การประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนสู่ระบบบริการสุขภาพอย่างไร้รอยต่อสำหรับผู้สูงอายุ จังหวัดยโสธร

ผู้แต่ง

  • บรรจบ แสนสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
  • ถนอม นามวงศ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
  • จินตนา พลมีศักดิ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
  • นริศรา อารีรักษ์

คำสำคัญ:

การประเมินผล, ระบบสุขภาพอย่างไร้รอยต่อ, ผู้สูงอายุ, โรคหลอดเลือดสมอง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน  สู่ระบบบริการสุขภาพอย่างไร้รอยต่อสำหรับผู้สูงอายุ จังหวัดยโสธร ด้วยซิปป์โมเดล 4 ด้าน ได้แก่ บริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต เก็บข้อมูลในผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปที่ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร 122 ราย และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระบบสุขภาพ 95 ราย เครื่องมือประกอบด้วย แนวคำถามการสนทนากลุ่ม และแบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่าทั้งบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต ส่วนใหญ่มีความเหมาะสมอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 61.0, 48.4, 58.9 และ 49.5 ตามลำดับ ผู้สูงอายุกลุ่มป่วยได้รับการคัดกรอง และได้รับยาละลายลิ่มเลือดภายใน 60 นาทีเพิ่มขึ้น (P-value <0.05) ส่วนการได้รับความรู้ การเรียกใช้การแพทย์ฉุกเฉิน และการได้รับการดูแลต่อเนื่องไม่มีความแตกต่างกัน (P-value > 0.05) ทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับสูง ทั้งบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงกับผลผลิต (p-value < 0.05) รูปแบบการดำเนินงานที่พบมี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) มีนโยบายที่ชัดเจน 2) ความพร้อมด้านบุคลากร งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ และการจัดการที่ดี 3) มีกลไกระดับจังหวัดอำเภอ และชุมชน 4) การดำเนินงานที่เข้มข้นใน 6 กิจกรรม ได้แก่ (1) พัฒนาระบบข้อมูล (2) คัดกรองและส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยง (3) ระบบการส่งต่อผู้ป่วย (4) การดูแลแบบช่องทางด่วน (5) การดูแลรักษาเฉพาะทาง และ (6) การดูแลที่ต่อเนื่อง และ 5) ดำเนินงานภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมและการบูรณาการ ควรขยายผลนโยบายนี้ และนำรูปแบบการดำเนินงานไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่อื่น

References

เอกสารอ้างอิง

กรมกิจการผู้สูงอายุ. การจัดการองค์ความรู้และนวัตกรรมด้านผู้สูงอายุ ประจำปี พ.ศ. 2565. กรุงเทพฯ; 2565.

World Health Organization(WHO). Stroke, Cerebrovascular accident [Internet]. 2021 [cited 2022 Jan 12]. Available from: http://www.emro.who.int/health-topics/stroke-cerebrovascular-accident/index.html

พรรณวลัย ผดุงวณิชย์กุล. โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) [ออนไลน์]. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 2563 [สืบค้นเมื่อ 10 พ.ค. 2562]. แหล่งข้อมูล: http://www.med.nu.ac.th/dpMed/fileKnowledge/106_2017-08-19.pdf

สมชาย โตวณะบุตร, สุชาติ หาญไชยพิบูลย์กุล, ทัศนีย ตันติฤทธิศักดิ์, ธเนศ เติมกลิ่นจันทร, ลินดา เหล่ารัตนใส, จิดาภา ตรัยเจริญวงศ์. โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) [ออนไลน์]. เว็ปสารสนเทศสุขภาพไทย. 2563 [สืบค้นเมื่อ 12 ม.ค. 2562]. p. 4–30. แหล่งข้อมูล: https://www.hiso.or.th/hiso/picture/reportHealth/report/report8_5.pdf

Suwanwela NC. Stroke Epidemiology in Thailand. J Stroke [Internet]. 2014 [cited 2022 Jan 13];16(1):1–7. Available from: http//dx.doi.org/10.5853/jos.2014.16.1.1

ชูชาติ กลิ่นสาคร, สุ่ยถิน แซ่ตัน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน. 2563;2(2):62–77.

กองโรคไม่ติดต่อ. รายงานสถานการณ์โรค NCDs พ.ศ. 2562. นนทบุรี: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2562.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร. HDC - Report [ออนไลน์]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 12 ธ.ค. 2562]. แหล่งข้อมูล: https://yst.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php

กรมกิจการผู้สูงอายุ. สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย [ออนไลน์]. 2562. สืบค้นเมื่อ 12 ธ.ค. 2562]. แหล่งข้อมูล: http://www.dop.go.th/th/know/1/275.

ถนอม นามวงศ์, นริศรา อารีรักษ์. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุ จังหวัดยโสธร. วารสารควบคุมโรค. 2566;49(1):149–57.

สุวรรณี แสนสุข, จินตนา พลมีศักดิ์, นริศรา อารีรักษ์, ถนอม นามวงศ์. การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนสู่ระบบบริการสุขภาพโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มผู้สูงอายุ จังหวัดยโสธร. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2565;8(4):195–204.

เขตสุขภาพที่ 10. แนวทางจัดระบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุสำหรับโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ภาวะหัวใจขาดเลือด ชนิด STEMI และกระดูกสะโพกหัก (Hip fracture) ภายใต้โครงการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนสู่ระบบริการสุขภาพอย่างไร้รอยต่อ สำหรับผู้สูงอายุ กลุ่มเสี่ยง Stroke, STEMI และ Hip fracture. อุบลราชธานี: อัลทิเมท พริ้นติ้ง จำกัด; 2564.

วชิรวัชร งามละม่อม. แนวคิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนาในชุมชน. สถาบัน TDRM. 2558.

Stufflebeam DL. The CIPP model for Evaluation. International Handbook of Educational Evaluation; 2003. 31–62 p.

นภัค นิธิวชิรธร. การประเมินผลระบบการดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวม. นครราชสีมา; 2561.

ณัฐวรรณ แย้มละมัย, สุณี หงษ์วิเศษ. การประเมินผลโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลตะเคียนเตี้ย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 2561;8(3):17–25.

นันทพัทธ์ ธีระวัฒนานนท์. การกระเมินผลการดำเนินงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. วารสารและวิจัยพัฒนาด้านสุขภาพ. 2563;6(1):90–107.

อุดม อัศวุตมางกุร, อารยา ประเสริฐชัย, ช่อทิพย์ บรมธนะรัตน์. การประเมินผลการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดปทุมธานี. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก. 2560;34(2):124–34.

Cochran WG. Sampling techniques. 3rd ed. New York: John Wiley & Son; 1977.

Best JW. Research in Education. New York: Prentice-Hall, Englewood Cliffs; 1977.

Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. 2nd ed. NJ: Erlbaum: Hillsdale; 1988.

ณีรนุช วงค์เจริญ, ทัศนมินทร์ รัชตาธนรัชต์, พิสิษฐ์ สมงาม. การพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องที่บ้านของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2563;6(4):61–71.

จารุณี สุธีร์. การพัฒนาระบบการคัดแยกผู้ป่วย Stroke Fast Track ของศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ โรงพยาบาลยโสธร. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2564;7(1):158–72.

ณัฐวิภา ทองรุ่ง, กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์. การประเมินโครงการบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง กรณีศึกษา อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์. 2564;6(2):97–106.

เพ็ญจันทร์ แสนประสาน, ดวงกมล วัตราดุล, ลัดดาวัลย์ เตชางกูร, นวลใย พิศชาติ. ปัจจัยสนับสนุนระบบการดูแลแบบไร้รอยต่อของเครือข่ายการพยาบาลโรคหัวใจ. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. 2560;28(2):154–67.

ขวัญรัตน์ บัววิชัยศิลป์, ชัยวุฒิ บัวเนี่ยว, อรุณ บุญสร้าง. กระบวนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนนาโปใหญ่ ตำบลมุกดาหาร อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2562;5(3):49–61.

พิศสมัย บุญเลิศ, เทอดศักดิ์ พรหมอารักษ์, ศุภวดี แถวเพีย. การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง สำหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ติดเตียงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดงมัน ตำบลโคกสิงห์โคก อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น. 2559;23(2):79–87.

World Health Organization. Monitoring the Building Blocks of Health Systems: A Handbook of Indicators and Their Measurement Strategies [Internet]. Geneva, Switzerland: WHO Document Production Services; 2010. Available from: http://www.who.int/healthinfo/systems/WHO_MBHSS_2010_full_web.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29