ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความเครียดของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

ผู้แต่ง

  • จิริสุดา สินธุศิริ -Community Public Health
  • ปทิตตา สงวนสุข
  • นริศรา ชัยเชียงพิณ

คำสำคัญ:

ความเครียด, ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียด, นักศึกษาชั้นปีที่ 1

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียด และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ประจำปีการศึกษา 2565 จำนวน 116 คน โดยใช้แบบวัดความเครียด Suanprung Stress Test-20 (SPST-20) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรโดยใช้สถิติ Chi-Square

            ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความเครียดระดับปานกลาง จำนวน 45 คน คิดเป็นร้อยละ 38.8 รองลงมา คือ มีความเครียดระดับสูง จำนวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ 30.2 และปัจจัยด้านการเรียน คือ การได้รับมอบหมายงานมากเกินไป และคะแนนการสอบ ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม คือ เพื่อนในชั้นเรียนพูดคุยกันเสียงดัง ทำให้ไม่มีสมาธิในการเรียน การไม่มีพื้นที่ส่วนตัวในการทบทวนบทเรียน และการเรียนในห้องเรียน ทำให้รู้สึกกังวลต่อการติดเชื้อ COVID-19 ด้านครอบครัว คือ ครอบครัวมีปัญหาด้านการเงิน และ ด้านความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น คือ มีความขัดแย้งกับเพื่อนในชั้นเรียน และ เพื่อนร่วมกลุ่ม (กลุ่มทำงาน) ขาดความมีน้ำใจหรือช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีผลต่อระดับความเครียดของนักศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งนี้ คณะวิชาควรมีการประเมินความเครียดของนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง ให้ความช่วยเหลือและเพิ่มทักษะในการเผชิญความเครียด รวมทั้งควรมีการประชาสัมพันธ์ช่องทางการให้คำปรึกษาโดยนักจิตวิทยา เพื่อเป็นการส่งเสริมและป้องกันสุขภาพจิตให้แก่นักศึกษา

References

จิรนุช จิตราทร. “ความเครียด” คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี หาวิทยาลัยมหิดล [ออนไลน์] แหล่งที่มา: https://www.rama.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/05142014-1901.

ศศนัชสรณ์ ประสมทรัพย์, กิตติคุณ ปานน้อย, นิจนาวี คำไชยเทพ, ผกามาศ ไมตรีมิตร, ศรัณย์ กอสนาน และลือรัตน์ อนุรัตน์พานิช. “ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียด ของนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล” วารสารวิชาการสาธารณสุข. 30(6): 1122-1133; 2564.

ธัญญารัตน์ จันทรเสนา, จารุวรรณ สกุลคู และ อรรณพ โพธิสุข. “ความเครียดของนิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ” Journal of Multidisciplinary in Social Sciences. 9(2): 139-158; 2013.

คันธารัตน์ ยอดพิชัย. ความสัมพันธ์ระหว่างความสัมพันธ์ในครอบครัว ความฉลาดทางอารมณ์ กับความเครียดของนิสิตนักศึกษา มหาวิทยาลัยของรัฐ ในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, ภาควิชาอาชีวศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2549.

วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. “การหาขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย: มายาคติในการใช้สูตรของทาโร ยามาเน และเครจซี-มอร์แกน” วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 6(1): 27-58; 2019.

อุษากร แซ่เหล้า. ความเครียดและการปรับตัวของนิสิตชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 2550

พรรณภา เรืองกิจ, สนธยา มณีรัตน และเยาวลักษณ์ มีบุญมาก. “การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะสุขภาพจิตและความเครียดของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ” Humanities, Social Sciences and arts Veridian E-Journal, Silpakorn University. 12 (1): 1208-1224; 2019.

ภควัต วงศ์ไทย. ความเครียดของนิสิตระดับปริญญาตรี ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพจิต ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557.

วีนัสศิกาญจน์ ภู่เทียน, ปวิตราพร หนูสม, กาญจนา ติ่งน้อย, กาญจนา พันมาลา, วรวิทย์ สายคำมี และ สุทธิดา อินทรแพทย์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. พยาบาลศาสตรบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2561.

สิทธิพล วิบูลย์ธนากุล. “โควิด-19 กับสุขภาพจิต รัฐบาลต้องใส่ใจ” กรุงเทพธุรกิจ. [ออนไลน์ วันที่ 5 พฤษภาคม 2563] แหล่งที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/125008.

วรรณธิรา ชูทอง. ความเครียดในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสตรีพัทลุง อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพจิต ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548.

ไพรัช วงศ์ศรีตระกูล. “ปัจจัยทางการศึกษาที่มีผลต่อความเครียดและความวิตกกังวลของนักศึกษามหาวิทยาลัยธนบุรี” วารสารมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี. 5(9): 23-32; 2554.

ยุภาพร นอกเมือง และเมษา นวลศรี. “ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการเรียนรู้ของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์” วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 13(3): 101-112; กันยายน-ธันวาคม, 2562.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-07