suphanburi 2561;1:16-27.

สุพัตราพร คุ้มทรัพย์ ยงยุทธ วัชรดุล ศุภะลักษณ์ ฟักคำ. การศึกษาผลของยาพอกสมุนไพรต่อการรักษาอาการปวดในโรคข้อเข่าเสื่อมของผู้สูงอายุในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังหว้า อำเภอศรีประจันต์จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น 2563; 17: 275-284.

American Academy of Orthopedic Surgeons [AAOS]. Treatment of osteoarthritis ofthe knee: evidence-based guideline. 2nd ed. Illinois: American Academy of Orthopedic Surgeons; 2013.

Roberts J, Burch TA. Osteoarthritis prevalence in adults by age, sex, race, and geographic area. Vital Health Stat 1966; 11: 1-27.

อรสา สารพันโชติวิทยา. การวิจัยและพัฒนายาสมุนไพร: สมุนไพรกระตุ้นภูมิคุ้มกันและต้านอักเสบ (พิมพ์ครั้งที่ 2). พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2564.

ธีระ ผิวเงิน และ ขนิษฐา ทุมา. การเปรียบเทียบผลของการใช้ลูกประคบไพลและลูกประคบเถาวัลย์เปรียงต่ออาการปวดในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 2563; 18(2): 298-306.

Niempoog S, Siriarchavatana P, Kajsongkram T. The efficacy of Plygersic gel for use in the treatment of osteoarthritis of the knee. J Med Assoc Thai 2012; 95(10): 113-9.

Sutar N, Bonde CG, Patil VV, Narkhede SB, Patil AP, Kakade RT. Analgesic activity of seeds of Moringa oleifera Lam. Int J Green Pharm 2008; 2: 108-10.

สุภาภรณ ปติพร. บันทึกของแผนดิน 2 ผักเปนยารักษาขีวิต. ปราจีนบุรี: มูลนิธิโรงพยาบาลเจาพระยาอภัยภูเบศร; 2552.

วารณี ประดิษฐ์ สิริวดี ชมเดช และ กรกฎ งานวงศ์พาณิชย์. งานวิจัยสมุนไพรไทยสําหรับการรักษาโรคขอเสื่อม. ว.วิทย. มข 2557; 42(2): 289-302.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-01