ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้ออุบัติใหม่และโรคติดเชื้ออุบัติซ้ำของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
คำสำคัญ:
โรคติดเชื้ออุบัติใหม่, โรคติดเชื้ออุบัติซ้ำ, ความรู้, ทัศนคติ, พฤติกรรมป้องกันบทคัดย่อ
ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมามีโรคมากมายที่ไม่เคยรู้จักระบาดขึ้นอย่างรวดเร็วและมีความรุนแรงถึงชีวิต ขณะเดียวกันโรคเดิมที่เคยรู้จักและคิดว่าสูญหายไปแล้วกลับมาระบาดใหม่อีกครั้งด้วยความรุนแรงกว่าเดิม โดยมีผลกระทบทั้งด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคมในวงกว้าง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมป้องกันโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำ การวิจัยเชิงสำรวจนี้ดำเนินการศึกษาในนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ด้วยแบบสอบถามออนไลน์ ซึ่งมีดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถาม 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดเชื้ออุบัติใหม่และโรคติดเชื้ออุบัติซ้ำระดับสูง ร้อยละ 84.50 มีทัศนคติต่อการป้องกันโรคระดับสูง ร้อยละ 84.00 และมีพฤติกรรมการป้องกันโรคระดับสูง ร้อยละ 60.50 ปัจจัยที่มีอำนาจในการทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้ออุบัติใหม่และอุบัติซ้ำ ได้แก่ แผนการเรียน รายได้ครอบครัว และทัศนคติ สามารถทำนายได้ร้อยละ 25.30, 21.60 และ 25.80 ตามลำดับ แต่เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้เฉพาะโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ แต่มีความรู้เกี่ยวกับโรคอุบัติซ้ำค่อนข้างน้อย ผลการศึกษานี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการให้ความรู้ และเสริมสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการป้องกันโรคติดเชื้ออุบัติใหม่และอุบัติซ้ำต่อไป
References
สรันยา เฮงพระพรหม. โลกร้อนกับโรคระบาด. วาสารวิจัยระบบสาธารณสุข [อินเตอร์เน็ต]. 2552 [เข้าถึงเมื่อ 22 เมษายน 2556]: 3(3); 363-369. เข้าถึงได้จาก https://kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/11228/2866/hsri-journal-v3n3-p363-369.pdf?sequence=4&isAllowed=y
สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. บทที่ 11 โรคติดต่ออุบัติใหม่ในประเทศไทย. การสาธารณสุขไทย 2554-2558. [อินเตอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 22 เมษายน 2556] ; 360-369. เข้าถึงได้จากhttps://www.hiso.or.th/hiso/picture/reportHealth/thp2015/ThailandHealthProfile12.pdf
นภัสวรรณ เร็วเรียบ. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกัน COVID-19 ของคนไทยใน ตําบลป่ากอ อําเภอเมือง จังหวัดพังงา. วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 22 เมษายน 2566]: 6(2); 37-51. เข้าถึงได้จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/250895/172224
สุวัฒน์ อุบลทัศนีย์, ขนิษฐา สุนพคุณศรี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้ประกอบการร้านอาหาร จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 22 เมษายน 2556]: 5(2); 92-109. เข้าถึงได้จากhttps://sg.docs.wps.com/l/sIKGa58cv_8bToQY?sa=0c&st=0t&v=v2
รัศมี สุขนรินทร์, กฤษฎนัย ศรีใจ, จินดา ม่วงแก่น, วรัญญ์ศิชา ทรัพย์ประเสริฐ. พฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก. วารสารควบคุมโรค [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 22 เมษายน 2556]: 48(3); 484-492. เข้าถึงได้จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/DCJ/article/download/249775/174699/1016005
จันทิมา ห้าวหาญ, พรรณวดี ขำจริง, บรรณาธิการ. ความรู้ความเข้าใจและพฤติกรรมการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการป้องกันโรคโควิด-19 (COVID-19) ของประชาชนในจังหวัดภูเก็ต. การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 11 นวัตกรรมทางสังคมของชุมชนในยุคของการเปลี่ยนแปลงโลกท่ามกลางวิกฤตโควิด-19; 19 กุมภาพันธ์ 2564; วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้. นครศรีธรรมราช: วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้; 2564.
โรงพยาบาลนครพิงค์. แนวทางปฏิบัติการรับการระบาดของโรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำ โรคไข้หวัดนกและโรคไข้หวัดใหญ่ (H1N1) [อินเตอร์เน็ต]. เชียงใหม่: โรงพยาบาลนครพิงค์ ; 2554 [เข้าถึงเมื่อ 22 เมษายน 2556]. เข้าถึงได้จาก https://www.nkp-hospital.go.th/th/department/health/hFile/rID105-55.pdf
วิทยา ศรแก้ว, วรพจน์ พรหมสัตยพรต, เทอดศักดิ์ พรหมอารักษ์. การพัฒนารูปแบบอภิบาลระบบสุขภาพเพื่อป้องกันควบคุมโรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำภายใต้วิถีชีวิตใหม่ อําเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 22 เมษายน 2556]: 9(2); 72-85. เข้าถึงได้จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ajcph/article/view/260453/178907