ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องโรคโควิด-19 โดยการใช้แอปพลิเคชันไลน์ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

ผู้แต่ง

  • ศิริชัย เตวิละ
  • ประจวบ แหลมหลัก

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, โรคโควิด-19, แอปพลิเคชันไลน์, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

สถานบริการหลายแห่งประยุกต์ใช้หลักความรอบรู้ด้านสุขภาพในการสื่อสารเรื่องโรคโควิด-19 ผ่านแอปพลิเคชันไลน์ในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) แต่ยังไม่ได้สะท้อนให้เห็นประสิทธิภาพที่เกิดขึ้น การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องโรคโควิด-19 โดยการใช้แอปพลิเคชันไลน์ของ อสม.ในเขตพื้นที่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 342 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา  ไค-สแควร์ และสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

               ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในช่วง 45-59 ปี (ร้อยละ 68.40) เพศหญิง (ร้อยละ 77.80) มีสถานภาพสมรสคู่ (ร้อยละ 70.20) ไม่มีโรคประจำตัว (ร้อยละ 61.70) การศึกษาสูงสุดอยู่ในระดับมัธยมศึกษา (ร้อยละ 58.50) ประกอบอาชีพเกษตรกรรม (ร้อยละ 42.10) มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนสูงสุดอยู่ในช่วง น้อยกว่า 10,000 บาท (ร้อยละ 95.60) ระยะเวลาการเป็นอสม. น้อยกว่า 10 ปี (ร้อยละ 43.00) ส่วนใหญ่มีสมาร์ทโฟนและเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตตลอดเวลา (ร้อยละ 71.90) และมีแอปพลิเคชันไลน์ (ร้อยละ 96.5) ระบบการสั่งการและมอบหมายงานของ อสม. ในภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับสูง ( = 4.42, S.D.=0.69) ความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องโรคโควิด-19 โดยการใช้แอพพลิเคชั่นไลน์ อยู่ในระดับสูง ( =4.06, S.D.=0.66) และพบว่า ระดับการศึกษา ข้อมูลการใช้สมาร์ทโฟนใน อสม. ระบบการสั่งการและมอบหมายงานทุกด้านมีความสัมพันธ์ กับความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องโรคโควิด-19 โดยการสื่อสารผ่านกลุ่มไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นการส่งเสริมให้ อสม.ใช้แอพลิเคชันไลน์มากขึ้น และจัดระบบสั่งการให้มีประสิทธิภาพจะทำให้ อสม.มีความรอบรู้ทางสุขภาพที่ดีขึ้น

References

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. ศิลปะการมอบหมายงานอย่างมีประสิทธิภาพ. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2565, จาก https://bsc.dip.go.th/th/category/hr2/fs-workassignation

World Health Organization (WHO). Improving health literacy. สืบค้นจาก https://www.who.int/activities/improving-health-literacy

กองสุขศึกษา. (2556). แนวทางการพัฒนาความฉลาดทางด้านสุขภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี: กองสุขศึกษากรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.

Nutbeam, D. (2008).The evolving concept of health literacy. Social Science & Medicine, Dec; 67(12), 2072-8.Paasche-Orlow & Wolf. (2007). The causal pathways linking health literacy to health outcomes. American.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2550). หลักสูตรฝึกอบรมมาตรฐานอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) (พิมพ์ครั้งที่). กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กระทรวงสาธารณสุข.

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2561). ศิลปะการมอบหมายงานอย่างมีประสิทธิภาพ. สืบค้น 15 กรกฎาคม, 2561,

จาก https://bsc.dip.go.th/th/category/hr2/fs-workassignation/

อำเภอเชียงคำ. (20 กันยายน 2565). ประวัติอำเภอเชียงคำ รวมพลคนฮักเจียงคำ. สืบค้นเมื่อ จาก http://www.hugchiangkham.com

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา. จำนวนหน่วยบริการ จำแนกตามระดับ Service Plan เขตสุขภาพที่ 1 จังหวัดพะเยา อำเภอเชียงคำ ปี 2565. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2565, จาก https://pyo.hdc.moph.go.th

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. ระบบสารสนเทศงานสุขภาพภาคประชาชน. สืบค้นเมื่อ 2019, จาก https://www.thaiphc.net/

สมนึก ภัททิยธนี และสมบัติ ท้ายเรือคำ. (2018). สถิติทดสอบวิลคอกซัน (Wilcoxon) และแมน-วิทนีย์ ยู (Mann-Whitney U). jemmsu, 10(-), 31.

คมสันต์ ธงชัย และคณะ การปรับตัวของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบทบ้านท่าบ่อ ตำ บลแจระแม จังหวัดอุบลราชธานี วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 หน้า 206-220

Nutbeam D. (2008). The evolving concept of health literacy. Social Science & Medicine, 67(12), 2072-8

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2540). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ :คณะสังคมศาสตร์ และมนุษย์ศาสตร์มหาวิทลัยมหิดล.

นิยม ปุราคำ. (2517) ทฤษฎีของการสำรวจสถิติจากตัวอย่างและการประยุกต์ (พิมพ์ครั้งที่ 1).สำนักหอสมุด ศูนย์แม่ริม 4 ห้อง store 2 ภาษาไทย 400-699

ณัฐพงศ์ คำนา. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อศักยภาพตามนโยบายอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 4.0 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลศรีดอนชัย อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา พะเยา.

เบญจวรรณ บัวชุ่ม. (2563). ความรอบรู้ด้านสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลป่างิ้ว อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย, วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. 16(3), 49-58

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. ระบบสารสนเทศงานสุขภาพภาคประชาชน. สืบค้นเมื่อ 2019, จาก https://www.thaiphc.net/

สมพร พูลพงษ์. (2562). การประยุกต์ใช้โปรแกรมไลน์เพื่อการมอบหมายงานสำหรับกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 14(3), 138-146.

วิจิตตรา หน่อแก้ว. (2565).ความสัมพันธ์ของความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10(1), 1-20.

ดาวรุ่ง เยาวกูล. (2565) ความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในเขตสุขภาพที่ 6, 15(1) มกราคม-เมษายน 2565

สมิธ พิทูรพงศ์ (2561) การใช้แอปพลิเคชันไลน์ในกระบวนการทำงาน กรณีศึกษา บริษัท สหผลิตภัณฑ์ พาณิชย์ จำกัด มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, ปีการศึกษา 2560

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-07