ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดปอดอักเสบจากโควิด 19 ในผู้ป่วยโรคโควิด 19 ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลบ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • อารีรัตน์ ชิยางคะบุตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • เลิศชัย เจริญธัญรักษ์
  • ทวีรัชต์ ศรีกุลวงศ์

คำสำคัญ:

ปัจจัยเสี่ยง, ปอดอักเสบ, โควิด 19, ปอดอักเสบในโควิด 19

บทคัดย่อ

          ผู้ป่วยโรคโควิด 19 ที่มีอาการรุนแรงส่วนใหญ่มักมีสาเหตุหลักจากการเกิดภาวะปอดอักเสบจากเชื้อ SARs-COV-2 การทราบถึงปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดปอดอักเสบจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ลดอาการของผู้ป่วยในระยะรุนแรงตลอดจนการเสียชีวิตได้  วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ของการเกิดปอดอักเสบในผู้ป่วยโควิด 19 และศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคปอดอักเสบในผู้ป่วยโควิด 19 ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลบ้านผืออำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี วิธีการศึกษา เเบบ Retrospective cohort study รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบคัดลอกข้อมูลจากประวัติการรักษาของผู้ป่วย และNovelcorona2 ในเดือน เมษายน 2564 - เมษายน 2565 กลุ่มตัวอย่าง 430 ราย วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยโดยใช้สถิติ Generalized Linear Model นำเสนอ ค่า Adjusted relative risk (adjRR) ,95%CI และค่า p-value ผลการศึกษา พบว่ามีค่าอุบัติการณ์ของการเกิดปอดอักเสบในผู้ป่วยโควิด 19 ร้อยละ 26.5 และปัจจัยที่มีความความสัมพันธ์กับการเกิดโรคปอดอักเสบจากโควิด 19 เมื่อควบคุมผลกระทบจากตัวแปรที่เหลือในสมการสุดท้ายแล้ว พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ได้แก่ อายุ (RRAdj = 2.28, 95%CI = 1.48-3.52, p-value <0.001) ดัชนีมวลกาย (RRAdj = 2.37, 95%CI = 1.53-3.67,  p-value <0.001)  และการมีโรคประจำตัว  (RRAdj = 1.86, 95%CI = 1.14-3.03, p-value = 0.013)ดังนั้น การกำหนดแนวทางมาตรการประเมินความเสี่ยงที่เป็นมาตรฐานเพื่อใช้ประเมิน คัดแยกและเพิ่มระดับการเฝ้าระวังผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงทั้งในและนอกสถานพยาบาล จึงเป็นประโยชน์ต่อการลดอัตราการเกิดปอดอักเสบ อัตราการเจ็บป่วยรุนแรง และอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโควิด 19

References

Lu R, Zhao X, Li J, Niu P, Yang B, Wu H, et al. Genomic characterisation and epidemiology of 2019 novel coronavirus: implications for virus origins and receptor binding. Lancet 2020;395:565-74.

ศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์และการวิจัยและพัฒนา. รายงานข้อมูลสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19. 2565.

ศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินอำเภอบ้านผือ(CDCU). รายงานสถานการณ์โควิด – 19 อำเภอบ้านผือ. 2565.

World Health Organization. coronavirus disease (COVID-19) 2021 [Available from: https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/question-and-answers-hub/q-a-detail/coronavirus-disease-covid-19.

แพทย์โรคติดเชื้อและระบาดวิทยา. ความรู้พื้นฐาน COVID-19 ตอนที่ 1 2563. Available from: http://phoubon.in.th/covid-19/ความรู้เรื่อง%20COVID%20รามา.pdf.

กรมควบคุมโรค. แนวทางการเฝ้าระวังและสอบสวนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 20192563.

ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. รายงานสถานการณ์โควิด – 19 ประเทศไทย: กระทรวงมหาดไทย; 2564 [กระทรวงมหาดไทย:[Available from: https://www.moicovid.com/.

เปี่ยมลาภ แสงสายัณห์. อธิบายผลกระทบต่อปอด จากเชื้อไวรัสโควิด-19 2563 [Available from: https://covid19.workpointnews.com/k/อธิบายผลกระทบต่อปอด-จาก.

Hsieh FY, Bloch DA, Larsen MD. A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Stat Med 1998;17:1623-34.

Melendi SE, Pérez MM, Salas CE, Haedo MF, Xavier FB, Saltos Navarrete JD, et al. COVID-19 with and without pneumonia: clinical outcomes in the internal medicine ward. Medicina (B Aires) 2020;80 Suppl 6:56-64.

ปิยพัชร จึงสมานุกูล, ปัญจรัตน์ สุนทรสมิต, นงลักษณ์ บรรพตสุวรรณ์, นาตยา ปริกัมศีล, พยุง เมฆพยับ. อุบัติการณ์ ปัจจัยเสี่ยงและอัตราตายในผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มีภาวะวิกฤต และใช้เครื่องช่วยหายใจในโรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี. วารสารแพทย์เขต 4-5 2022;41:385-95.

พงษ์เดช สารการ, ฎลกร จำปาหวาย. ความครอบคลุมและยืดหยุ่น : ประเด็นที่ควรถูกพิจารณาสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยตัวแบบเชิงเส้นนัยทั่วไปในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน 2020;3:144-58.

ศุภณัฐ วณิชย์นิรมล, ศรัณย์ วีระเมธาชัย, ธนกมณ ลีศรี. อุบัติการณ์และปัจจัยเชิงทำนาย ภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มารับบริการศูนย์การตรวจค้นหาและคัดแยกโควิดครบวงจร โรงพยาบาลสระบุรี : การศึกษาระยะ 14 วันหลังการวินิจฉัย. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2022;16:343-55.

Gao Y-d, Ding M, Dong X, Zhang J-j, Kursat Azkur A, Azkur D, et al. Risk factors for severe and critically ill COVID-19 patients: A review. Allergy 2021;76:428-55.

Li X, Xu S, Yu M, Wang K, Tao Y, Zhou Y, et al. Risk factors for severity and mortality in adult COVID-19 inpatients in Wuhan. J Allergy Clin Immunol 2020;146:110-8.

ปิยนุช ปฏิภาณวัตร. ปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรงพยาบาลกาฬสินธุ์. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา 2022;7:64 - 71.

พิศาล ชุ่มชื่น, สิทธิชัย บรรจงเจริญเลิศ. อัตราตาย และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคโควิด-19โรงพยาบาลดําเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี. วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต 2565;2:25-37.

Gao F, Zheng KI, Wang X-B, Sun Q-F, Pan K-H, Wang T-Y, et al. Obesity Is a Risk Factor for Greater COVID-19 Severity. Diabetes Care 2020;43:e72-e4.

Fresán U, Guevara M, Elía F, Albéniz E, Burgui C, Castilla J, et al. Independent Role of Severe Obesity as a Risk Factor for COVID-19 Hospitalization: A Spanish Population-Based Cohort Study. Obesity 2021;29:29-37.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-01