ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอาการไม่พึงประสงค์หลังรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประชาชนที่มารับบริการฉีดวัคซีนที่หน่วยบริการ โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์
คำสำคัญ:
อุบัติการณ์, อาการไม่พึงประสงค์หลังรับวัคซีน, วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา: ผลข้างเคียงของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ยังไม่มีการสรุปแน่ชัดและยังไม่มีข้อมูลการติดตามผลในระยะยาว
วัตถุประสงค์: เพื่อหาอุบัติการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอาการไม่พึงประสงค์หลังรับวัคซีน ในประชาชนเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์
วิธีดำเนินการวิจัย: Analytical retrospective cohort study 384 คน หาความสัมพันธ์โดยโมเดลเชิงเส้นโดยนัยทั่วไป (Generalized Linear Model, GLM) นำเสนอค่า Adjusted RR พร้อม 95% CI ผลการศึกษา: พบอุบัติการณ์การเกิดอาการไม่พึงประสงค์หลังรับวัคซีน 30 วัน เป็นร้อยละ 31.25 (ช่วงความเชื่อมั่น 95 % 26.79 ถึง 36.08) อาการที่พบสูงสุด ได้แก่ ไข้ ร้อยละ 20.35, ปวดกล้ามเนื้อ ร้อยละ 13.02 และปวด บวม แดง ร้อน บริเวณที่ฉีด ร้อยละ 10.16 ตัวแปรเพศ อายุ และโรคประจำตัว มีความสัมพันธ์กับการเกิดอาการไม่พึงประสงค์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) คือ เพศหญิงมีความเสี่ยงในการเกิดอาการ เป็น 1.77 เท่าของเพศชาย (Adjusted RR=1.77; 95% CI =1.21-2.59; p=0.003), ทุก ๆอายุที่เพิ่มขึ้น 1 ปี มีโอกาสเสี่ยงในการเกิดอาการ ลดลง 2 % (Adjusted RR =0.98; 95% CI = 0.97-0.99) และ พบว่า ผู้ที่มีโรคประจำตัวมีโอกาสเสี่ยงในการเกิดอาการเป็น 1.49 เท่าของผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัว(Adjusted RR = 1.49; 95% CI = 1.10-2.02)สรุป: เพศ อายุ และโรคประจำตัว มีความสัมพันธ์กับการเกิดอาการไม่พึงประสงค์หลังรับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในประชาชนที่มารับบริการฉีดวัคซีน
References
เอกสารอ้างอิง
กรมควบคุมโรค.รายงานสถานการณ์โรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ [ออนไลน์].2563 [15 สิงหาคม 2565].สืบค้นจาก : https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situation-no10-130163.pdf
กรมควบคุมโรค.รายงานผลการทบทวนสถานการณ์โรคโควิด-19 และมาตรการควบคุมป้องกันในระดับโลกและในประเทศไทย [ออนไลน์].2564[17 สิงหาคม 2565].สืบค้นจาก : http://www.thaincd.com/document/ file/download/knowledge/COVID19.65.pdf
กระทรวงสาธารณสุข.รายงานสถานการณ์ให้บริการฉีดวัคซีนโควิด 19 ประจำสัปดาห์ที่ 31 ของปี 2565 [ออนไลน์].2565[18 สิงหาคม 2565].สืบค้นจาก : https://ddc.moph.go.th/vaccinecovid19/getFiles/9/1660620699383.pdf
กระทรวงสาธารณสุข.สรุปสถานการณ์ให้บริการฉีดวัคซีนโควิด 19 ประจำวันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม 2565 [ออนไลน์].2565[18 สิงหาคม 2565].สืบค้นจาก : https://ddc.moph.go.th/vaccine-covid19/getFiles/10/1660016361918.pdf
Buriram Immunization Center.(2022). Retrieved August 7, 2022, from https://app.brhealth.go.th/whitelist_brm/index.php
กรมควบคุมโรค. สถานการณ์เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์หลังได้รับวัคซีนป้องกันโรค COVID-19[ออนไลน์]. .2565[19 สิงหาคม 2565].สืบค้นจาก : https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor2//files/Wk29
AEFI%20Situation_COVID-19%20Vaccine_24072022_web.pdf
Hsieh, F.Y., Bloch, D.A., Larsen, M.D. (1998). A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Stat Med, 17, 1623–34.
พิมผกา อินทวงศ์. อุบัติการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอาการไม่พึงประสงค์หลังรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประชาชนที่มารับวัคซีนที่หน่วยบริการโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช.วารสารศาสตร์สุขภาพและการศึกษา 2565, 2(1), 28–40
Singh, A., Khillan, R., Mishra, Y., & Khurana, S. (2022). The safety profile of COVID-19 vaccinations in the United States. American Journal of Infection Control, 50(1), 15–19. https://doi.org/10.1016/j.ajic.2021.10.015
Gautam, A., Dangol, N., Bhattarai, U., Paudel, S., Poudel, B., Gautam, S., et al., (2021). ChAdOx1nCoV-19 vaccine and its self-reported adverse events: A cross-sectional study from Western Nepal. Journal of Global Health Reports, 5, e2021069.https://doi.org/10.29392/001c.25471
Tequare, M. H., Abraha, H. E., Adhana, M. T., Tekle, T. H., Belayneh, E. K., Gebresilassie, K. B., et al., (2021). Adverse events of Oxford/AstraZeneca’s COVID-19 vaccine among health care workers of Ayder Comprehensive Specialized Hospital, Tigray, Ethiopia. IJID Regions, 1, 124–129. https://doi.org/10.1016/j.ijregi.2021.10.013
Beatty, A. L., Peyser, N. D., Butcher, X. E., Cocohoba, J. M., Lin, F., Olgin, J. E., Pletcher, M. J., & Marcus, G. M. (2021). Analysis of COVID-19 Vaccine Type and Adverse Effects Following Vaccination. JAMA Network Open, 4(12), e2140364. https://doi.org/10.1001/jamanetworkopen.2021.40364