แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกัน โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน
คำสำคัญ:
แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019: โควิด-19, พฤติกรรมการป้องกันโรค, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน กลุ่มตัวอย่าง 337 คน เก็บข้อมูล 1 – 28 กุมภาพันธ์ 2566 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 60.5 มีอายุเฉลี่ย 15.3 ปี อยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ร้อยละ 23.7 ช่วงโรคระบาดส่วนใหญ่อยู่บ้าน ร้อยละ 90.2 กิจกรรมนอกบ้านคือ พบปะเพื่อน ร้อยละ 49.0 ความสัมพันธ์กับเพื่อนระดับปานกลาง ร้อยละ 66.8 ความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 ระดับปานกลาง ร้อยละ 73.0 ทัศนคติต่อโรคโควิด-19 ระดับปานกลาง ร้อยละ 75.1 การรับรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 ระดับปานกลาง ร้อยละ 67.4 พฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ระดับสูง ร้อยละ 46.9 ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 คือ การรับรู้ความรุนแรงโรคโควิด-19 (p<0.001) ความสัมพันธ์กับเพื่อน (p<0.001) และทัศนคติต่อโรคโควิด-19 (p=0.001) สามารถทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ได้ ร้อยละ 21.7 (Adj.R2 = 0.217, (p<0.001)) เขียนเป็นสมการได้ ดังนี้ คะแนนพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 = 23.411 + 0.353 (การรับรู้ความรุนแรงโรคโควิด-19) + 0.202 (ความสัมพันธ์กับเพื่อน) + 0.300 (ทัศนคติต่อโรคโควิด-19) ผลการศึกษาที่ได้สามารถนำไปใช้ในการส่งเสริม ป้องกันโรค และเป็นข้อมูลเพื่อให้สุขศึกษาในการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคโควิด-19 ต่อไป
References
Worldometer. South China Morning Post. [Internet]. 2020 [cited 2020 April 15]. Available from https://www.scmp.com/coronavirus
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (2563) รายงานสถานการณ์โควิด-19, เข้าถึงได้จาก https://covid19.ddc.moph.go.th/th ,2565.
ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค ฉบับที่ 731 [อินเทอร์เน็ต]. รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 [เข้าถึงเมื่อ 7 ม.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situation-no731-070165.pdf
จรูญศรี มีหนองหว้า. แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 ของพระสงฆ์ในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2565 : 817-832
พนัชญา ขันติจิตร และคณะ. แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของประชาชน ในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์. ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2564) : 39-48
ฮูดา แวหะยี. การรับรูความรุนแรงและ พฤติกรรมการปองกันโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (โควิด-19) ของวัยรุ่นใน เขตตําบลสะเตง นอก อําเภอเมือง จังหวัดยะลา. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. ปีที่ 6 ฉบับที่ 4 (ตุลาคม-ธันวาคม 2563) : 158-168.
นภชา สิงห์วีรธรรม วัชรพล วิวรรศน์ เถาว์พันธ กิตติพร เนาว์สุวรรณ เฉลิมชัย เพาะบุญ และ สุทธิศักด์ิ สุริรักษ์. (2563). การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของทันตาภิบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารสถาบันบำราศนราดูร.14(2). 104-115.
เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์, มิ่งขวัญ ศิริโชติ, ปัณณวิชญ์ ปิยะอร่ามวงศ์, ศุภอัฑฒ์ สัตยเทวา. การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กรุงเทพมหานคร. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2564 : 36-49
Becker, M.H. (1974).The Health Belief Model and Preventive Health Behavior. Health Education. Monographs. 2,4 winter.354-385.
ศุภัคชญา ภวังค์คะรัต, สมภพ อาจชนะศึก, ปิยะณัฐ นามชู. การศึกษาสถานการณ์การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชน โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน.2563
Best JW. Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall Inc; 1977.
ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกูล, สุภาพ ฉัตราภรณ์. การออกแบบการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2536.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน. รายงานสถานการณ์โควิด-19 รายวัน สสจ.น่าน. [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 28 ก.พ. 2565]. เข้าถึงได้จาก http://www.nan.go.th/announce- detail/1292/
Saud A. Alsulaiman and Terry Lynn Rentner.The Health Belief Model and Preventive Measures: A Study of the Ministry of Health Campaign on Coronavirus in Saudi Arabia. 2018. JOURNAL OF INTERNATIONAL CRISIS AND RISK COMMUNICATION RESEARCH 2018, VOL. 1, NO1: 27–56
สุภาภรณ์ วงธิ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสุโขทัย [วิทยานิพนธ์เสนอบัณฑิตวิทยาลัย] มหาวิทยาลัยนเรศวร ; 2564.
ปทิตตา รัตนจิระพงศ์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการกระทำรุนแรงของนักเรียนชายอาชีวศึกษาในจังหวัดนครปฐม [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต] ศิลปะศาสตร์ ; 2560.
ไมลา อิสสระสงคราม. ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการป้องกันโรคโควิด-19 กับการเข้ารับบริการฉีดวัคซีนโรคโควิด-19 ของผู้สูงอายุ. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่10. ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2564 : 56-67
ณัฎฐวรรณ คำแสน. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของประชาชนในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2564 : 33-48
สุพรรณิการ์ มาศยคง. คุณภาพชีวิตในโรงเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต] วิทยาศาสตร์ สาขาสถิติประยุกต์และเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะสถิติประยุกต์. บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2554.
อรัญญ์ชยาต์ บุญชูกิตติยศ และคณะ. ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาในวัยรุ่น : การวิเคราะห์จำแนกกลุ่มระหว่างกลุ่มวัยรุ่นที่กระทำความผิดกับกลุ่มนักเรียนวัยรุ่นตอนปลาย. วารสารกระบวนการยุติธรรม ปีที่ 12 เล่มที่ 1 มกราคม – เมษายน 2562 : 63-85
ศูนย์ข้อมูลการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ [อินเทอร์เน็ต]. สารสนเทศด้านการศึกษา ปีการศึกษา 2565. [เข้าถึงเมื่อ 10 มิ.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://edustatistics.moe.go.th/student55
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน. รายงานสถานการณ์โควิด-19 รายวัน สสจ.น่าน. [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 1 เม.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก http://www.nan.go.th/announce- detail/1292/