ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ในอำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร

ผู้แต่ง

  • พฤกษา มะหลัด คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • วรกร วิชัยโย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • ธันวา ใจเที่ยง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, การส่งเสริมสุขภาพ, พฤติกรรม

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            การส่งเสริมสุขภาพที่ถูกต้องและเหมาะสมกับผู้สูงอายุเพื่อให้มีสุขภาพที่ดี ซึ่งจะช่วยลดการเจ็บป่วย ลดภาวะพึ่งพิง และสามารถดูแลตนเองได้ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytical study) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในอำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์จากกลุ่มตัวอย่าง 330 คน ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เชิงอนุมานใช้ค่า Chi-square test, Odd Ratio, 95%CI กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value < 0.05

            ผลการวิจัย พบว่า ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 88.50 และมีปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ จำนวน 8 ตัวแปร ดังนี้ ข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ 1) รายได้ไม่พอเพียงและเพียงพอแต่ไม่เหลือเก็บ เป็น 4 เท่า 2) พักอาศัยอยู่กับคู่สมรส เป็น 1.63 เท่า 3) ห้องน้ำแบบส้วมซึมเป็น 3.32 เท่า 4) มีบุคคลที่พึ่งพาได้ เป็น 7.60 เท่า 5) ชนเผ่าภูไท เป็น 1.75 เท่า ปัจจัยนำ ได้แก่ 6) คะแนนความรู้อยู่ในระดับสูง เป็น 8 เท่า 7) การรับรู้ประโยชน์อยู่ในระดับสูง เป็น 2.29 เท่า และ 8) ปัจจัยเสริม ได้แก่ การได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว เพื่อน/เพื่อนบ้าน และบุคลากรด้านสุขภาพ เป็น 3.30 เท่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้คือ ควรเพิ่มการรับรู้ประโยชน์เกี่ยวกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพบุคคลในครอบครัวและชุมชน เพื่อสร้างความเข้าใจและสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

References

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมกิจการผู้สูงอายุ กรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย สถิติผู้สูงอายุ [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 28 พ.ย. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dop.go.th/th/know/side/1/9/158

คลังข้อมูลสุขภาพ Heath Data Center (HDC) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร กลุ่มรายงานมาตรฐาน ประชากรจำแนกเพศ กลุ่มอายุรายปี [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 22 เม.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://mdh.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php

นงลักษณ์ ทับประทุม. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ตำบลหนองโสน

อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต].

กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก; 2560

นรลักขณ์ เอื้อกิจ และลัดดาวัลย์ เพ็ญศรี. การประยุกต์ใช้แนวคิด PRECEDE MODEL

ในการสร้างเสริมสุขภาพ. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย2565;12:38-48.

ปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์ และคณะ. พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุอาศัยในชุมชนชานเมือง จังหวัดขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร2561;33:153-160.

พงศธร ศิลาเงิน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุในจังหวัดพะเยา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2560

วาสนา สิทธิกัน. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบล บ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่; 2560

ศิรประภา สมัตถะ และกาญจนา นาถะพินธุ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุของผู้สูงอายุในชุมชน ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี2564;4:89-101.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางการแพทย์และสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 4. ขอนแก่น: บริษัท คลังนานาวิทยา; 2551.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29