ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 ของผู้ประกอบการร้านค้าปลีก อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • สิริพร ณรัฐกิจ -
  • วิราสิริริ์ วสีวีรสิว์

คำสำคัญ:

การปฏิบัติตามพ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบพ.ศ.2560, ผู้ประกอบการร้านค้าปลีก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive study) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อต่อการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 ของผู้ประกอบการร้านค้าปลีก อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ประกอบการร้านค้าปลีก อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ที่มีใบอนุญาตขายยาสูบจากสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่จังหวัดเชียงราย จำนวน 220 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามระหว่างวันที่ 1 – 30 พฤศจิกายน 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ในการวิเคราะห์ไคสแควร์ วิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์ผลการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงร้อยละ 51.8 อายุเฉลี่ย 40.62 ปี มากกว่าครึ่งของกลุ่มตัวอย่างมีสถานภาพสมรส ร้อยละ 79.5 มีระดับการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม.6)/ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ร้อยละ 23.2 รายได้ต่อเดือนเฉลี่ย 82,031.82 บาท ระยะเวลาที่เปิดร้านขายของเฉลี่ย 17.74 ปี ผู้ประกอบการร้านค้าปลีก มีการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 60.9 ปัจจัยส่วนบุคคลไม่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่า การรับรู้ ความรู้ แรงจูงใจ เป็นปัจจัยที่อิทธิพลต่อการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบพ.ศ. 2560 ได้ร้อยละ 11.1 ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้ในการกำหนดแผนงานควบคุมยาสูบในพื้นที่ โดยมีกิจกรรมให้ความรู้การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบ ณ จุดขาย รวมถึงกิจกรรมส่งเสริมการรับรู้ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560

References

กรมสรรพสามิต. ระบบ BI กรมสรรพสามิต. (ออนไลน์). แหล่งที่มาจากda.excise.go.th/datawebapp/dashboard/bi_report_inq_lic.jsp. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2564.

กองสถิติสังคม. (2564). การสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากร พ.ศ. 2564.กรุงเทพมหานคร : สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

งานกฎหมาย สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่. การประชุมนิเทศติดตามการขับเคลื่อนนโยบายการดำเนินงานควบคุมยาสูบระดับพื้นที่; วันที่ 6-7 กันยายน 2565; ณ ห้องประชุม 1 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่. เชียงใหม่ 2565.

ทิพวัลย์ พรมมร. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 ของผู้ประกอบการร้านค้าปลีก อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม – มีนาคม 2563.

นรา เทียมคลี. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจปฏิบัติ ตามกฎหมายควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบของผู้ประกอบการร้านค้าที่จำหน่ายบุหรี่รอบสถานศึกษาในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 5. (ออนไลน์). แหล่งที่มาจาก: https://he01.tci- thaijo.org/index.php/DCJ/article/download/236161/166392/868416. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ.2564.

สุนิดา ปรีชาวงษ์ และคณะ. (2553). รู้จักอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบ องค์การอนามัยโลก. (ออนไลน์). แหล่งที่มาจาก: https://www.trc.or.th/thAD/43-fctc-who-framework-convention-on-tobacco-control.html. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ.2565.

Bloom, Benjamin S. 1971. Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill.

Daniel,W.W.(1995). Biostatistics: A Foundation of Analysis in the Health Sciences (6thed.). New York: John Wiley & Sons.

Henry Assael. (1995). Consumer Behavior and Marketing Action.5th ed. The United of America: International Thomson Publishing.

Herzberg, F.et all., (1993). The motivation to work. U.S.A.: Transaction Publishers.

Neisser, U. (1976). Cognition and reality: Principles and implications of cognitive psychology. New York: Henry Holt & Co.

Schwartz, N. E. (1975). Nutritional knowledge, attitude and practice of high school graduated. Journal of the American Dietetic Association. 66(1):28-31.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-01