ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของกลุ่มเสี่ยง 608 ในเขตเทศบาลเมืองชุมแพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
โรคโควิด-19 , วัคซีนโควิด-19 , กลุ่มเสี่ยง 608บทคัดย่อ
โรคโควิด-19(COVID-19) ส่งผลให้เกิดปัญหาทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างมหาศาลทั่วโลก ปัจจุบันจึงได้มีการพัฒนายาและวัคซีนป้องกันเฉพาะสำหรับโรค โดยพบว่าการฉีดวัคซีนเป็นวิธีที่ดีและคุ้มค่าที่สุดในการป้องกันโรค และลดอัตราการเสียชีวิต โดยกลุ่มที่ควรได้รับวัคซีนมากที่สุด คือ กลุ่มเสี่ยง 608 ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว 7 โรค คือ โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง, โรคหัวใจและหลอดเลือด, ไตวายเรื้อรัง, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคอ้วน น้ำหนักมากกว่า 90 กิโลกรัม, มะเร็ง, เบาหวาน และกลุ่มหญิงตั้งครรภ์อายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไปวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของกลุ่มเสี่ยง 608 ในเขตเทศบาลเมืองชุมแพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น
รูปแบบการวิจัย : แบบ Unmatched case-control Study วิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 524 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย ประกอบด้วย กลุ่มศึกษาคือกลุ่มที่ยังไม่ฉีดวัคซีน 262 คน และกลุ่มควบคุม คือ กลุ่มฉีดวัคซีนครบ 3 เข็ม 262 คน เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนมีนาคม 2566 โดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ โดย Multiple logistic regression ผลการศึกษา : พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 คือ กลุ่มเสี่ยง 608 ที่อายุ 60 ปีขึ้นไป( 1.78; 95% CI: 1.12-2.84) โดยเป็นกลุ่มที่ประกอบอาชีพ ( 1.91; 95% CI: 1.25-2.91) เคยมีประวัติการติดเชื้อโควิด-19 ( 1.97; 95% CI: 1.30-3.01) ระดับความเชื่อในการรับรู้ด้านประโยชน์ของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 อยู่ในระดับระดับต่ำ/ปานกลาง ( 3.21; 95% CI: 2.08-4.93) อุปสรรคคือความไม่สะดวกในการเดินทาง ( 2.62; 95% CI: 1.70-4.03) และการกลัวผลข้างเคียงของวัคซีน ( 1.77; 95% CI: 1.09-2.88) ข้อเสนอแนะ : การให้บริการวัคซีนควรให้ความรู้เพื่อสร้างความเข้าใจและสร้างความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพของวัคซีน เนื่องจากปัจจัยส่วนบุคคล เช่น อายุ อาชีพ ประวัติการติดเชื้อโควิด-19 ส่งผลต่อการไม่ฉีดวัคซีน และควรพัฒนาระบบการบริการให้สะดวกต่อการเข้าถึง เพื่อลดปัญหาการไม่ฉีดวัคซีน
References
เอกสารอ้างอิง
กรมส่งเสริมปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. หนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท 0810.5/7329 ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2560 เรื่อง แผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน “จังหวัดสะอาด”หนองบัวลำภู. หนองบัวลำภู: สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดหนองบัวลำภู; 2560.
เกียรติศักดิ์ เชิญกลาง, ชัญญา อภิปาลกุล. ปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการดำเนินงานการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2561;4(2):92-140.
จารุณี บุญไชย. การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการจัดการมูลฝอยในเขตเทศบาลนครขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข]. ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2559.
จุลวิทย์ จุลหริก. การศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานกวาด ถนนเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ]. กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2560.
ดนัย ผ่องแผ้ว, ธนัสถา โรจนะตระกูล. ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานเก็บขยะในองค์กรปกครอส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาในเขตจังหวัดพิจิตร. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ 2564; 6(2):85-95.
ธเนศพล อินทร์จันทร์. คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรเทศบาลตำบลนครชัยศรี อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร 2563;11(2):53-61.
นงนภัส ธรรมบรรเทิง. คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานเก็บขยะมูลฝอย ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ สำนักงานเขตสาทร กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2561.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น; 2553.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. ระเบียบวิธีการวิจัยทางการสาธารณสุข กรณีศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง
ตัวแปร. กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์; 2560.
ประจักร บัวผัน. หลักการบริหารสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 4. ขอนแก่น: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2558.
ปวีณา โตไทย. นโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานเทศบาลตำบล
แม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ]. พะเยา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพะเยา; 2563.
ปัญญา สุจริต. การดำเนินงานของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ [การศึกษาอิสระปริญญาสาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข]. ขอนแก่น: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2560.
ผจญ เฉลิมสาร. คุณภาพชีวิตการทำงาน [อินเทอร์เน็ต] 2565 [อ้างเมื่อ 30 เมษายน 2565]. จาก https://www.society.go.th/ Article_attach
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535. และที่แก้ไขเพิ่มเติม. ราชกิจจานุเบกษา 2535;109(38),
-52.
พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 และที่แก้ไข เพิ่มเติม. ราชกิจจานุเบกษา 2535;109(15), 28-42.
มานิตา ทาแดง. คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานควบคุมป้องกันโรคโควิด-19. ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข]. ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2564.
มนฤดี อุดมดัน, ประจักร บัวผัน, มกราพันธุ์ จูฑะรสก. การดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2562;19(1):161-71.
ลักษณา ชื่นบาล, ประจักร บัวผัน, สุรชัย พิมหา. คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2564; 21(3):211-22.
วีนัส พีชวณิชย์, สมจิต วัฒนาชยากูล, เบญจมาศ ตุลยนิติกุล. สถิติพื้นฐานสำหรับนักสังคมศาสตร์พร้อมการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ไมโครซอฟท์เอ็กเซล. กรุงเทพฯ: ประกายพรึก; 2547.
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดหนองบัวลำภู. งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม กลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาท้องถิ่น สำนักงานส่งเสริมปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดหนองบัวลำภู. หนองบัวลำภู: สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดหนองบัวลำภู; 2565.
สำเริง จันทรสุวรรณ, สุวรรณ บัวทวน. ระเบียบวิจัยทางสังคมศาสตร์. ขอนแก่น: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2547.
สุทธิยา เบ้าวัน, ประจักร บัวผัน. การสนับสนุนจากองค์การและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2565;22(2):237-48.
อเนก นนทะมาตย์. ปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของคณะ กรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข]. ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557.
Best, JW. Research in education. 3rd ed. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall; 1977.
Cohen, J. Statistical power analysis for the behavior sciences. 2nd edition. Hillsdale NJ: Lawrence Erlbaum; 1988.
Ellison, KW. Fundamental of social statistics. New York: McGraw-Hill; 1990.
Schermerhorn, JR, Richard, N, Osborn, RN, Uhl-Bien, M, Hunt, JG. Organizational behavior. 11th ed. New York: John Wiley & Sons; 2011.
Walton, RE. Quality of working life: What is it? Sloan Manage Rev 1973;15:12-18.