ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อการจัดการดูแลและชะลอการเกิดภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย (Sarcopenia)ของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านลพบุรี
คำสำคัญ:
ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย, ความสามารถในการทรงตัว, ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอในผู้สูงอายุเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อเพิ่มความสามารถด้านการทรงตัวซึ่งจะลดปัญหาการหกล้มในผู้สูงอายุโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุที่ประสบปัญหาภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย (Sarcopenia) งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) เปรียบเทียบความสามารถในการทรงตัวโดยวัดจากการทดสอบ Single leg stance test with eye open และ Functional reach test และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาโดยวัดจากการทดสอบ 30-second chair stand test ของกลุ่มตัวอย่าง ทั้งก่อนและหลังการทดลองโปรแกรมการออกกำลังกายตามระยะเวลาในการศึกษา 2.) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยเครื่องออกกำลังกายกลางแจ้งในลานออกกำลังกาย และเครื่องออกกำลังกายแบบเคลื่อนที่ได้ที่ผู้วิจัยประดิษฐ์ขึ้นเพื่อผู้สูงอายุที่มีปัญหาภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย ที่เรียกว่า”เครื่องออกกำลังกายบานไม่รู้โรย” ในการศึกษาครั้งนี้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 60-75 ปี ในสถานสงเคราะห์คนชราลพบุรี อ.เมือง จ.ลพบุรี จำนวน 20 คน แบ่งเป็นกลุ่มละ 10 คนโดยกลุ่มตัวอย่างที่ออกกำลังกายด้วยเครื่องออกกำลังกายบานไม่รู้โรย และกลุ่มควบคุมที่ออกกำลังกายด้วยเครื่องออกกำลังกายกลางแจ้ง และทำการประเมินความสามารถในการทรงตัวด้วย Single leg stance test with eye open และ Functional reach test และทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาด้วย 30-second chair stand test ก่อนเริ่มและหลังจากสิ้นสุดโปรแกรมการออกกำลังกายครั้งละ 45 นาที สัปดาห์ละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 4 สัปดาห์ต่อเนื่องกัน โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า 1.) กลุ่มตัวอย่างที่ออกกำลังกายด้วยเครื่องออกกำลังกายกลางแจ้ง มีความสามารถในการทรงตัวและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขามากขึ้น หลังครบระยะเวลาการทดลองโปรแกรมการออกกำลังกาย 2.) กลุ่มตัวอย่างที่ออกกำลังกายด้วยเครื่องออกกำลังกายบานไม่รู้โรย มีความสามารถในการทรงตัวและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขามากขึ้น หลังครบระยะเวลาการทดลองโปรแกรมการออกกำลังกาย และ 3.) กลุ่มตัวอย่างที่ออกกำลังกายด้วยเครื่องออกกำลังกายกลางแจ้ง และกลุ่มตัวอย่างที่ออกกำลังกายด้วยเครื่องออกกำลังกายบานไม่รู้โรย มีความสามารถในการทรงตัวและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขามากขึ้นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ หลังครบระยะเวลาการทดลองโปรแกรมการออกกำลังกาย หน่วยงานสาธารณสุขในชุมชนสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายและชะลอการเกิดภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยของผู้สูงอายุในชุมชน
References
จงจินตน์ รัตนาภินันท์ชัย. (2551). ตำรากายภาพบำบัดคลินิก. เชียงใหม่: ดาราวรรณการพิมพ์.
เจริญ กระบวนรัตน์. (2549). ยางยืดพิชิตโรค. กรุงเทพฯ: แกรนสปอร์ต กรุ๊ป.
ปิยวรรณ กิตติสกุลนาม, สุรเมธ อิสรานุวัฒน์ชัย และเกื้อเกียรติ ประดิษฐ์พรศิลป์. (2561). Sarcopenia in Older Adults. ใน เกื้อเกียรติ ประดิษฐ์พรศิลป์ และคณะ (บ.ก.), ตำราเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. (น.313-34). กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์.
ประไพวรรณ์ ศรีเมธาวรคุณ. (2552). กิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุในชนบทภาคใต้. สารนิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
มยุรี ถนอมสุข. (2558). ผลของโปรแกรมกิจกรรมทางกายแบบผสมผสานต่อระดับกิจกรรมทางกายและสมรรถภาพการทำหน้าที่ทางกายผู้สูงอายุ. วารสารสารสุขศึกษา พลศึกษาและสันทนาการ, 43(1), 277-289.
วิไลลักษณ์ ปักษา. (2553). ผลการศึกษาน้ำหนักของร่างกายและด้วยยางยืดที่มีต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาในผู้สูงอายุ. ปริญญานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สิชล ทองมา และคณะ. (2564). บทบาทพยาบาลในการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านที่มีภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย. วารสารพยาบาลทหารบก ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2564
สมนึก กุลสถิตพร. (2549). กายภาพบำบัดในผู้สูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:ออฟเซ็ท เพรส.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2554. ระบบฐานข้อมูลด้านสังคมและคุณภาพชีวิต. ค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2560, จาก https://www.social.nesdb.go.th
อารีรัตน์ สุพุทธิธาดา. (2553). Fall in elderly: Biomedical approach. เอกสารประกอบการเรียน. กรุงเทพฯ; คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
BorstSE. (2004). Interventions for Sarcopenia and muscle weakness in older people. Age and Ageing. 33: 548-555.UK:British Geriatrics Society.